HomeBrand Move !!ผ่าเทรนด์ “บรรจุภัณฑ์” ด่านแรกกระแทกใจผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ

ผ่าเทรนด์ “บรรจุภัณฑ์” ด่านแรกกระแทกใจผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ

แชร์ :

การจะสร้างผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โจทย์แรกที่นักการตลาดมักคำนึงถึงย่อมเป็นเรื่องของ “รสชาติ”จากนั้นก็ไปวางแผนผลิตสินค้า ทำตลาด ตามลำดับขั้นตอน แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่นักการตลาดไม่ได้มองข้าม แต่อาจจะไม่ได้ถูกชูเป็นจุดขายลำดับต้นๆ คือ “บรรจุภัณฑ์” ทั้งที่ในความเป็นจริง แพ็คเกจจิ้งถือเป็น “ด่านแรก” ที่ผู้บริโภคทุกคนมองเห็น จากดีไซน์ที่สวย สดใส สีสัน โดดเด่นบนชั้นวางสินค้าแล้วสร้างแรงกระตุ้นให้เลือกหยิบซื้อ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ปัจจุบันเทรนด์การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนไปมาก ยิ่งในกลุ่มเครื่องดื่มจะเห็นว่ากล่องเข้ามามีบทบาทต่อผู้ประกอบการ และผู้บริโภคในหลายมิติ อาทิ การดีไซน์ออกแบบให้หยิบจับได้เหมาะมือ ภาพลักษณ์มีความทันสมัย การพกพาต้องตอบสนองความสะดวกสบายของผู้บริโภคยิ่งขึ้น เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ไม่ได้มีแค่นั้น เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak)” ผู้นำด้านการผลิตและบรรจุอาหารและเครื่องดื่มแบบครบวงจร ได้มองลึกลงไปในจุดนี้ ผ่านเทรนด์ผู้บริโภคใน 10 ปีข้างหน้า ดังนี้

– บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารปลอดภัย หัวใจการเติบโตอย่างมั่นคง 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำธุรกิจอาหาร “ความปลอดภัย” เป็นหัวใจขั้นสูงสุดในการผลิตสินค้าออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แม้ว่าอาหารจะรสชาติอร่อยมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัย ธุรกิจจะมี “จุดอ่อน” อันใหญ่หลวงทันที

นอกจากกระบวนการผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานแล้ว การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ จะช่วยรักษารสชาติ สะอาด ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการด้วย ปัจจุบัน เต็ดตรา แพ้คเองมีการนำนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิตที่ยกระดับมาตรฐานสูงสุดระดับสากลเพื่อรับประกันด้านอาหารปลอดภัย สอดคล้องกับเทรนด์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตแบบพาสเจอไรซ์สำหรับผลิตภัณฑ์แบบที่ต้องแช่เย็น หรือแบบยูเอชที (UHT) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ได้ในอุณหภูมิห้อง เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์คงความสดใหม่เก็บได้นานโดยไม่ต้องใช้วัตถุกันเสีย

หากย้อนไปดูระบบการผลิตและบรรจุแบบ UHT จะพบว่า เต็ดตรา แพ้ค ถือเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมดังกล่าวขึ้นมา นับเป็นผลงานการันตีการเป็นผู้นำในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ระดับโลกได้เป็นอย่างดี

– คิดนอกกรอบด้วยนวัตกรรม 

จะว่าไปแล้ว บรรจุภัณฑ์ก็ไม่ต่างจากเสื้อผ้า สามารถเป็นแฟชั่นได้ ไม่อย่างนั้นตลาดคงไม่ได้เห็นแพ็คเกจจิ้งชิคๆ เก๋ๆ บนเชลฟ์อย่างแน่นอน แต่การจะผลิตบรรจุภัณฑ์เจ๋ง เท่ห์ เก๋ ได้ “นวัตกรรม” จะเป็นตัวตอบโจทย์ให้สามารถทำสิ่งที่พ้นจากกรอบเดิมๆได้ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตมีการนำเสนอนวัตกรรม ช่วยเปลี่ยนไอเดียเดิมๆให้เด็ด โดนใจลูกค้าได้มากขึ้น อย่างการดีไซน์บรรจุภัณฑ์แบบกล่องที่มีเหลี่ยมมุม โค้งเว้า ไม่ใช่แค่กล่องสี่เหลี่ยมแบบเดิมๆ

– เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ยุคนี้ผู้บริโภคชาญฉลาดเลือกซื้อสินค้า นอกจากบริโภคสินค้าดี อร่อย มีคุณภาพ แต่ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วม “รักษ์โลก” ให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนมากขึ้น หากสินค้าไหนยังไม่ได้ตระหนักในเรื่องนี้ อาจจะสูญเสียลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ เทรนด์นี้ทำให้แบรนด์สินค้าอาหารต้องหันมาปรับการใช้บรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ทำจากวัสดุที่ทดแทนได้และรีไซเคิลได้ เป็นต้น

เพื่อยืนยันว่าเทรนด์การมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมมาแรง ผลจากการสำรวจตลาด พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภค 78% เลือกซื้อสินค้าโดยพิจารณาจากบรรจุภัณฑ์ที่ดี เป็นมิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-บรรจุภัณฑ์ด่านแรกชนะใจผู้บริโภคชาวโซเชียล

โลกดิจิทัล กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคมากขึ้น จากงานวิจัยพบว่าคนไทยใช้เวลาเสพสื่อออนไลน์เฉลี่ย 6.30 ชั่วโมงต่อวัน (ที่มา : ดันน์ฮัมบี้) และส่วนใหญ่จะจับจ้องที่โซเชียลมีเดีย ทำให้สื่อดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในหลายๆด้าน

จากข้อมูลจากเว็บไซต์ unpacking opportunities ของเต็ดตรา แพ้ค พบว่า ผู้บริโภคมากถึง 75% มีการตัดสินใจซื้อสินค้าเพียงเพราะเห็นจากโซเชียลมีเดีย และผู้บริโภคอีก 48% ยินดีจะจ่ายมากขึ้น ถ้าได้สินค้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะตัวได้ ดังนั้น หากผลิตภัณฑ์สามารถ “ดีไซน์” สินค้าได้ “ตรงใจ” กับ “ความต้องการ” ของกลุ่มเป้าหมาย ย่อมหมายความว่า “โอกาส” ในการขายสินค้าจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ

การเห็น “เทรนด์ตลาด” และ “ความต้องการของผู้บริโภค” ในอนาคต นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเปรียบเสมือนเป็นกุญแจ ที่จะช่วยไขเคล็ดลับให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มประสบความสำเร็จได้ เพราะการคาดการณ์แนวโน้มตลาดล่วงหน้า ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำมากำหนดในแผนงาน วางกลยุทธ์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภค ลูกค้าได้อย่างตรงจุดที่สุด กลับกันหากไม่สามารถตามเทรนด์เหล่านั้นทันท่วงที นอกจากจะพลาดโอกาสในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจแล้ว อาจนำไปสู่การถดถอยของธุรกิจย่อมเป็นได้


แชร์ :

You may also like