HomeCOVID-19หวั่นโอมิครอนระบาด! สธ.ชง ศบค.ยกเลิก Test&Go ให้ผู้เดินทางเข้าไทยทุกรายกักตัว 7-10 วัน

หวั่นโอมิครอนระบาด! สธ.ชง ศบค.ยกเลิก Test&Go ให้ผู้เดินทางเข้าไทยทุกรายกักตัว 7-10 วัน

แชร์ :

bangkok airport covid

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

หลังพบว่ามีผู้เดินทางเข้าประเทศไทยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนแล้ว 63 คน และรอคอนเฟิร์มอีก 20 ราย วันนี้ (20 ธ.ค.) กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าว “สถานการณ์โรคโควิด-19 และโอมิครอน” โดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune


ปัจจุบันทั่วโลกพบผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอนแล้ว 89 ประเทศ อัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า หลายประเทศเริ่มสั่งล็อกดาวน์ช่วงปีใหม่

การแพร่ระบาดโอมิครอนแพร่ได้เร็ว 8.54 เท่า ขณะที่สายพันธุ์อู่ฮั่น อยู่ที่ 2.5 เท่า และเดลต้า อยู่ที่ 6.5 เท่า

โอมิครอนในไทยพบติดเชื้อในประเทศรายแรก

1. พบผู้ติดเชื้อโอมิครอน เพิ่มเร็วขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา สอดคล้องกับสถานการณ์โลก

2. ผู้ติดเชื้อโอมิครอน “ทุกราย” ในไทยเชื่อมโยงกับการเดินทางกลับจากต่างประเทศ และพบผู้ติดเชื้อในประเทศรายแรก แต่เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเดินทางจากต่างประเทศ

3. สัดส่วนผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ตรวจเชื้อด้วย Test&Go, Sandbox และ AQ ที่ติดเชื้อพบเป็นสายพันธุ์โอมิครอนถึง 1 ใน 4 หรือ 25%

4. ผู้เดินทางเข้าไทยที่ตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง และตรวจ RT-PCR อีก 1 ครั้งเมื่อมาถึงประเทศไทย พบว่ามีกรณีที่ผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) แต่อยู่ในระยะฟักตัว (Window Period) ตรวจพบเชื้อหลังจากนั้น

omicron

จากการพบสัดส่วนผู้ติดเชื้อที่เดินทางเข้าประเทศในรูปแบบ Tes&Go เพิ่มขึ้น 2 เท่า (ทุกสายพันธุ์) เทียบระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม รวมทั้งตรวจพบสายพันธุ์โอมิครอน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำข้อเสนอต่อ ศปก.ศบค. พิจารณาชะลอการเดินทางเข้าประเทศในรูปแบบ Test&Go สำหรับผู้เดินทางมาจากทุกประเทศและพิจารณาปรับมาใช้มาตรการกักตัวในระบบ AQ หรือ Sandbox นาน 7-10 วันแทน

ในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) กระทรวงสาธารณสุข วันนี้ คุณอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เป็นห่วงสถานการณ์โอมิครอนและเห็นด้วยว่า Test&Go มีโอกาสที่ผู้ป่วยติดเชื้อจะหลุดจากการตรวจ RT-PCR เพียงครั้งเดียว จึงต้องพิจารณาปรับมาตรการ โดยจะเสนอให้ ศบค.พิจารณาในเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะหากมีผู้ติดเชื้อโอมิครอนหลุดจากการตรวจ RT-PCR มาจำนวนมาก จะเกิดการแพร่ระบาดเป็นคลัสเตอร์ มีความเสี่ยงล็อกดาวน์ จึงต้องตรวจเข้มตั้งแต่ต้นทาง

ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนบูสเตอร์ ยังมีความจำเป็น เพื่อใช้สร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น โดยขอให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมารับวัคซีน รวมทั้งเข็ม 2 ตามกำหนด หลังจากฉีดเข็ม 2 ไปแล้ว 4 เดือน ให้มารับเข็ม 3 ได้ทันที โดยในวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ประเทศไทยฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดสแล้ว

omicron covid

Vaccination 100 m doses


แชร์ :

You may also like