HomeBrand Move !!‘มาม่า คร๊าฟฟฟ’ หน้าโรงเรียน เผยโฉมร้านใหม่ MAMA Station Craft พัฒนาการ ลุยโมเดลร่วมทุน-แฟรนไชส์

‘มาม่า คร๊าฟฟฟ’ หน้าโรงเรียน เผยโฉมร้านใหม่ MAMA Station Craft พัฒนาการ ลุยโมเดลร่วมทุน-แฟรนไชส์

มาม่า เผยสาขาต้นแบบ MAMA Station Craft อัพเกรดแบรนด์ ยกระดับประสบการณ์ให้ลูกค้า

แชร์ :

หลังเผยโฉมร้านอาหารเมนูมาม่า สาขาต้นแบบไปเมื่อต้นปี ล่าสุด MAMA Station เปิดตัวโมเดลใหม่ต่อเนื่อง คราวนี้ยึดทำเลหน้าโรงเรียนเปิดตัว MAMA Station Craft (มาม่า สเตชั่น คราฟต์ หรือ คร๊าฟฟฟ) ย่านพัฒนาการ คอนเซ็ปต์ Cafe กับกว่า 30 เมนูมาม่า ทั้งสไตล์ไทยและหม้อไฟเกาหลี ราคา 69-159 บาท

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

MAMA Station Craft สาขานี้อยู่ซอยพัฒนาการ 53 พื้นที่เช่าโครงการพัฒน์ มาร์เก็ต อยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ จึงเป็นอีกโมเดล ที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักชัดเจนเป็น นักเรียน นักศึกษา คนทำงานและกลุ่มที่พักอาศัยในย่านนี้ เพราะอยู่ใกล้หมู่บ้านจำนวนมาก

สาขานี้เป็นคอนเซ็ปต์ Cafe บรรยากาศในร้านมีการตกแต่งด้วยภาพวาดมือ จึงเป็นที่มาของคำว่า Craft เพื่อสร้างประสบการณ์สนุกสนาน ให้กับกลุ่มเป้าหมายๆ เด็กนักเรียน โดยมีกิมมิคเป็นจุดเช็คอิน Instagrammable ถ่ายรูปโพสต์โชว์โซเชียลมีเดีย

โดยมีเมนูมาม่าแบบจานเดียวราคาเริ่มต้น 69 บาท เมนูหม้อไฟ 159 บาท และเซ็ตจานเดียว เครื่องดื่ม ของกินเล่น และขนม ชุดละ 145-158 บาท เมนูเส้นมาม่ามีทั้งสไตล์ไทยและเกาหลี กว่า 30 เมนู ไม่ว่าจะเป็น หม้อไฟเกาหลี, ผัดกิมจิ, ยำมาม่า, ลาบมาม่า, กระเพรา, ผัดขี้เมา, สุกี้, เขียวหวาน, มาม่าไข่ตุ๋น, ไข่เจียวมาม่า, มาม่าเขียวหวาน, มาม่าไข่ข้นแฮม/กุ้ง, ผัดไข่เค็ม, คาโบนาร่า, เย็นตาโฟเกี๊ยวกรอบ นอกจากเสิร์ฟเมนูจากเส้นมาม่าแล้ว ยังมีเมนูเครื่องดื่ม ของหวาน ไอศกรีมด้วย

Cr.facebook MamaStationCraft

ลุยเปิดโมเดลใหม่ ‘ร่วมทุน’  เจ้าของทำเล-ไอเดีย

คุณพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ “มาม่า” กล่าวว่า MAMA Station Craft พัฒนาการ เป็นสาขาที่ 3 ต่อจากสาขาลาดพร้าว และเพชรเกษม 98 หลังจากเปิดตัวทั้ง 2 สาขา ทำยอดขายได้เฉลี่ยวันละ 5,000-6,000 บาท ปกติกธุรกิจร้านอาหารกำไรอยู่ที่ 30%

ส่วน MAMA Station Craft พัฒนาการ ยังคงเป็นการลงทุนของกลุ่มเพื่อนๆ และรุ่นน้องที่รู้จัก โดย “มาม่า” ให้สิทธิการใช้แบรนด์ เพราะยังอยู่ในช่วงทดลองโมเดลการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นสาขาต้นแบบก่อนที่จะ Scale up ขยายสาขาจำนวนมาก

นอกจากรูปแบบร้านขนาด 45-60 ตารางเมตร ได้เปิดโมเดลใหม่ MAMA Station Mini ร้านขนาดเล็ก 20 ตารางเมตร มี 5-7 เมนู โมเดลนี้เปิดแห่งแรกในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต สาขาต่อไปเตรียมเปิดในทำเลหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ “มาม่า” จะร่วมมือกับกลุ่มนักลงทุนที่เปิดร้าน MAMA Station อยู่ในปัจจุบันทั้งหมด 3-4 ราย เพื่อจัดตั้งบริษัท มาม่า สเตชั่น จำกัด โดยไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ในฐานะเจ้าของแบรนด์มาม่า ร่วมถือหุ้นด้วยราว 20-30% โดยมาม่า ไม่ได้ถือหุ้นเยอะ เพราะต้องการให้ผู้ร่วมทุนอื่นๆ ที่เข้ามาลงทุนร้าน MAMA Station มาตั้งแต่ต้น มีความเป็นเจ้าของ พัฒนาและขยายธุรกิจไปด้วยกัน

คุณพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA

หลังจากนั้นการเปิดสาขา MAMA Station จะเป็นการลงทุนภายใต้บริษัทใหม่ที่จัดตั้งขึ้น ปีนี้จะมีการทดลองเปิดโมเดลใหม่ๆ ในทำเลต่างๆ เช่น สวนสนุก สถานที่ท่องเที่ยว ปั๊มน้ำมัน สนามบิน สถานีขนส่ง สถานบันเทิง (ผับบาร์) ศูนย์การค้า

นอกจากการขยายสาขา MAMA Station ของกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัทเองแล้ว จะเปิดให้นักลงทุนที่มีทำเล ไอเดียในการทำเมนูมาม่ารูปแบบต่างๆ หรือกลุ่มที่มีจุดแข็งด้านวัตถุดิบ เข้ามาเสนอแผนธุรกิจเปิดร้าน MAMA Station เพื่อทำธุรกิจร่วมกัน โดยมีทั้งรูปแบบแบ่งรายได้และกำไรร่วมกัน บริษัทมาม่า สเตชั่น เข้าไปร่วมทุนด้วย หากเป็นโครงการขนาดใหญ่บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จะเข้ามาร่วมลงทุนด้วย

ปัจจุบันมีเจ้าของที่ดินทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดท่องเที่ยว เสนอไอเดียการเปิดร้าน MAMA Station เข้ามาหลายราย ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโอกาสในการทำธุรกิจ

รูปแบบร้าน MAMA Station Mini มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

ทดลองโมเดลต้นแบบ-วางระบบก่อนเปิดแฟรนไชส์

การเปิดร้าน MAMA Station ในปี 2566-2567 จะเป็นการลงทุนเองภายใต้บริษัทร่วมทุนเป็นหลัก ภายใน 2 ปีนี้วางเป้าหมาย 20-30 สาขา ถือเป็นช่วงเวลาศึกษาต้นทุน วางระบบและพัฒนาโมเดลต้นแบบที่เหมาะสมในการขยายสาขา MAMA Station ในรูปแบบแฟรนไชส์ต่อไป

“มีผู้สนใจแฟรนไชส์ MAMA Station จำนวนมาก แต่เราต้องใช้เวลาในการพัฒนาต้นแบบร้าน จึงต้องทดลองเปิดเองในหลายๆ โมเดล ดูทั้งต้นทุน รายได้ ขนาดร้าน ทำเล เมนูอาหาร เพื่อมากำหนดเป็นมาตรฐานแฟรนไชส์ที่เหมาะสม ทำให้นักลงทุนอยู่ได้ การขายแฟรนไชส์เป็นการสร้างความหวังให้นักลงทุน จึงต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ทั้งผู้ลงทุนและแบรนด์มีความเสี่ยง”

สำหรับร้าน MAMA Station ที่เปิดสาขาอยู่ในปัจจุบันเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและได้รับการชักชวนไปออกบูทในงานอีเวนท์หลายงาน เช่น ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ไปออกบูทในงาน S2O Songkran Music Festival และ SIAM Songkran Music Festival รวมทั้งการออกบูทในศูนย์การค้า ปีนี้มี Music Festival หลายงานที่เตรียมไปออกบูท ถือเป็นอีกโมเดลสร้างรายได้จากงานอีเวนท์ให้กับสาขาร้าน MAMA Station

โมเดล MAMA Station นอกจากเป็นการขยายธุรกิจใหม่ “ร้านอาหาร” ยังเป็นการสร้าง Brand Awareness “มาม่า” ให้ผู้บริโภคคนรุ่นใหม่รู้จักมากขึ้น ได้ลองกินเมนูมาม่าในรูปแบบต่างๆ

หลังจากเปิดร้าน MAMA Station อีกโมเดลที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา คือการทำ “มิวเซียม มาม่า” เหมือนในญี่ปุ่นที่มีมิวเซียม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้คนได้มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชิมเมนูต่างๆ “มาม่า” มีอายุ 50 ปี มีเรื่องเล่าของแบรนด์ที่จะบอกเล่าให้คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยว ที่ชื่นชอบมาม่า ได้รู้จักแบรนด์มากขึ้น ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าแบรนด์ในอนาคต

(จากซ้าย) คุณพรนภัส สุทนต์, คุณกุญช์ถริกาญ์ สุทนต์ เจ้าของร้าน MAMA Station Craft พัฒนาการ และคุณพันธ์ พะเนียงเวทย์

MAMA Station Craft พัฒนาการ

MAMA Station Craft พัฒนาการ

MAMA Station Craft พัฒนาการ

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like