HomeSponsored“คาเฟ่ อเมซอน” ยุทธศาสตร์ Beyond Coffee เมื่อต้องการเป็นมากกว่าร้านกาแฟ..มัดใจผู้บริโภคยุคนี้

“คาเฟ่ อเมซอน” ยุทธศาสตร์ Beyond Coffee เมื่อต้องการเป็นมากกว่าร้านกาแฟ..มัดใจผู้บริโภคยุคนี้

แชร์ :

“กาแฟ” เป็น 1 ใน 3 เครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก และทุกวันนี้วัฒนธรรมการดื่มกาแฟสดในกลุ่มผู้บริโภคไทย พัฒนาอยู่ในขั้น Well-educated คือ มีความสนใจ และศึกษาหาข้อมูลเรื่องราวของกาแฟ ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น ตั้งแต่แหล่งปลูก สายพันธุ์กาแฟ รสชาติเมล็ดกาแฟแต่ละแหล่งปลูก การคั่ว วิธีการชง ไปจนถึงการเปิดรับประสบการณ์การดื่มกาแฟรูปแบบใหม่ ที่บาริสต้ารังสรรค์ขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นี่จึงทำให้การดื่มกาแฟของคนไทยทุกวันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ Refresh หรือดื่มเพื่อสร้างความสดชื่นเท่านั้น แต่ดื่มเพื่อสัมผัสกับคุณภาพ ความพิถีพิถัน และ Story กว่าจะมาเป็นกาแฟแก้วโปรดนั้นๆ

หนึ่งในเชนร้านกาแฟ  ที่ทำให้วัฒนธรรมการดื่มกาแฟสดขยายตัวอย่างรวดเร็วในไทย  คือ  Café Amazon” (คาเฟ่  อเมซอน) ในเครือบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้เดินหน้ายกระดับคุณภาพสินค้าและบริการให้ตอบรับกับพัฒนาการของตลาดกาแฟ และไลฟ์สไตล์ – พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

ถอดความสำเร็จ Café Amazon” แข็งแกร่งด้วยกลยุทธ์ “Beyond Coffee”

จากสาขาแรกที่เปิดให้บริการในปี 2545 ถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่ดำเนินธุรกิจ Café Amazon” เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับตลาดกาแฟไทย พร้อมกับการสร้างวัฒนธรรมการดื่มกาแฟสดในสังคมไทยไปสู่ระดับ Mass Market ด้วยการนำเสนอกาแฟคุณภาพ ในราคาจับต้องได้ (Affordable Price)

หากถอดความสำเร็จของ Café Amazon สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดร้านกาแฟในไทยได้สำเร็จ และขยายธุรกิจออกสู่ตลาดต่างประเทศ หัวใจสำคัญมาจากแนวคิด Beyond Coffee” นั่นคือ สร้างประสบการณ์เหนือระดับให้กับผู้บริโภค ด้วยคุณภาพสินค้าและบริการ เพื่อเป็นมากกว่าร้านกาแฟ และการนำเสนอเครื่องดื่มกาแฟ ซึ่งภายใต้แนวคิดดังกล่าวประกอบด้วย

1. คุณภาพสินค้า เริ่มต้นที่ “แหล่งปลูก” และ “การคัดสรร – การคั่วเมล็ดกาแฟ”

คุณภาพกาแฟ ไม่ได้วัดกันที่การทำออกมาเป็นเครื่องดื่ม แล้วเสิร์ฟให้กับลูกค้า หรือพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟภายในบ้าน (Home Use) หากแต่ต้องลงลึกไปถึงกระบวนการต้นน้ำ และกลางน้ำ นั่นคือ แหล่งปลูกวัตถุดิบ และขั้นตอนการคัดสรร – การคั่วกาแฟ

เมล็ดกาแฟของ Café Amazon รับซื้อมาจากแหล่งปลูกกาแฟในไทยทั่วประเทศ ทั้งอะราบิกาและโรบัสตา แต่มี 2 แห่งที่คาเฟ่ อเมซอน เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน คือ

1.1 โครงการจัดหาเมล็ดกาแฟจากชุมชน (Community Coffee Sourcing : CCS) ที่เป็นโครงการในการเข้าไปช่วยเหลือเกษตกรตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ไปจนถึงรับซื้อเมล็ดกาแฟจากแหล่งนั้นๆ

วัตถุประสงค์ของโครงการจัดหาเมล็ดกาแฟจากชุมชน เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน พัฒนาความรู้และทักษะอาชีพให้ผลิตกาแฟที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้ง เป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟกะลา ทำให้เกษตรกรมีรายได้ และความเป็นอยู่ดีขึ้น จากการรับซื้อในราคาที่เป็นธรรม โดยมีวิสหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงรายเข้าร่วมโครงการกว่า 8 กลุ่ม ซึ่งโครงการ CCS ยังได้รับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริเป็นที่ปรึกษาโครงการอีกด้วย

1.2 โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกและผลิตกาแฟ ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และโครงการซื้อขายเมล็ดกาแฟดิบ เป็นความร่วมมือระหว่าง Café Amazon กับมูลนิธิโครงการหลวง

วัตถุประสงค์เพื่อวิจัยพัฒนา และปรับปรุงสายพันธุ์กาแฟอะราบิกา เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูง เหมาะสมกับการเพาะปลูกและการผลิตของท้องถิ่น ตลอดจนการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการปลูก และการผลิตกาแฟทั้งระบบ เพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ควบคู่กับการพัฒนาการปลูกกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยพัฒนาแปลงสาธิตการปลูกกาแฟ ทั้งในรูปแบบเพื่อการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ไม่เคยปลูกกาแฟมาก่อน และพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟดั้งเดิม

จากการให้ความสำคัญกับแหล่งปลูก และเกษตรกรในชุมชน ซึ่งเป็นต้นน้ำของกาแฟ เชื่อมโยงมาสู่กระบวนการกลางน้ำ คือ การคัดสรรเมล็ดกาแฟ ทั้งอะราบิกา และโรบัสตาที่ถูกส่งมาจากแหล่งปลูกต่างๆ ทั่วประเทศไทย เข้าสู่ขั้นตอนการคั่ว และทดสอบรสชาติ Cupping Test

เมื่อเมล็ดกาแฟถูกส่งเข้ามา จะถูกลำเลียงเข้ากระบวนการทำความสะอาด และคัดแยกสิ่งปลอมปนถึง 5 ขั้นตอน

  • คัดแยกสิ่งปลอมปน ทั้งฝุ่นละเอียด เศษกระดาษ เศษถุงกระสอบ กิ่งไม้ เมล็ดกาแฟไม่สมบูรณ์
  • คัดแยกโลหะ และวัสดุปนเปื้อน
  • คัดแยกเอาหิน กรวดออกทั้งหมด
  • คัดแยกขนาดเมล็ดกาแฟ แบ่งเป็นขนาด S M L และ PEABERY
  • คัดแยกสีเมล็ดกาแฟที่ไม่สม่ำเสมอ

จากนั้นเข้าสู่กระบวนการคั่วกาแฟในแต่ละสูตร โดยมีพนักงานประจำห้องควบคุม สั่งการเครื่องคั่วกาแฟผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หลังจากคั่วเรียบร้อย ทำการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟคั่ว ทั้งความเข้ม ความชื้น และความหนาแน่น แล้วนำไปทดสอบรสชาติผ่านกระบวนการ Cupping Test

เมล็ดกาแฟคั่วที่ผ่านการทดสอบแล้ว จะถูกนำมาบรรจุถุงด้วยระบบปิด พร้อมทั้งพิมพ์วันผลิต วันหมดอายุ เวลาที่บรรจุ และล็อตของบรรจุภัณฑ์ โดยเมล็ดกาแฟบรรจุถุง จะถูกส่งมาชั่งน้ำหนัก และตรวจสอบมาตรฐานในขั้นสุดท้าย ก่อนบรรจุลงกล่อง โดยบนกล่องต้องระบุวันผลิต – วันหมดอายุอีกครั้ง และจัดเก็บด้วยระบบ FIFO (First in First Out) เป็นระบบบริหารสต็อคสินค้าในคลัง ก่อนจะจัดส่งไปยังร้าน Café Amazon ทั่วประเทศ

2. พัฒนาบาริสต้า – สร้างคุณภาพและมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา

อันที่จริงแล้ว ธุรกิจร้านกาแฟ เป็นธุรกิจบริการ ที่ขับเคลื่อนโดย “บุคลากร” ทำหน้าที่สร้างประสบการณ์ที่ดี ผ่านคุณภาพสินค้าและบริการ ยิ่งถ้าเป็นเชนร้านกาแฟด้วยแล้ว โจทย์ใหญ่อยู่ที่การรักษาคุณภาพและมาตรฐานให้เหมือนกันทุกสาขา

ด้วยความที่ Café Amazon เป็นเชนร้านกาแฟที่เปิดสาขาทั่วประเทศ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งผู้บริหารร้าน และบาริสต้า โดยตั้งศูนย์ฝึกอบรม (Training Center) ตั้งอยู่ที่ศูนย์ธุรกิจ Café Amazon Inspiring Campus (AICA) เพื่อฝึกอบรมผู้บริหารร้านทุกสาขาและบาริสต้า ก่อนเปิดให้บริการ ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อรักษามาตรฐานการชง การรักษาความสะอาด มาตรฐานการให้บริการ และกฎระเบียบต่างๆ

รวมถึงมีการจัดการแข่งขัน Café Amazon Barista Championship เพื่อยกระดับและพัฒนาทักษะการเป็นบาริสต้า ให้สามารชงกาแฟ และให้บริการตามมาตรฐานสากล (ปัจจุบันการแข่งขันหยุดดำเนินกิจกรรมชั่วคราวในปี 2563-2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19)

นอกจากนี้ เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐานให้เหมือนกันทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นร้านที่ธุรกิจ Café Amazon ในเครือ OR ลงทุนเอง หรือร้านแฟรนไชส์ จะมีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานของร้านทุกสาขา 1 ครั้งต่อสาขาต่อเดือน โดยมีทั้งแสดงตัวต่อการเข้าตรวจทุกครั้ง และสุ่มตรวจเสมือนลูกค้า

3. “สาขา” Power of Network เข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศ – พัฒนาสินค้าตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

บทบาทของ “ผู้นำตลาด” (Market Leader) คือ Penetration ขยายตลาดให้กว้างออกไป เหมือนเช่น “Café Amazon” ปัจจุบันเป็นอันดับ 1 เชนร้านกาแฟที่มีจำนวนสาขามากสุด เป็นอันดับ 1 ในไทย และอันดับ 6 ของโลก ด้วยจำนวนสาขามากกว่า 3,700 แห่ง ทั้งในไทย และต่างประเทศอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น โอมาน เวียดนาม และจีน โดยกว่า 90% ของจำนวนสาขาทั้งหมดอยู่ในไทย ขยายสาขาทั้งรูปแบบ COCO (Company Owned, Company Operated) และรูปแบบ DODO (Dealer Owned, Dealer Operated) ซึ่งพัฒนาสาขาของ Café Amazon แบ่งเป็น 2 แกนหลักคือ

ขยายสาขาทุก “ทำเล” ที่มีศักยภาพ ทุกวันนี้ Café Amazon เดินหน้าเปิดสาขา ทั้งในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และทำเลต่าง ๆ ครอบคลุมตั้งแต่ย่านที่พักอาศัย – ย่านชุมชน ย่านอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานีรถไฟฟ้า ถนนสายหลัก และสายรอง

พัฒนา “Store Format” ให้มีความหลากหลาย ทั้งโมเดลร้านภายในอาคารสำนักงาน ร้านภายใน Community mall ร้าน Stand Alone ร้าน Concept Store และโมเดล To Go เน้นเปิดบนสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งการมีหลายรูปแบบร้าน ทำให้สามารถนำไป Match เข้ากับทำเลที่จะเปิดสาขา และ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละไลฟ์สไตล์

ขณะเดียวกัน ยิ่งขยายสาขามาก ยิ่งเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า และเป็น Network ทรงพลังในการเข้าถึง และสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าทั่วประเทศ ไม่ว่าจะมาใช้บริการที่ร้าน หรือสั่งผ่านช่องทาง Café Amazon Application” ลูกค้าสั่งเครื่องดื่ม-อาหาร พร้อมชำระเงินผ่านแอปฯ และมารับที่ร้านสาขาที่สะดวก โดยในแอปฯ สามารถสะสมแต้ม และมีส่วนลดโปรโมชั่นต่างๆ

พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงง่ายขึ้น นอกจากการขยายร้านสาขาให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นแล้ว Café Amazon ยังปรับกลยุทธในการเข้าถึงลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์ Home Use ที่กำลังเป็นกระแสหลังจากสถานะการณ์ Covid-19 ที่ส่งผลให้ผู้คนออกจากบ้านน้อยลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ไม่ว่าจะเป็นกาแฟดริป Café Amazon Drip Coffee ที่ปล่อยออกมาหลากหลายรสชาติจนแทบเป็นเจ้าตลาดในวงการดริปแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์น้องใหม่ที่เพิ่งออกเมื่อกลางปีที่ผ่านมาอย่าง Café Aamazon Cold Brew กาแฟสกัดเย็น ที่ออกมาตอบโจทย์คนดื่มกาแฟเย็นที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทย

4. นโยบาย “Go Green” สร้างสังคม “Circular Living”

อีกหนึ่งจิ๊กซอว์แนวคิด Beyond Coffee คือ การใส่ใจและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในทุกกระบวนการธุรกิจของ Café Amazon ทั้งต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

นับตั้งแต่การรับซื้อเมล็ดกาแฟจากแหล่งปลูกคุณภาพ ภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และโมเดลสาขา ถูกคิดค้นและออกแบบให้ตอบโจทย์ระบบ Circular Economy” หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านการสร้างโมเดลต้นแบบร้าน Café Amazon “Circular Living” ประกอบด้วย 5Rs คือ Reduce (ลดการใช้) Reuse (การใช้ซ้ำ) Recycle (การแปรรูปมาใช้ใหม่) Refuse (ปฏิเสธการใช้) และ Renewable (การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน) เช่น

  • แก้วพลาสติก PET ที่ใช้แล้วนำไป Upcycling ผลิตเป็นชุดพนักงาน ผ้ากันเปื้อน ชุดโซฟาในร้าน แก้วพลาสติก Tumbler
  • แก้วร้อน Bio-cup ทุกสาขา สามารถย่อยสลายได้ 100% โดยการใช้ Amazon Bio Cup จะสามารถช่วยลดขยะพลาสติกได้กว่า 146 ตันต่อปี
  • เยื่อกาแฟนำไปผลิตเป็นโต๊ะที่ใช้ในร้าน
  • ถาดพลาสติกนำไป Upcycling เป็นฝ้าเพดานภายในร้าน
  • ถุง Foil ใส่กาแฟกว่า 2,000 กิโลกรัม นำมาทำเป็นผนัง Ecoboard ตกแต่งร้าน และ สินค้าพรีเมียมที่ขายในร้าน

โดยปัจจุบันมีร้าน Café Amazon รูปแบบ “Circular Living” อยู่ทั้งหมด 3 สาขา คือ สาขาสถานีบริการน้ำมันสามย่าน สาขาจุฬาซอย 5 และ สาขา Concept Store พหลโยธิน กม.56 เป็นการนำร่องให้สาขาอื่นๆหันมาใช้วัสดุ Upcycling เพื่อสร้างสังคมแบบ Circular Living วัสดุ อุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ภายในร้าน ล้วนแล้วมาจาก “ขยะ” แล้วนำมาเข้าสู่กระบวนการ Upcycling ได้ออกมาเป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปเพื่อสร้างของใช้ใหม่ เช่น

  • Upcycling Decorative Wall ผนังตกแต่งร้านรูปนกมาคอร์ ทำจากแก้วกาแฟพลาสติก PolyPropylene (PP) กว่า 5,000 ใบ
  • Upcycling โต๊ะ ชั้นวางของ และตู้ จากเยื่อกาแฟที่เป็นของเสียจากโรงคั่วกาแฟ Café Amazon

  • Upcycling Vertical Garden ผนังสวนแนวตั้ง กระถางต้นไม้ทำมาจากแกลลอนนมพลาสติกที่ใช้ในร้านกว่า 6,300 ขวด
  • Eco-Board ทำมาจากถุงบรรจุเมล็ดกาแฟใช้แล้วกว่า 7,200 ถุง
  • Upcycling Ceiling เพดานร้านทำมาจากถาดพลาสติกชนิด Polystylene ที่ใช้ในร้านกว่า 75,000 ชิ้น
  • Upcycling เก้าอี้ และโซฟา จากขยะขวดน้ำดื่ม PET จำนวน 1,200 ขวด (ปัจจุบันร้าน Café Amazon สาขาอื่นๆ ได้มีการสั่งวัสดุตกแต่งประเภทนี้ไปใช้ในร้านมากขึ้น ตอกย้ำแนวคิด Circular Living ได้อย่างเป็นรูปธรรม)

5. ชุมชน – สังคม

นอกจากด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ในนิยามของ Beyond Coffee ที่มุ่งสร้างประสบการณ์ให้เป็นมากกว่าร้านกาแฟ ยังหมายความรวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การทำโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) ด้วยการเปิดร้าน “Café Amazon for chance” สาขาแรกในปี 2560 สร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ในสังคม เช่น ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเรียนรู้ ผู้สูงอายุ ผู้พิการทหารผ่านศึกและครอบครัว ได้มีอาชีพ มีรายได้ และมีความรู้ในการประกอบธุรกิจ ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 11 สาขา

ไม่เพียงเท่านี้ Café Amazon ยังเติมเต็มความครบวงจรของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในร้าน ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ขนมมาจัดจำหน่าย ทั้งภายใต้แบรนด์ Café Amazon และผลิตภัณฑ์ สินค้าจากชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกร ทั้งยังมีขนมจากโครงการไทยเด็ด ซึ่งเป็นโครงการจาก OR ที่คัดสรรขนมจากธุรกิจ SMEs ของแต่ละชุมชน มาวางจำหน่ายที่ร้าน ซึ่งหลายสินค้าท้องถิ่นได้การตอบรับดีจากลูกค้า

คว้ารางวัลแบรนด์แห่งปีจาก “World Branding Awards”

ผลจากการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจในคุณภาพและมาตรฐานตลอดทั้งต้นน้ำ – กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำส่งมอบสินค้าและประสบการณ์สู่ผู้บริโภค บนความเชื่อที่ว่า “กาแฟเป็นมากกว่าเครื่องดื่ม แต่เป็นพลังที่เติมต็มให้ทุกชีวิต ด้วยคุณภาพทุกด้าน” ทำให้ Café Amazon กลายเป็นแบรนด์ครองใจคนไทย

สิ่งที่ยืนยันความเป็นอันดับ 1 ร้านกาแฟในไทยคือ ล่าสุดได้รับรางวัล “World Branding Awards” ในฐานะแบรนด์แห่งปี (Brand of the Year : National Tier 2020-2021) ในหมวดธุรกิจกาแฟ (Retailer-Coffee Category) รางวัลนี้ เป็นรางวัลที่มอบให้กับแบรนด์ชั้นนำจากทั่วโลก มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ World Branding Forum เป็นผู้ตัดสิน ด้วยหลักเกณฑ์ 3 ด้านคือ การประเมินคุณค่าของแบรนด์ (Brand Valuation) การได้รับการยอมรับจากสาธารณชนผ่านระบบออนไลน์ (Public Online Voting) และผลการวิจัยผู้บริโภคในตลาดนั้น ๆ (Consumer Market Research) ซึ่งผลการประเมินพบว่า Café Amazon ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ตั้งเป้า 4,000 สาขาปี 2565 ตอกย้ำอันดับ 1 เชนร้านกาแฟในไทย

ในปี 2565 เส้นทางของ “Café Amazon” จะมีหลักไมล์ที่ 20 ปีเต็ม ถ้าเทียบเป็นคนๆ หนึ่ง ก็ถือเป็นวัยหนุ่มสาวที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งความมุ่งมั่น ดังนั้น Next Step ในปีหน้า Café Amazon ยังคงเดินหน้าสานต่อแนวคิด Beyond Coffee” ทั้ง 5 ด้านหลักตลอดทั้ง Value Chain ไม่ว่าจะเป็นการรักษาคุณภาพและมาตรฐาน ตั้งแต่วัตถุดิบ ทั้งสายพันธุ์อะราบิกา และโรบัสตา เพื่อส่งมอบสินค้า และประสบการณ์ที่เป็นมากกว่ากาแฟให้กับลูกค้า

รวมทั้งเดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภค โดยตั้งเป้าสาขา 4,000 สาขาทั้งในไทย และต่างประเทศ

ที่สำคัญเพราะความยั่งยืนของธุรกิจ ไม่ใช่มาจากการเติบโตขององค์กร และแบรนด์เพียงอย่างเดียว ดังนั้น Café Amazon จึงสร้างการเติบโตเคียงคู่กับคู่ค้า ทั้งแฟรนไชส์ซี และพันธมิตรธุรกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมต้องเดินไปด้วยกัน

ในโอกาสครบรอบ 20 ปีในปี 2565 “Café Amazon” เตรียมเปิดตัวโปรเจคใหม่เด็ดๆ อีกเพียบ รับรองได้ว่าถูกใจคอกาแฟ และแฟนคลับ Café Amazon อย่างแน่นอน!

และถ้าอยากรู้ว่า Café Amazon ใส่ใจเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานคุณภาพสินค้าและการบริการแค่ไหน ไปชมคลิปได้ตามด้านล่างนี้เลย…


แชร์ :

You may also like