HomeInsightเจาะพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ ชายหญิงต่างกันอย่างไร

เจาะพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ ชายหญิงต่างกันอย่างไร

แชร์ :

social-media

ผู้หญิงผู้ชายนอกจากจะต่างกันทางเพศสภาพแล้ว พฤติกรรมและอารมณ์ความรู้สึกยังต่างกัน ส่งผลให้ตอบสนองต่อเรื่องราวบนโลกนี้ต่างกัน และเพราะเราต่างกันนี่เองที่เป็นเหตุผลที่ในโลกของการโฆษณาจำเป็นต้องมีการระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จริงๆ แล้วคนทั้งโลกก็ไม่มีใครเหมือนกัน แต่วันนี้เราขอหยิบเรื่องราวน่าสนใจของความแตกต่างทางเพศที่ส่งผลต่อการแสดงออกและรับสารบนโซเชียลมีเดียของชายหญิงมาฝาก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ข่าวสาร กับ ความเป็นเพื่อน

ผลวิจัยบอกเราว่าผู้ชายมักใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการเสพข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในขณะที่ผู้หญิงมักใช้มันไปเพื่อติดต่อสื่อสารกับคนอื่น แต่หากผู้ชายจะใช้มันเพื่อการติดต่อ พวกเขาจะสนใจการสร้างความสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ มากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงให้ความสำคัญกับการรักษาความสัมพันธ์ที่มีอยู่เอาไว้ จากการสำรวจพฤติกรรมบนเฟซบุ๊กยังพบว่าผู้ชายเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวมากกว่าผู้หญิง เช่นข้อมูลครอบครัว หรือความสัมพันธ์ และผู้ชายยังชอบพูดคุยในเรื่องที่นามธรรมเงื่อนงำแอ็บสแตคมากกว่า เช่น การเมือง ศาสนา ทีมสำรวจทำการวิจัยจาก 1.5 ล้านสเตตัสและคัดกรองออกมายังพบว่าหัวข้อแบบสาวๆ เช่น งานวันเกิด ความสุขในครอบครัว การเมาท์มอย จะได้รับยอดไลค์มากกว่า ในขณะที่ท๊อปปิคแบบผู้ชายๆ อย่างเรื่องกีฬา จะได้รับคอมเมนท์มากกว่า

ความน่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ใช้ว่าผู้หญิงจะไม่ชอบเรื่องราวแอ็บสแตค แต่พวกเธอไม่ชอบเปิดเผยความคิดเห็นเพราะห่วงเรื่องผลตอบรับในเชิงลบ เพราะเพศหญิงมักโดนดูถูกความคิดเห็น และวิจารณ์ในแง่ลบมากกว่าผู้ชายจากการแสดงความคิดเห็นออกมาบนโลกออนไลน์ เคยมีการทดลองบนทวิตเตอร์โดยนักช่าวชาวอังกฤษ Martin Belam เขาสร้างแอคเคาท์เกี่ยวกับกีฬาขึ้นมาหนึ่งอันและแกล้งทวิตข้อความที่มาจากทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ผลที่ได้รับคือเวลาที่ทวีตข้อความเป็นผู้หญิง จะได้รับคอมเมนท์มากกว่า และแง่ลบมากกว่าเช่นกัน ผลวิจัยจาก The Guardian ก็พบว่านักข่าวหญิงมักได้รับคำวิจารณ์ที่รุนแรงกว่า

เพศแห่งการเซลฟี่

หากพูดถึงเรื่องราวที่ผู้ชายและผู้หญิงสนใจเสพบนโลกโซเชียล พบว่าผู้หญิงชอบคอนเทนท์ประเภทรูปภาพมากกว่า ในขณะที่ผู้ชายชอบคอนเทนท์ที่เป็นบทความมากกว่า นั่นทำให้ทั้ง Pinterest Facebook และ Instagram มีฐานผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงมากกว่า แต่เว็บไซต์ฟอรั่มที่มีการเปิดประเด็นตั้งกระทู้เพื่อถกเถียงอย่าง Reddit จะมีผู้ชายมากกว่า

เรื่องน่าสนใจอีกอย่างคือสงสัยไหมว่าทำไมผู้หญิงถึงถูกดึงดูดด้วยภาพได้มากกว่าผู้ชาย Katrin Tiidenberg นักสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัย Tallinn ให้คำตอบไว้ว่ามันมาจากหน้าที่ในครอบครัวของผู้หญิง ตั้งแต่สมัยก่อนแม่มักเป็นคนที่ชอบถ่ายภาพครอบครัวเก็บไว้ดู นิสัยนี้จึงติดตัวผู้หญิงทั้งหลายมาจนถึงปัจจุบันโดยแสดงออกในรูปแบบของ Instagram และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้หญิงถึงชอบโพสต์รูปเซลฟี่มากกว่าผู้ชาย มีโปรเจคที่ชื่อว่า the Selfieexploratory project ที่ทำการวิเคราะห์ภาพเซลฟี่ทุกๆ 3,800 ภาพใน Instagram จาก 5 ประเทศรอบโลกและพบว่าภาพผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอยู่เสมอ และวิจัยล่าสุดจาก Ohio State University ถึงกับบอกเราว่าผู้ชายที่ชอบเซลฟี่มากๆ มีแนวโน้มเป็น  narcissistic หรือ psychopathic personalities หรือพฤติกรรมหลงรูปลักษณ์ตัวเองนั่นเอง

ตัดแต่งให้โดนใจเพื่อเรียกไลค์ให้เยอะขึ้น

ทุกคอนเทนท์ที่เราโพสต์ลงโซเชียล โดยเฉพาะรูปภาพ ถูกวิเคราะห์ทางจิตมาแล้วว่าปลายทางลึกๆ เราถูกกระตุ้นจากความต้องการในการสร้างความประทับใจให้คนอื่นรู้สึกดีต่อตัวเรา แม้ว่าชายหญิงจะมีพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลในแบบที่ต่างกัน แต่ปลายทางของความกระหายการเป็นที่ยอมรับไม่ต่างกันเทาไหร่นัก ผู้หญิงมักโพสต์ภาพพอร์ทเทรทที่เห็นใบหน้าชัดเจน และมองกล้องตรงๆ ในขณะที่ผู้ชายมักโพสต์ภาพเต็มตัวที่มีคนอื่นอยู่ในภาพด้วย และมักเป็นภาพเอาท์ดอร์เพื่อแสดงความแอดเวนเจอร์ในตัวออกมา

พฤติกรรมดังกล่าวเห็นได้ชัดในกลุ่มวัยรุ่น เด็กๆจะใช้เพศที่ตัวเองเลือกสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์เช่น ผู้หญิงมักโพสต์รูปตัวเองที่ดูยั่วยวนเกินจริง ไปจนถึงโพสต์ภาพน่ารักๆ อย่างลูกหมาลูกแมวทั้งหลายแหล่ ในขณะที่ผู้ชายก็ชอบโพสต์อะไรที่ดูเสี่ยงภัย ท้าทาย แมนๆคุยกัน ไปจนถึงเรื่องกินเหล้า เข้าผับ จีบหญิง A Northwestern University ยังพบว่าผู้ชายชอบโปรโมทตัวเองผ่านโลกออนไลน์มากกว่าผู้หญิง โดยการโพสต์งานครีเอทีฟที่ตัวเองทำได้ เช่น เล่นกีต้าร์ ร้องเพลง ตัดต่อวิดีโอ ทำกราฟฟิก และผู้ชายมักจะพูดถึงเรื่องหน้าที่การงานของตนมากกว่าผู้หญิง

เธอ “ชอบจังเยย” เขา “ชอบมากครับ”

การสื่อสารของคนทั้งสองเพศยังต่างกันในเรื่องของการเลือกใช้คำเพื่อสื่อสาร ผู้ชายมักใช้คำที่เป็นทางการกว่า และเป็นลบมากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงมักเลือกใช้คำได้อบอุ่นกว่าผู้ชาย เต็มไปด้วยอารมณ์ และฟังไปในเชิงบวกมากกว่าด้วยเช่นกัน ผลวิจัยจากกว่า 15 ล้านสเตสัสพบว่าคำที่แสดงถึงความรู้สึกและความสัมพันธ์ เช่นพวก รักนะ ตื่นเต้นจัง มีความสุขมาก เพื่อนรัก ครอบครัวของฉัน สุดยอดดดดด มักถูกใช้โดยผู้หญิง เปรียบเทียบกับผู้ชายมักชอบคุยเรื่องทางการและการแข่งขัน เช่น การเมือง ฟุตบอล ชัยชนะ ความยิ่งใหญ่ อะไรทำนองนั้น

Academics from John Hopkins University ยังเคยทำการสำรวจทางทวิตเตอร์และพบคล้ายๆ กันว่าผู้หญิงชอบใช้คำที่แสดงอารมณ์รวมไปถึงอีโมติคอนและเครื่องหมายต่างๆ เช่น OMG และ lol จะถูกใช้ในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้ชายชอบใช้คำว่า Yeah มากกว่า ผู้หญิงยังใช้ภาษาวิบัติเพื่อเสียงมากกว่าผู้ชาย เช่น น่ายักจังเยยยยยย ช่ายยยยยย จริงหราาาาาา และคำประเภทครุ่นคิด เช่น เอ่อ อืม มากกว่าผู้ชายหลายเท่า เพราะผู้ชายชอบแสดงออกไปในทางแข็งกร้าวมากกว่า Professor Mark Griffiths บอกว่ามันอาจเป็นเพราะผู้ชายใช้โซเชียลมีเดียส่วนหนึ่งเพื่อระบายความกร้าวร้าวในตัวที่พวกเขาไม่สามารถแสดงออกซึ่งหน้าได้ ต่างจากผู้หญิง

ความน่าสนใจอีกอย่างก็คือ ผู้ชายมักแสดงความเป็นเจ้าของมากกว่าเมื่อพูดถึงผู้หญิงของเขา เช่น “เมียผม” “แฟนเรา” ต่างจากผู้หญิงที่ไม่ค่อยพูดแบบนี้

สุดท้ายแล้ว พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของชายหญิงก็ไม่ต่างจากการสื่อสารในโลกของความจริง เพียงแต่ในโลกออนไลน์เราสร้างตัวตนในแบบขั้นกว่าของสิ่งที่เราเป็นหรือสิ่งที่เราต้องการในโลกปัจจุบันได้ เราแสดงมันออกผ่านการเลือกโพสต์ เลือกแต่งภาพ เลือกเขียนสเตตัส เพื่อสุดท้ายแล้วเราจะมีตัวตนบนโลกออนไลน์เพื่อเชื่อมต่อถึงคนอื่นๆ

gender-inforgraphic

Source

แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM


แชร์ :

You may also like