HomeBrand Move !!“โซลาร์เซลล์บนฟาร์มปลา-เหมืองแร่-รถEV” 3 ธุรกิจใหม่หัวเว่ยที่สหรัฐฯ เข้ามายุ่งไม่ได้

“โซลาร์เซลล์บนฟาร์มปลา-เหมืองแร่-รถEV” 3 ธุรกิจใหม่หัวเว่ยที่สหรัฐฯ เข้ามายุ่งไม่ได้

แชร์ :

huawei logo หัวเว่ย โลโก้

ไม่ใช่ไม่สู้ต่อในธุรกิจสมาร์ทโฟน แต่ดูเหมือนว่าเวลานี้ หัวเว่ย (Huawei) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากเมืองจีนจะต้องมองหาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อให้แบรนด์และพนักงานอีก 190,000 ชีวิตยังคงเติบโตต่อไปได้ ซึ่งลูกค้ารายล่าสุดของหัวเว่ยในตอนนี้อาจเป็น “ฟาร์มปลา” ที่มีฐานที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนอย่างมณฑลชานซีนั่นเอง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับฟาร์มปลาแห่งนี้ต้องบอกว่ามีขนาดใหญ่มหึมา โดยด้านบนของอาคารติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์หลายหมื่นแผ่นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากหัวเว่ย พร้อม ๆ กับเป็นโล่กำบังปลาไม่ให้ถูกแสงแดดแผดเผาด้วย แต่ธุรกิจใหม่ของหัวเว่ยไม่ได้จบแค่แผงโซลาร์เซลล์สำหรับฟาร์มปลา เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าในมณฑลชานซีเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการทำเหมืองแร่กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และนั่นก็คือธุรกิจใหม่ของหัวเว่ยเช่นกัน โดยเทคโนโลยีที่หัวเว่ยนำมาใช้เพื่อธุรกิจเหมืองแร่คือการฝังเซนเซอร์ไร้สายและกล้องลงไปใต้ดินสำหรับมอนิเตอร์ระดับออกซิเจนและโอกาสในการเกิดความผิดปกติของเครื่องจักรที่ใต้เหมืองเพื่อความปลอดภัยของนักขุด

ไม่ว้าวแต่ปลอดภัย

แม้จะดูไม่ว้าวในสายตาบริษัทเทคโนโลยี แต่การรุกไปทำธุรกิจเกษตรและเหมืองแร่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการขึ้นบัญชีดำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา เหตุที่กล่าวเช่นนั้นเพราะอุปกรณ์ระดับแอดวานซ์ที่สุดที่หัวเว่ยต้องใช้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนฟาร์มปลา ก็เป็นอุปกรณ์ที่จีนสามารถผลิตเองได้ เช่นเดียวกับเหมืองแร่ที่ใช้เทคโนโลยีของจีนได้เช่นกัน

อีกหนึ่งธุรกิจที่หัวเว่ยกำลังก้าวเข้าไปก็คือรถยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัทบอกว่าไม่มีแผนจะผลิตรถยนต์ในแบรนด์ของตัวเอง แต่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับแบรนด์ต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีเซนเซอร์เช่น Lidar และจะมีการโชว์ความสามารถของเทคโนโลยีเหล่านี้ในงานมหกรรมรถยนต์ครั้งใหญ่ของจีนที่จะจัดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ด้วย

Ren Zhengfei ผู้ก่อตั้งหัวเว่ยกล่าวว่า ธุรกิจใหม่เหล่านี้คาดว่าจะเข้ามาช่วยสร้างการเติบโตแทนที่ธุรกิจสมาร์ทโฟนที่มียอดขายลดลง (ไตรมาส 4 ของปี 2020 มีรายงานว่ายอดขายสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยลดลงถึง 42%) แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องระยะเวลาว่าจะมาแทนที่ได้เมื่อใด โดยบอกแต่เพียงว่า รายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของหัวเว่ยที่มาจากฝั่งคอนซูเมอร์ของหัวเว่ยอยู่ที่ 256,000 ล้านหยวน ซึ่งมากกว่าครึ่งของรายได้ทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายธุรกิจที่หัวเว่ยสามารถนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีของตัวเองลงไปช่วยได้ เช่น การประยุกต์ใช้ 5G ในระดับประเทศด้วยการติดตั้งสถานีฐานกว่า 360,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งความพร้อมดังกล่าวจะทำให้โรงงานต่าง ๆ ในจีนกลายร่างเป็นโรงงานอัจฉริยะที่สามารถผลิตสินค้าได้แบบอัตโนมัติ (เป็นโปรเจ็คที่มี Xiaomi และ Alibaba ร่วมมือด้วย โดยเป้าหมายของการสร้างสถานีฐานคือ 720,000 แห่ง และหัวเว่ยมีส่วนร่วมสร้างสถานีฐานในโปรเจ็คนี้เกินครึ่ง)

ความน่าสนใจของการเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นเรื่องที่ว่าหัวเว่ยกำลังจะทรานสฟอร์มธุรกิจของตัวเองอีกครั้งโดยมีเทคโนโลยี 5G เป็นตัวช่วย อีกทั้งเมื่อมองไปทางตลาดสมาร์ทโฟนก็ต้องบอกว่า นาทีนี้ตลาดสมาร์ทโฟนอาจไม่ใช่พื้นที่ที่ดึงดูดใจอีกต่อไปแล้วจริง ๆ การรุกออกมาหาพื้นที่ใหม่ ๆ อย่างที่หัวเว่ยทำ อาจเป็นทางเลือกทางรอดที่ดีกว่าก็เป็นได้

Source


แชร์ :

You may also like