HomeDigitalAIS เปิดภาพธุรกิจไทยปรับตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก พร้อมแนะ 10 เทคโนโลยีใหม่ต้องใช้ให้เป็น

AIS เปิดภาพธุรกิจไทยปรับตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก พร้อมแนะ 10 เทคโนโลยีใหม่ต้องใช้ให้เป็น

แชร์ :

shutterstock_economic sme covid business

ภาพการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยเป็นสิ่งที่ได้รับการพูดถึงค่อนข้างมากในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 และหนึ่งในธุรกิจที่มองเห็นภาพรวมการปรับตัวดังกล่าวก็คือ “ธุรกิจโทรคมนาคม” เนื่องจากบริษัททั้งเล็ก – ใหญ่ต่างต้องการเข้าถึงการสื่อสาร – เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกดิจิทัล เพื่อใช้เป็นช่องทางสร้างรายได้ท่ามกลางการล่มสลายของช่องทางแบบดั้งเดิม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นั่นจึงไม่แปลกที่เอไอเอสจะมีภาพที่ชัดเจนถึงการปรับตัวขององค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทยว่ากำลังเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งสิ่งที่เอไอเอสพบและมีการเปิดเผยผ่านงานสัมมนาออนไลน์ AIS Business Digital Future 2021  ก็คือ

  • 38.6% หันมาสร้างช่องทางการขายออนไลน์
  • 79.3% สามารถรับชำระเงินทางออนไลน์

ขณะที่ ธุรกิจ SME เอไอเอสก็พบว่ามีการปรับตัวอย่างชัดเจนใน 4 ด้านคือ

  • เพิ่มการส่งเสริมการขายในตลาดออนไลน์
  • เพิ่มนวัตกรรมในองค์กร
  • เพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
  • นำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน

คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยสะท้อนว่า ปี 2020 คือปีแห่งการรับมือในภาวะฉุกเฉินและเรียนรู้เพื่อพร้อมสู่การปรับตัว ขณะที่สถานการณ์ในปัจจุบันจนถึงจบไตรมาสแรกของปี 2021 ได้ยืนยันแล้วว่า โควิด-19 กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยไปแล้ว หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น NOW NORMAL ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้โลก Online และ Digital กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย แบบแยกจากกันไม่ได้อีกต่อไป

คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business

คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business

“เอไอเอสพบว่ามีองค์กรธุรกิจจำนวนไม่น้อยต่างยกระดับจาก Physical สู่ Digital และมีการทรานสฟอร์มกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนให้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนมากขึ้น รวมถึงสร้าง New Business Model เพื่อตอบสนอง Lifestyle แบบ Work From Home เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนต่อได้โดยไม่สะดุด แม้จะอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19″

อย่างไรก็ดี คุณธนพงษ์ได้ยกผลการสำรวจของ Deloitte ที่พบว่า การทรานสฟอร์มองค์กรไปสู่ดิจิทัลของไทยเมื่อเทียบกับทั่วโลกแล้วก็พบว่ามีอีกหลายส่วนที่ยังก้าวไม่ทันประเทศอื่น ๆ

ais business

ขอบคุณภาพจากงานสัมมนา AIS Business Digital Future 2021

จากภาพดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการสำรวจของ Deloitte ได้แบ่งภาคธุรกิจที่ทรานสฟอร์มองค์กรไปสู่ดิจิทัลไว้ 5 ระดับ ประกอบด้วย

  • Digital Laggard เป็นกลุ่มที่ปรับตัวช้าที่สุด หรือยังไม่มีแผนจะปรับตัวเลย ซึ่งประเทศไทยมีภาคธุรกิจในกลุ่มนี้อยู่ราว 5% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 9%
  • Digital Follower หรือกลุ่มที่เริ่มมีการวางแผน – ลงทุนเพื่ออนาคตที่ต้องอยู่บนดิจิทัลบ้างแล้ว โดยประเทศไทยมีธุรกิจกลุ่มนี้ 10%
  • Digital Evaluator เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการวางแผน ลงทุน และปรับตัวอย่างจริงจัง ซึ่งทั่วโลกพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 59% ขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 33% เท่านั้น
  • Digital Adopter เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการวางแผนการลงทุน – ทรานสฟอร์มตัวเองที่ชัดเจน
  • Digital Leader หรือกลุ่มธุรกิจที่มีดิจิทัลอยู่ในสายเลือดไปแล้วเรียบร้อย (อาจเรียกธุรกิจกลุ่มนี้ว่าทรานสฟอร์มตัวเองสำเร็จแล้วก็ได้) โดยระดับโลกกับประเทศไทยถือว่าไม่ทิ้งห่างกันมาก เพราะมีเพียง 5% กับ 3% เท่านั้น

โฟกัสที่กลุ่ม Digital Evaluator

“จุดที่น่าสังเกตของประเทศไทยคือ กลุ่ม Digital Adopter และ Digital Leader นั้นยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก สิ่งที่เอไอเอสมองคือทำอย่างไรถึงจะเพิ่ม Digital Adopter และ Digital Leader ขึ้นได้ รวมถึงคนส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ตรงกลาง นั่นคือ Digital Evaluator เราพบว่าคนกลุ่มนี้กล้า ๆ กลัว ๆ ว่าจะทำอย่างไรดี นี่คือคนกลุ่มหลักที่เราจะโฟกัส เพื่อให้เขาก้าวไปเป็น Digital Adopter และ Digital Leader ต่อไป” คุณธนพงษ์กล่าว

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมต้องโฟกัสที่ธุรกิจเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากผลการศึกษาของ Accenture เมื่อเดือนมกราม 2021 ที่พบว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจในกลุ่ม Digital Leaders นั้นเร็วกว่ากลุ่ม Digital Laggards ถึง 5 เท่า (ข้อมูลในช่วงปี 2018 – 2021) ซึ่งเป็นตัวเลขการเติบโตที่ประเทศไทยในปัจจุบันน่าจะต้องการอย่างมากเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าได้หลังจากติดลบมาตลอดปี 2020

ais business

ขอบคุณภาพจากงานสัมมนา AIS Business Digital Future 2021

10 เทคโนโลยีที่ธุรกิจไทยต้องใช้เป็น

นอกจากนั้น เพื่อให้การทรานสฟอร์มเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ คุณธนพงษ์ยังมองว่า มีเรื่องของเทคโนโลยีที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมด้วยอีก 10 เทคโนโลยี ได้แก่

  1. 5G
  2. IoT
  3. Cloud&EDGE Computing
  4. Extended Reality
  5. AI/Machine Learning
  6. Robotics
  7. Big Data & Analytics
  8. Cyber Security
  9. Robotic Process Automation
  10. Blockchain

แน่นอนว่า สำหรับเทคโนโลยีที่กล่าวมานั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำเพียงลำพัง คุณธนพงษ์จึงได้ฝากทิ้งท้ายถึงกระบวนการปรับตัวของภาคธุรกิจที่ควรประกอบด้วยหลัก 4 รู้ ได้แก่ รู้ตนเอง รู้ลูกค้า รู้เทคโนโลยี และรู้ partner 

รู้ตนเอง คือ รู้เป้าหมายที่จะไป หรือรู้ว่าปัญหาที่ประสบอยู่คืออะไร รวมถึงรู้ความสามารถขององค์กร และบุคลากรว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างไร รู้ลูกค้า คือ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร หรือประสบปัญหาอะไร เราจะไป capture value เหล่านั้นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร รู้เทคโนโลยี คือ รู้ว่าเทคโนโลยีจะไปตอบโจทย์จากการรู้ตนเองและรู้ลูกค้าได้อย่างไร เลือกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น”

“สุดท้ายคือรู้ partner ว่า partner รายใดที่น่าจะช่วยนำเทคโนโลยีกับความเชี่ยวชาญทางธุรกิจมาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่ง partner นั้นต้องไว้ใจได้ เพราะมีประสบการณ์ มีความสามารถที่จะร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จ”  


แชร์ :

You may also like