HomeBrand Move !!5 ความท้าทาย เมื่อ “เด่นหล้า” ทุ่ม 600 ล้านบาทผุดชั้นม.ปลายในยุคโรงเรียนนานาชาติแข่งดุ

5 ความท้าทาย เมื่อ “เด่นหล้า” ทุ่ม 600 ล้านบาทผุดชั้นม.ปลายในยุคโรงเรียนนานาชาติแข่งดุ

แชร์ :

 

โรงเรียนนานาชาติ เด่นหล้า

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หากนับจากการเปิดตัวโรงเรียนนานาชาติ DBS Denla British School เมื่อปี 2560 ด้วยงบลงทุน 1,200 ล้านบนพื้นที่ขนาด 60 ไร่ในย่านราชพฤกษ์เพื่อรองรับนักเรียนในระดับอนุบาล – ชั้นมัธยมต้นแล้ว มาถึงตอนนี้อาจเป็นเวลาที่เหมาะสมอีกครั้งสำหรับการลงทุนเฟส 2 ของโรงเรียนสู่ระดับชั้นมัธยมปลาย ด้วยงบประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อตอบโจทย์ผู้ปกครองยุคใหม่กันอีกครั้ง

สำหรับการลงทุนดังกล่าวคือการสร้าง 2 อาคารใหม่ขึ้นภายใน DBS Denla British School โดยแบ่งเป็นอาคารเรียนพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลายหนึ่งอาคาร ส่วนอีกหนึ่งอาคารถูกออกแบบเป็นพื้นที่ – สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย ห้องออดิทอเรียมขนาด 665 ที่นั่ง, โรงอาหารสำหรับนักเรียน ฯลฯ

แต่อะไรคือสิ่งที่ทำให้ DBS Denla British School ตัดสินใจลงทุนก้อนใหญ่ ท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 ที่ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนไปอย่างมาก และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียนต้องแบกรับต้นทุนมหาศาล ฯลฯ เหล่านี้อาจต้องลองฟังจากสองผู้บริหาร ผศ. ดร. ต่อยศ ปาลเดชพงศ์ และ ดร. เต็มยศ ปาลเดชพงศ์ รรมการบริหารโรงเรียนนานาชาติ DBS Denla British School ที่จะมาบอกเล่าเบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ให้ฟังกัน

โรงเรียนนานาชาติแข่งดุ โต 9% ในรอบ 4 ปี

DBS Landscape

DBS Denla British School

ประเด็นแรกคือการแข่งขันที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ที่เปิดเผยคือ ดร. เต็มยศ ปาลเดชพงศ์ ที่เล่าว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงเรียนนานาชาติแล้วกว่า 200 แห่ง โดยเป็นโรงเรียนระดับพรีเมียม 73 แห่ง หรือคิดเป็น 36% มีอัตราการเติบโตปีละ 9% เมื่อเทียบกับย้อนหลังกับเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเรียกได้ว่าโรงเรียนนานาชาติของไทยเติบโตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย)

ทัศนคติของผู้ปกครองที่เปลี่ยนไป

dbs denla

ดร.เต็มยศ กล่าวต่อไปด้วยว่า ปัจจุบันการวัดความสำเร็จของลูก ๆ ได้เปลี่ยนไปแล้ว พ่อแม่ยุคใหม่ไม่ได้วัดความสำเร็จของเด็กที่แค่สอบติดหมอหรือวิศวะอีกต่อไป แต่จะสนับสนุนให้ลูกค้นหาความถนัดของตนเอง

“เราพบว่าพ่อแม่มีมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ว่าจะส่งลูกเรียนโรงเรียนอะไรก็ได้ตอนเด็ก ๆ แล้วเมื่อโตขึ้นก็ค่อยส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยดี ๆ แต่ปัจจุบันพวกเขามีความคิดว่าต้อง “Invest Now” เพื่อ Harvest in the future” นั่นคือ การลงทุนเรื่องการศึกษาให้ลูกในวันนี้ เพื่อให้ลูกมีความรู้และทักษะรอบด้านตั้งแต่พวกเขายังเล็ก พอพวกเขาเติบโตจะเป็นบุคคลคุณภาพที่มีความเพรียบพร้อมในทุกด้านและมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จสูง ด้วยการมีความรู้และทักษะชีวิตที่พร้อมตั้งแต่ยังเด็กทำให้ลูกมีความพร้อมที่จะฟันฝ่าทุก ๆ ความท้าทายบนโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา”

ในจุดนี้ ดร.เต็มยศ วิเคราะห์ว่า การเติบโตดังกล่าวสะท้อนแนวคิดด้านการศึกษาของพ่อแม่ยุคใหม่ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยพ่อแม่ยุคนี้ให้ความมั่นใจในหลักสูตรนานาชาติว่าสามารถปูพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมในการแข่งขันทั้งทางด้านธุรกิจและการใช้ชีวิตได้มากกว่า

Word of Mouth การทำการตลาดสำหรับพ่อแม่

สำหรับปัจจัยในการเลือกโรงเรียนให้ลูกนั้น ดร.เต็มยศเผยว่า Location ยังคงนำมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องการให้ลูกเรียนใกล้บ้าน หรือเดินทางไม่เกิน 30 นาที ซึ่งพื้นที่ย่านราชพฤกษ์ถือเป็นทำเลที่ดี เพราะเป็นแหล่งรวมของหมู่บ้านจำนวนมาก

ปัจจัยต่อมาคือเรื่องหลักสูตร ที่ทางโรงเรียนพบว่า พ่อแม่ชาวไทยค่อนข้างนิยมหลักสูตรอังกฤษมากกว่า เห็นได้จากโรงเรียนนานาชาติในตลาดที่ 50% เป็นหลักสูตรจากอังกฤษ ขณะที่อีก 50% เป็นหลักสูตรจากสหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ

แต่ที่สำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ Word-of-Mouth หรือการบอกต่อ โดยพิสูจน์ได้จากเด็กที่มาสมัครเรียนว่าจะมีคนรู้จักแนะนำมา ในจุดนี้ ผศ. ดร. ต่อยศ ปาลเดชพงศ์ เผยว่า “สิ่งสำคัญคือต้องพัฒนาทำให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีที่สุด ต้องลงทุนกับคน ต้องทำให้นักเรียนของได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากโรงเรียน แล้วพ่อแม่จะบอกต่อกันเอง” โดยที่ผ่านมา เคสที่น่าสนใจของทางโรงเรียนมีตั้งแต่การเชิญนักเทนนิสระดับโลกอย่างคุณแทมมารีน ธนสุกาญจน์ มาสอนเทนนิสให้กับเด็ก ๆ หรือการเปิดคอร์สประวัติศาสตร์ให้เด็กที่มีความสนใจเป็นพิเศษได้เรียนเพิ่มเติมแม้จะเรียนแค่คนเดียวก็ตาม

พื้นที่สำหรับเด็กยุคใหม่ท้าทายมากขึ้น

ผศ. ดร. ต่อยศ ปาลเดชพงศ์ กรรมการบริหารโรงเรียนนานาชาติ DBS Denla British School

ผศ. ดร. ต่อยศ ปาลเดชพงศ์ กรรมการบริหารโรงเรียนนานาชาติ DBS Denla British School

ปัจจัยที่ 3 คือเรื่องของพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็กยุคใหม่ที่อาจทำให้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนเฟส 2 ของ DBS Denla British School มีมูลค่าถึง 600 ล้านบาท (และผู้บริหารบอกว่าอาจจะเกินงบที่ตั้งไว้ด้วย) โดย ผศ. ดร. ต่อยศ ปาลเดชพงศ์ กล่าวว่า การออกแบบพื้นที่ด้วยมูลค่าดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียนเอกชนอังกฤษ (British Independent School Curriculum) ที่ประกอบด้วย การทำให้เด็กสามารถค้นพบตัวตนได้ตั้งแต่ยังเล็ก (Self-discovery) และการทำให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) 

ด้วยเหตุนี้ ในอาคารของ DBS จึงสร้างขึ้นตามโจทย์ดังกล่าว โดยภายในอาคารเรียนจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น

  • ห้อง Auditorium ห้องออดิทอเรียมรองรับได้ 665 ที่นั่ง โดยสามารถใช้จัดคอนเสิร์ต, ละครเวที และกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ภายในมีระบบเสียงสั่งตรงจากประเทศฝรั่งเศส เพื่อให้ทุกที่นั่งสามารถได้ยินเสียงจากเวทีได้ไม่แตกต่างกัน และไม่มีการดีเลย์
  • Music Practice Room & Stage ห้องฝึกซ้อมดนตรีสำหรับเด็กนักเรียน
  • House Common Rooms ของบ้านทั้ง 4 ได้แก่ Windsor, Sandringham, Buckingham และ Balmoral (ตั้งชื่อจากพระราชวังอังกฤษ)
  • Sixth Form Center พื้นที่สำหรับฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเองเหมือนกับนักศึกษามหาวิทยาลัย
  • Senior Library (ห้องสมุดสำหรับเด็กมัธยม)
  • IT Suite (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ภายในเป็น iMac ทั้งหมด 30 เครื่อง)
  • โรงอาหาร 

สำหรับสองอาคารใหม่คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้ภายในเดือนสิงหาคม – กันยายน 2022 นี้

dbs denla 3

อาคารเรียนสำหรับมัธยมและห้องออดิทอเรียมที่กำลังก่อสร้าง

ดูแลครูต่างชาติท่ามกลาง Covid-19

ความท้าทายอีกข้อที่สำคัญในยุคที่การแข่งขันของโรงเรียนนานาชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากก็คือเรื่องของบุคลากรครูที่ต้องส่งตรงจากอังกฤษ โดยที่ผ่านมา ตัวเลขอาจารย์จากประเทศอังกฤษของ DBS Denla British School มีจำนวนทั้งสิ้น 70 คน และครูบางคนก็ต่อสัญญากับโรงเรียนมาแล้ว 5  ปี ซึ่งในจุดนี้ ดร.เต็มยศ เผยว่า เป็นเพราะทางโรงเรียนมีการอำนวยความสะดวก และการดูแลครูต่างชาติที่ตรงใจ เช่น มีบริการพาไปต่อใบขับขี่ หรือติดต่อส่วนงานราชการของไทยที่ชาวต่างชาติอาจไม่คุ้นเคย รวมถึงมีห้องพักให้ฟรี โดยสามารถพาครอบครัวมาอาศัยด้วยได้ และคิดค่าใช้จ่ายแค่ค่าน้ำ – ค่าไฟเท่านั้น

อย่างไรก็ดี ในช่วง Covid-19 ที่โรงเรียนไม่สามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาบุคลากรเอาไว้ก็มีมูลค่ามหาศาลเช่นกัน โดย ผศ. ดร. ต่อยศ เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า เหมือนโรงเรียนเป็นทีมฟุตบอลที่มีดาราดังอย่างโรนัลโด แต่ไม่สามารถลงเตะได้

นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังมีการแจกไอแพดให้เด็ก ๆ นำไปใช้เรียนออนไลน์ในระหว่างล็อกดาวน์ด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับเช่นกัน

ปัจจุบัน DBS Denla British School มีนักเรียนประมาณ 500 คน ซึ่งหากอาคารเรียนทั้งสองแห่งสร้างเสร็จ คาดว่าจะสามารถรองรับได้ 1,200 คน คิดเป็นงบลงทุนรวม 1,800 ล้านบาท

ส่วนอีก 2 โรงเรียนในเครืออย่าง โรงเรียนเด่นหล้า พระราม 5 (อนุบาล – ประถม) ปัจจุบันมีนักเรียน 1,600 คน และอนุบาลเด่นหล้า (เพชรเกษม) มีนักเรียน 1,000 คน ทำให้ในภาพรวมแล้ว เครือโรงเรียนเด่นหล้ามีนักเรียนรวมกันทั้งสิ้นกว่า 3,000 คนเลยทีเดียว


แชร์ :

You may also like