HomeDigitalการ์ทเนอร์คาดอีก 4 ปี คน 25% จะใช้เวลาใน Metaverse อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง

การ์ทเนอร์คาดอีก 4 ปี คน 25% จะใช้เวลาใน Metaverse อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง

แชร์ :

Gartner predicts metaverse trend

การ์ทเนอร์คาดการณ์ภายในปี 2026 ผู้คนราว 25% ทั่วโลกจะใช้เวลาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงไปกับการทำงาน ช้อปปิ้ง เรียนรู้ เข้าสังคม ตลอดจนรับความบันเทิงรูปแบบต่าง ๆ ในโลก “Metaverse”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การ์ทเนอร์ให้นิยามของ Metaverse ว่าเป็นพื้นที่เสมือนจริงที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมาแบ่งปันใช้ร่วมกัน โดยสร้างขึ้นจากการผสมผสานความเป็นจริงทางกายภาพและดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกันเพื่อมอบประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถเข้าถึงผ่านอุปกรณ์ชิ้นเดียวหรืออุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ตั้งแต่แท็บเล็ตจนถึงจอแสดงผลแบบสวมศีรษะ

เนื่องจากไม่มีผู้ให้บริการใดที่เป็นเจ้าของ Metaverse แต่เพียงผู้เดียว การ์ทเนอร์คาดว่าจะมีรูปแบบเศรษฐกิจเสมือนจริงเกิดขึ้นและขับเคลื่อนโดยสกุลเงินดิจิทัล รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs) และ Metaverse ยังส่งผลกระทบไปถึงทุกธุรกิจที่ต้องโต้ตอบ – สื่อสารกับผู้บริโภคเป็นประจำทุกวันด้วย

Elements of a Metaverse

นอกจากนี้ Metaverse ยังส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงาน องค์กรต่าง ๆ จะมุ่งนำเสนอการมีส่วนร่วม ความร่วมมือกันและการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นให้แก่พนักงานผ่านพื้นที่ทำงานเสมือนจริงแบบเวอร์ชวลออฟฟิศ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานของตนเอง เพราะว่า Metaverse ได้ช่วยจัดการวางระบบให้เรียบร้อยแล้ว

มาร์ตี้ เรสนิค รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ กล่าวว่า “องค์กรต่าง ๆ จะมีความสามารถในการขยายและพัฒนาธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยย้ายจากธุรกิจดิจิทัลไปเป็นธุรกิจใน Metaverse ซึ่ง 30% ขององค์กรทั่วโลก จะมีผลิตภัณฑ์และบริการพร้อมสำหรับดำเนินธุรกิจใน Metaverse ภายในปี 2026 ” 

อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Metaverse มาใช้นั้นยังถือเป็นเรื่องใหม่และกระจัดกระจายอยู่มาก และการ์ทเนอร์ยังเตือนองค์กรที่มีการลงทุนสูง ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาด Metaverse ว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าควรลงทุนแบบใดเพื่อสร้างความสำเร็จในระยะยาว อย่างไรก็ตามผู้จัดการผลิตภัณฑ์ควรใช้เวลาเรียนรู้ สำรวจและเตรียมพร้อมรับมือกับโลก Metaverse เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน” เรสนิค กล่าวสรุป


แชร์ :

You may also like