HomeBrand Move !!ไม่ใช่แค่ร้านอาหารเกาหลี! “Red Sun” ขยับสู่การเป็น “Community Brand” กลยุทธ์ชนะใจแฟนด้อมเกาหลี

ไม่ใช่แค่ร้านอาหารเกาหลี! “Red Sun” ขยับสู่การเป็น “Community Brand” กลยุทธ์ชนะใจแฟนด้อมเกาหลี

แชร์ :

Red Sun Thailand Food

ทุกวันนี้ Korean Wave ไม่ได้เป็นเพียงแค่เทรนด์ที่มาแล้วก็ไป แต่ได้กลายเป็น Mainstream ที่อยู่กับคนไทย – สังคมไทยไปแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นแฟนคลับของศิลปินนักร้อง ไอดอล นักแสดงเกาหลี หรือที่เรียกว่า “แฟนด้อม” (Fandom ย่อมาจาก Fanclub + Kingdom) ของดารานักร้องคนนั้นๆ หรือวงนั้นๆ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หนึ่งใน K-Wave ที่เป็นกระแสหลักไปแล้วในไทย คือ “อาหารเกาหลี” ซึ่งมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ไก่ทอดสไตล์เกาหลี รามยอน ต๊อกบ๊กกี จาจังมยอน จัมปง จับแช บิบิมบับ คิมบับ ปิ้งย่างเกาหลี ซุนแด หรือไส้กรอกเลือด โดยมีกิมจิเป็นเครื่องเคียง หรือบางเมนูเสิร์ฟพร้อมกับไชเท้าดอง และเมนูอื่นอีกมากมาย

ด้วยความที่อาหารเกาหลีมีหลากหลายประเภท จึงทำให้ยังมี “โอกาสทางการตลาด” อีกมากที่จะปักธงเป็นผู้นำในร้านอาหารแขนงต่างๆ นี่จึงทำให้ Red Sun(เรดซัน) ร้านอาหารเกาหลีในไทยที่มีเมนูเด่นหม้อไฟต๊อกบ๊กกี ข้าวผัดเกาหลี และไก่ทอด หลังจากเข้ามาอยู่ในเครือ Food Passion” (ฟู้ดแพชชั่น) ได้จัดทัพโครงสร้างการบริหารงานใหม่ ภายใต้โมเดล Synergy Share Service

พร้อมทั้งเตรียมขยับสู่การเป็น Community Brand ของวัยรุ่นไทย เพื่อเป็นมากกว่าร้านอาหารเกาหลี และสร้างความแตกต่างในตลาดร้านอาหารเกาหลีที่มีการแข่งขันสูง

Red Sun Thailand Food

 

K-FoodSoft Power ทรงพลังสร้างวัฒนธรรมอาหารเกาหลีสู่ระดับโลก

ก่อนจะไปเจาะลึกกลยุทธ์ของRed Sun Brand Buffet อยากฉายภาพให้เห็นถึงอิทธิพลของK-Waveเป็นSoft Powerทรงพลังอันเกิดจากภาครัฐ และภาคเอกชนผนึกกำลัง เพื่อสร้างคลื่นปรากฏการณ์วัฒนธรรมเกาหลีให้เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก ผ่าน 4 เสาหลักคือ

K-Content หรือ K-Entertainment ประกอบด้วย K-Pop, K-Series, K-Movie, K-Variety Show, K-Comic, K-Animation

 K-Beauty ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และความงามแบรนด์เกาหลีต่างๆ

K-Food มีทั้งอาหาร ผลไม้ – เครื่องดื่มประจำชาติดั้งเดิมของชาวเกาหลี และเมนูอาหารครีเอทใหม่ ที่หลายเมนูสามารถแพร่หลายในประเทศอื่นด้วยเช่นกัน

K-Goods สินค้าต่างๆ แบรนด์เกาหลี

เมื่อเจาะในหมวดของ “K-Food” จะเห็นได้ว่าเกาหลีถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารการกินออกสู่ระดับโลก ผ่านการนำเสนอในซีรีส์ ภาพยนตร์ และรายการวาไรตี้

กระแส K-Food ในไทย ถูกพูดถึงกันอย่างมากเมื่อครั้งซีรีส์แดจังกึมออกอากาศเมื่อ 16 ปีที่แล้ว และในปัจจุบันนอกจากซีรีส์ ภาพยนตร์ รายการวาไรตี้แล้ว “วัฒนธรรมอาหารเกาหลี” ยังถูกนำเสนอเป็นคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ เช่น สารคดี วิดีโอรีวิว ฉายบนแพลตฟอร์ม OTT ที่มีผู้ชมทั่วโลก เช่น สารคดี Korean Pork Belly Rhapsody ว่าด้วยเรื่องราวของ “หมูสามชั้น” สร้างชาติเกาหลี และ Korean Cold Noodle Rhapsody เรื่องราวเกี่ยวกับบะหมี่เย็นเกาหลี “แนงมยอน” ทาง Netflix หรือวิดีโอรีวิวอาหารเกาหลีในช่อง YouTube ต่างๆ

ด้วยการครีเอทคอนเทนต์หลากหลาย โดยมีทั้งคอนเทนต์นำเสนออาหารเกาหลีโดยเฉพาะ และคอนเทนต์ที่มีอาหารเกาหลีแทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง

ประกอบกับช่องทางสื่อที่มากขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ YouTube และแพลตฟอร์ม Video Streaming ยิ่งผลักดันให้ “K-Food” เป็นอีกหนึ่ง Soft Power ทรงพลังระดับโลก

และ Soft Power นี้ก็เข้ามาในไทยเช่นกัน…

Red Sun Thailand Food

 

โมเดล “Synergy Share Service” ผนึกกำลัง Food Passion เพิ่มประสิทธิภาพ – สร้างความแข็งแกร่ง

หลังจาก Food Passion ควบรวมกิจการกับ Red Sun ประเทศไทย” ภายใต้การบริหารของ “บริษัท ฟู้ดซัน จำกัด” ซึ่งได้แฟรสไชส์จาก Red Sun ประเทศเกาหลี มาทำตลาดในไทย ได้มีการปรับวิธีการทำงานภายในของ Red Sun โดยใช้หลักการบริหารงานในแบบ Synergy Share Service Model ใน 4 แกนหลัก เพื่อให้เกิดทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เติบโตขึ้น คือ

  • แกนแรก: จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร อาทิ การพัฒนาศักยภาพพนักงาน และการปฏิบัติงาน
  • แกนที่สอง: เสริมแกร่งระบบ Supply Chain การวางวงจร และระบบภายใน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งการเลือกวัตถุดิบ – การจัดซื้อวัตถุดิบทำให้ได้ Volume มากกว่า ในราคาถูกกว่า การขนส่ง และเก็บรักษาจากโรงงานสู่หน้าร้าน อย่างในเดือนพฤศจิกายนนี้ เตรียมย้ายโรงงาน Red Sun มาอยู่โรงงานเดียวกับ Food Passion ที่นวนคร
  • แกนที่สาม: ยกระดับคุณภาพ QSC มาตรฐานคุณภาพ และความสะอาด
  • แกนที่สี่: เพิ่มความแข็งแกร่งด้านการตลาดแบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันได้ทีมการตลาดจาก Food Passion มาบริหารงานอย่างเต็มรูปแบบ

Red Sun Thailand

ปัจจุบันมี 15 สาขา และภายในไตรมาส 4 ปี 2564 เตรียมเปิดอีก 1 สาขา

ขณะที่ยอดขายปีนี้ คาดการณ์ว่า จะอยู่ที่ 100 กว่าล้านบาท ลดลงจากปี 2563 มียอดขาย 179 ล้านบาท เนื่องจากเจอมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ต้องปิดร้านชั่วคราว 3 เดือน ส่งผลให้ยอดขายในส่วน Dine-in ซึ่งเป็นยอดขายหลักของ Red Sun

“สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เราวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ที่ผ่านมายอดขายเราตกลง 3% เราพยายามปรับตัว และทำตัวให้ยืดหยุ่นที่สุด ขณะเดียวกันทีม Red Sun และ Food Passion ร่วมกันวางแผนธุรกิจ โดยคาดการณ์ว่าจะสร้างยอดขายในไตรมาส 4 กว่า 70 ล้านบาท” คุณนพวินท์ รอดริน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดซัน จำกัด เล่าถึงเป้าหมายอดขายไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

Red Sun Thailand

 

4 กลยุทธ์ปั้น Red Sun เป็น “Community Brand” ของวัยรุ่นไทย

มีการคาดกาณ์ว่ามูลค่าตลาดร้านอาหารเกาหลีในไทยปี 2564 อยู่ที่ 1,850 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 ที่มีมูลค่าตลาดรวม 2,000 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารโดยรวม

การแข่งขันร้านอาหารเกาหลีในไทย ปัจจุบันมีหลายประเภทอาหาร แต่จะมี 4 กลุ่มหลักคือ

  1. ไก่ทอด ซึ่งมีแบรนด์ที่ครองตลาดนี้ไปแล้ว
  2. ปิ้งย่าง มีหลายแบรนด์​ แต่ยังไม่มีใครเป็นผู้นำตลาดชัดเจน
  3. หม้อไฟต๊อกบ๊กกี ยังไม่มีใครเป็นผู้นำตลาดชัดเจน
  4. ของหวาน

สำหรับ “Red Sun” จุดแข็งอยู่ที่หม้อไฟต๊อกบ๊กกี และข้าวผัดสไตล์เกาหลี แต่ที่ผ่านมามีการทำแบรนด์ดิ้ง และการตลาดไม่มากนัก เพราะฉะนั้นเพื่อสร้างการรับรู้ การจดจำ ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น มาเป็นลูกค้า และกลายเป็น Brand Love ในที่สุด หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การทำแบรนด์ดิ้ง และการตลาด เพื่อปั้น Ren Sun ให้เป็นมากกว่าร้านอาหารเกาหลี แต่คือ Community Brand ของวัยรุ่นไทย

Red Sun Thailand Food

คุณบุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่น อธิบายว่า วิธีการทำงานรูปแบบ Shard Service Model ถือเป็นการรวม Red Sun เข้ากับ Food Passion อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเรามองเห็นโอกาสทางการตลาดจากเทรนด์เกาหลีฟีเวอร์ที่กำลังเป็นกระแส

Food Passion จึงวางกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก เดินหน้าบุกร้านอาหารเกาหลี เจาะกลุ่มลูกค้าช่วงอายุระหว่าง 18 – 25 ปี เพื่อให้ Red Sun เป็นแบรนด์ยืนหนึ่งในหัวใจวัยรุ่นไทย ให้ทุกคนได้ปล่อยแสงในตัวเอง โดยสร้างความเชื่อในแบบเรดซัน ได้แก่ 

“เชื่อ” การแสดงพลังของพระอาทิตย์ ส่งต่อไปยังวัยรุ่นไทย ให้ทุกคนมีพลังและแสงสว่างของตัวเอง

“คิด” สร้างพื้นที่ หรือเวทีในการแสดงตัวตนให้กับเหล่าชาวด้อม

“ทำ” การเตรียมตัวสู่การเข้าเป็น Community Brand ของวัยรุ่นไทย

Red Sun Thailand

สำหรับเข้าถึง – เข้าใจ และเข้าหาวัยรุ่นไทย ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์คือ

  1. สร้าง Brand Love ให้เป็นแฟนพันธ์แท้ของ Red Sun โดยวัดจากกิจกรรมที่ผู้บริโภคเข้ามา Engage ในช่องทางต่างๆ ของแบรนด์
  2. เพิ่มยอดขายอย่างรวดเร็ว ด้วยโปรโมชั่นโดนใจวัยรุ่น

อย่างล่าสุดเปิดตัวบุฟเฟต์เกาหลี “Red Sun Buffet Fan Meet” ที่มีให้เลือก 3 แบบคือ

– แฟนเมด สายหมู สู้ไม่ถอย 339+ บาท

– แฟนด้อม สายชิคชีทมีทไก่ 469+ บาท

– แฟนไซน์ สายซีฟู้ดคู่สายดอง 599+ บาท

  1. Create Store For Me สร้างร้านที่เป็นมากกว่าร้าน ให้เป็นพื้นที่ หรือจุดรวมพลของผู้ที่ชื่นชอบอาหาร และรักในวัฒนธรรมเกาหลี
  2. เสริมความแข็งแกร่งด้วยการเข้าใจวัยรุ่น ผ่านการให้บริการจากพนักงาน

Red Sun Thailand Food

“บริษัทใหญ่ จะมีหนึ่งแบรนด์ที่แข็งแรง ปัจจุบันรายได้ของ Food Passion 70% มาจากบาร์บีคิว พลาซ่า และอีก 30% มาจากร้านอาหารในเครือแบรนด์อื่น แต่เราเชื่อว่า Red Sun เป็นพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ของบริษัทฯ เพื่อลุยตลาดอาหารเกาหลี ซึ่งเป็นแบรนด์ที่วางตำแหน่งแบรนด์ และกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าวัยรุ่น ที่ชื่นชอบอาหารเกาหลี ขณะเดียวกันเราสร้างฐานลูกค้ากลุ่มคนทำงาน และครอบครัวด้วยเช่นกัน

โดยกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการดึงแบรนด์ Red Sun ออกมาให้โดดเด่นในสนามรบ” คุณบุณย์ญานุช สรุปทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like