Instagram ในยุคแรกๆ เคยจัดเรียงรูปแบบเรียลไทม์ตามเวลาจริง ทำให้รูปที่เพิ่งโพสต์ใหม่ถูกแสดงผลอยู่ด้านบน แต่ต่อมาเมื่อราว 2 ปีที่แล้ว ก็เปลี่ยนมาเรียงแบบ Facebook แทน นั่นคือให้ระบบซอฟต์แวร์เบื้องหลังคอยเดาว่าอะไรสำคัญกับเรามากกว่า ก็ให้แสดงผลให้ผู้ใช้งานเห็นก่อน นั่นทำให้ 70% ของโพสต์ไม่ถูกพบเห็น.. อ่านมาถึงตรงนี้พ่อค้า-แม่ค้า IG อย่าเพิ่งกรีดร้อง เพราะคุณไม่ใช่คนเดียวที่เกรียวกราดกับสถานการณ์ดังกล่าว
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา การเรียงแบบนี้ก็สร้างเสียงวิจารณ์ทางลบไม่น้อย และเกิดการวิเคราะห์คาดเดาหลักการเลือกโพสต์และเรียง feed ในไอจีไปต่างๆนานา โดยเฉพาะนักการตลาดออนไลน์และพ่อค้าแม่ขายต่างๆ ที่พยายามครีเอทหนทางเพื่อทำให้โพสต์ของตัวเองปรากฏต่อสายตาของกลุ่มเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ดังกล่าวดูจะสับสนงงงวยกันอยู่ไม่น้อย
ทำให้ล่าสุดทีมงานอินสตาแกรมอยู่เฉยไม่ได้ ออกมาสร้างความโปร่งใส ยอมเผยหลักการเบื้องต้น ที่ใช้จัดเรียงลำดับรูปในหน้า feed หลัก ว่าขึ้นกับ 5 ปัจจัยสำคัญต่อไปนี้ …
1. ความสนใจของผู้ใช้คนนั้นๆ (interest) โดยดูจากจากพฤติกรรมที่ผ่านมา เช่น ชอบดูคลิปจากคนไหน ชอบดูคลิปเกี่ยวกับอะไร ก็คัดมาให้อยู่ด้านบนๆในครั้งต่อไป
2. ความสดใหม่ (recency) โพสต์รูปใหม่ๆหรือคลิปใหม่ๆมีโอกาสจะอยู่บนๆมากกว่าโพสต์เก่าๆ
3. ความสัมพันธ์ (relationship) ถ้าผู้ใช้คนนั้นเคยไปกด “หัวใจ”(ชอบ) หรือคอมเมนต์ในโพสต์ใคร หรือแท็กหาใครบ่อยๆ ก็มีโอกาสจะเห็นโพสต์จากคนนั้นๆอยู่บนกว่า
4.(ถ้าเพิ่งเปิดแอปพลิเคชั่นขึ้นมา) โพสต์ที่ยังไม่เคยเห็น จะมีโอกาสถูกโชว์ก่อนโพสต์ที่เคยผ่านตามาแล้ว
5.ถ้าใช้งานแป๊บเดียว ระบบจะคัดโพสต์ที่ “เหมาะสมที่สุด” มาแสดง แต่ถ้าใช้นานๆไป ระบบจะดึงโพสต์รองๆขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าติดตามหลายคนมาก ก็ยิ่งเห็นโพสต์จากคนหลากหลาย และระยะเวลาที่ใช้งาน

และสุดท้าย ทีมงาน Instagram ยังย้ำจุดยืนว่าจะยังไม่เรียงโพสต์ตามเวลาก่อนหลังล้วนๆ แบบยุคแรก ซึ่งก็ต่างจากโซเชียลอื่นอย่าง Twitter ที่ให้ผู้ใช้เลือกเองได้ว่าจะเรียงแบบไหน
สุดท้ายนักการตลาดออนไลน์ที่รู้ 5 ข้อนี้แล้ว ก็คงต้องไปต่อยอดวางกลยุทธการโพสต์และการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนเป้าหมายของตัวเองกันต่อไป
แปลและเรียบเรียงโดย: Somkid Anektaweepon