HomeSponsored“ธนาคารไทยเครดิต” ระดมทุน IPO เข้าตลาดหุ้น 9 กุมภาพันธ์นี้ กับภารกิจใหญ่ช่วยธุรกิจรายย่อยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

“ธนาคารไทยเครดิต” ระดมทุน IPO เข้าตลาดหุ้น 9 กุมภาพันธ์นี้ กับภารกิจใหญ่ช่วยธุรกิจรายย่อยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

แชร์ :

แม้ “ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)” จะเป็นแบงก์ขนาดเล็กหากเทียบกับแบงก์ใหญ่ โดยมีสาขา 527 แห่ง (ณ งวด 9 เดือนปี 66) แต่กว่า 17 ปี นับจากเริ่มดำเนินกิจการเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย จนได้รับการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบในปัจจุบัน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ขนาด” ไม่ได้เป็นตัวการันตีความสำเร็จเท่ากับ “ผลงาน” เพราะหากดูผลประกอบการย้อนหลังจะเห็นว่าธนาคารไทยเครดิตมีการเติบโตไม่ธรรมดา โดยสร้างการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 20-30%  ต่อปี อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปี 2563-งวด 9 เดือน ปี 2566 เติบโตก้าวกระโดด ทั้งด้านสินเชื่อและผลกำไร

จากในปี 2563 มียอดสินเชื่อ 68,562.4 ล้านบาท เป็น 121,298 ล้านบาท ในปี 2565 และ 9 เดือนแรกของปี 2566 มียอดสินเชื่อ 138,435.1 ล้านบาท ขณะที่ผลกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยสะสมระหว่างปี 2563-2565 สูงถึง 30.9% ต่อปี โดย 9 เดือนแรกปี 2566 มีกำไรสุทธิ 2,816.7 ล้านบาท

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตัวเลขดังกล่าว ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเท่านั้น ทว่ายังตอกย้ำความเป็นธนาคารที่เชี่ยวชาญด้านการให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งกลุ่ม Micro SME และพ่อค้าแม่ค้า จนกลายเป็นขวัญใจคนตัวเล็กมาถึงปัจจุบัน และวันนี้กำลังจะเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งนับเป็นแบงก์แรกที่เข้าเทรดในรอบกว่า 10 ปี จึงเป็นอีกหนึ่งหุ้นแบงก์น้องใหม่ที่หลายคนจับตามอง

ดังนั้น เพื่อทำความรู้จักธนาคารไทยเครดิตให้มากขึ้น Brand Buffet ชวนมาดูเส้นทางการเติบโต และเบื้องหลังวิธีคิดของธนาคารเล็กๆ แห่งนี้ พร้อมการเข้าระดมทุนในครั้งนี้

ช่วยคนตัวเล็กให้เติบโตไปด้วยกัน

หากพูดถึงธนาคารชุมชนหรือแบงก์ที่ให้สินเชื่อเพื่อช่วยคนตัวเล็ก หนึ่งในคำตอบของหลายๆ คน คงหนีไม่พ้น “ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)” หรือ “หุ้น CREDIT” โดยธนาคารเริ่มก้าวเข้าสู่แวดวงการเงินครั้งแรกในปี 2513 ภายใต้ชื่อ “บริษัท กรุงเทพสินทวี จำกัด” จากนั้นในปี 2526 เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ไทยเคหะ จำกัด” กระทั่ง ได้สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อธนาคารได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในปี 2549 และเริ่มดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ในปี 2550

จากนั้นในปี 2566 ธนาคารได้รับการยกระดับขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ ส่งผลให้ธนาคารไทยเครดิตสามารถขยายการให้บริการลูกค้าได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)”

โดยปัจจุบันธนาคารไทยเครดิต ดำเนินการภายใต้การบริหารของทีมผู้บริหารที่เข้าใจและเชี่ยวชาญในธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยมายาวนาน โดยมีผลิตภัณฑ์และบริการครอบคลุมทั้งสินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ (Micro and Nano Finance) และสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (Micro SME) แก่กลุ่มผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้เท่าที่ควร รวมไปถึง บริการเงินฝาก สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจุดยืนชัด บริการต่าง สร้างการเติบโตก้าวกระโดด

ถึงจะเป็นแบงก์ขนาดเล็ก แต่จุดแข็งที่เป็นทั้งจุดเด่นที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และสร้างชื่อเสียงให้กับธนาคารมายาวนานคือ “โมเดลธุรกิจ” ที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการวางตำแหน่งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย โดยเน้นเจาะลูกค้า 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการ Micro SME และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า หรือร้านค้าขนาดเล็ก ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่มาก จากข้อมูล IPSOS กันยายน 2566 พบว่า ประเทศไทยมีธุรกิจไมโครเอสเอ็มอีกว่า 3.2 ล้านราย และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยสร้าง GDP กว่า 35% ของประเทศ ทั้งยังมีความต้องการเงินทุนในการทำธุรกิจสูง เพราะปัญหาของคนกลุ่มนี้คือ เข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ เนื่องจากไม่มีหลักฐานการเงินหรือหลักประกัน จึงต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูง

ไม่เพียงโมเดลธุรกิจจะชัดเจน ทว่าธนาคารยังใช้ “คน” ในการคัดกรองสินเชื่อ ซึ่งเป็นพนักงานในพื้นที่ที่มีความคุ้นเคยและรู้จักพ่อค้าแม่ค้าเป็นอย่างดี ทำให้สามารถคัดกรองเบื้องต้นได้ว่า ลูกค้ารายไหนปล่อยสินเชื่อได้ รายไหนปล่อยไม่ได้ ทั้งยังมีทีมลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ประกอบการทุกสัปดาห์ จึงเข้าใจปัญหาของลูกค้า และนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้รัดกุม ทั้งยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจบนความยั่งยืน ด้วยการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงินมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ ตังค์โต Know-how เพราะมองว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะปลูกฝังวินัยทางการเงินที่ดีแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และช่วยให้ผู้ประกอบการต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ โดยปัจจุบันมีผู้เข้าอบรมรวมกว่า 100,000 ราย

จากจุดเด่นที่ชัดเจน บวกกับกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่าง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารไทยเครดิตจึงประสบความสำเร็จและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางดิสรัปชั่นและการแข่งขันที่สูงจากผู้เล่นรายใหญ่ โดยผลการดำเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563-2565) ธนาคารมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมของเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้อยู่ที่ 33% ต่อปี และมีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในปี 2565 เท่ากับ 18.9% และ 9 เดือนแรกปี 2566 เท่ากับ 21.8% ทั้งยังกลายเป็นธนาคารที่ครองใจคนตัวเล็กมาอย่างต่อเนื่อง

ระดมทุน ขาย IPO ขยายพอร์ตสินเชื่อ

นอกจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งแล้ว อีกจุดเด่นสำคัญคือ ธนาคารไทยเครดิตยังเป็นธนาคารพาณิชย์รายแรกที่เข้า IPO ในรอบกว่า 10 ปี ประกอบกับธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยยังมีช่องว่างในการเติบโตอีกมาก จากตลาดที่มีขนาดใหญ่ เพราะ 1 ใน 3 ของ GDP ขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการรายย่อย และยังมีลูกค้าอีกหลายกลุ่มต้องการเงินทุนไปขยายกิจการอีกมาก ส่งผลให้ตลาดการกู้ยืมเงินในระบบมีมูลค่าอยู่ที่ 6.7 ล้านล้านบาท ขณะที่ตลาดหนี้นอกระบบมีมูลค่ากว่า 2.4 ล้านล้านบาท บวกกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ ยังมีแนวโน้มอยู่ในอัตราที่สูง จึงส่งผลให้ธนาคารไทยเครดิตเป็นอีกหุ้นแบงก์น้องใหม่ที่น่าสนใจ

มาถึงตรงนี้ คงจะเห็นภาพรวมธุรกิจและศักยภาพการเติบโตของธนาคารไทยเครดิตกันมากขึ้นแล้ว ทว่าหลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วการระดมทุนในครั้งนี้ ธนาคารมีแผนจะนำเงินทั้งหมดไปทำอะไร

สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนนั้น ธนาคารจะนำมาเสริมฐานเงินกองทุนของธนาคารให้แข็งแกร่งเพื่อขยายพอร์ตสินเชื่อ ทั้งยังมีแผนจะนำไปพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระบบดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้แนวคิดการทำธุรกิจของธนาคาร Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ ซึ่งไม่เพียงจะผลักดันให้ธนาคารเติบโตขึ้นไปอีกขั้น แต่ยังช่วยสร้างการเติบโตให้ผู้ประกอบการและความแข็งแกร่งสู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน

สำหรับใครสนใจหุ้นกลุ่มแบงก์ สามารถติดตามธนาคารไทยเครดิต หรือหุ้น CREDIT โดยคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันแรกในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลกันให้ดีๆ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=527568&lang=th หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธนาคารได้ที่เว็บไซต์ www.thaicreditbank.com


แชร์ :

You may also like