HomeBrand Move !!10 เรื่องน่ารู้ “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม” สาขาแรกในไทยที่ขายแอลกอฮอล์ และใหญ่สุด

10 เรื่องน่ารู้ “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม” สาขาแรกในไทยที่ขายแอลกอฮอล์ และใหญ่สุด

แชร์ :

 

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ซับซ้อนขึ้น และแสวงหาประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ เป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ “สตาร์บัคส์” (Starbucks) ต้องนำเสนอประสบการณ์ Third Place รูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเข้าไปอยู่ในทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคทุกกลุ่ม

ดังเช่นการเปิดสาขาล่าสุดที่ใช้ชื่อว่า “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์” (Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront) ที่ไอคอนสยาม จะเปิดให้บริการวันแรก 12 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งความพิเศษของสาขานี้ เป็นทั้งสาขาใหญ่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้ ทั้งยังส่งมอบประสบการณ์เสิร์ฟกาแฟ วิวริมแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นครั้งแรกของ Starbucks ประเทศไทยที่นำ “Mixologist Bar” เป็นบาร์ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รูปแบบ Cocktail มานำเสนอให้กับผู้บริโภคไทย

Starbucks Reserve Bar

มาดู 10 ไฮไลท์ของ “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม” กันเลย!!

1. สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ที่ไอคอนสยาม เป็นสาขาล่าสุดลำดับที่ 417 ของ Starbucks ประเทศไทย และถือเป็นสาขาใหญ่สุดในไทย ณ เวลานี้

กว่าที่สาขานี้จะสร้างเสร็จเป็นรูปร่าง พร้อมเปิดให้บริการ ใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการพัฒนา อีกทั้งสาขานี้มีพาร์ทเนอร์ที่เป็น Master Coffee มากถึง 30 ตำแหน่ง และมีที่นั่งรวมทั้งส่วน Indoor และ Outdoor ทั้งหมด 350 ที่นั่ง

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront

2. โซนบาร์เครื่องดื่มหลัก เป็นร้านสาขาแรกในประเทศไทยที่ใช้เครื่องชง Mastrena II รุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งสามารถจุทางเลือกเมล็ดกาแฟได้ถึง 3 ชนิด ซึ่งนอกเหนือจากเมล็ดกาแฟเอสเพรสโซ่ที่ลูกค้าคุ้นเคย สตาร์บัคส์ได้เพิ่มความพิเศษให้กับร้านสาขาใหม่ให้เป็นร้านแรกที่เสิร์ฟกาแฟ ม่วนใจ๋ เบลนด์ กาแฟสตาร์บัคส์สัญชาติไทย

โดยรายได้ 10 บาท จากการจำหน่ายเครื่องดื่มที่ทำจากกาแฟม่วนใจ๋ทุกแก้วจะนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของไทย อาทิ ด้านระบบชลประทาน หรือ การศึกษา ผ่านโครงการพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน (Integrated Tribal Development Project)

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront - First floor seating areaStarbucks Reserve Chao Phraya Riverfront

3. โซนบาร์ทีวาน่า (Teavana) บาร์เครื่องดื่มชาแห่งแรกในประเทศไทยในคอนเซ็ปต์ของ “ชาจินตนาการใหม่” (Tea Reimagined) ที่พร้อมสร้างประสบการณ์ความสนุก สดชื่น ด้วยเครื่องดื่มชาหลากรสชาติ อาทิ ลิ้นจี่ เอิร์ล เกรย์ ที (Lychee Earl Grey Tea) และพีช โมฮิโต้ (Peach Mojito)

Teavana Bar

4. โซนบาร์ Starbucks Reserve® เพื่อให้ลูกค้าได้รื่นรมย์กับกาแฟพิเศษหายากจากหลากหลายมุมโลก ผ่านวิธีการชงที่สามารถดึงรสชาติและกลิ่นของกาแฟชนิดนั้นๆ ออกมาให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชงแบบพอร์โอเวอร์ (Pour Over) ที่คอกาแฟคุ้นเคย หรือผ่านเครื่องชงไซฟอน (Siphon) และเคเม็กซ์ (Chemex)

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องชงรุ่น Black Eagle ในสี Copper ซึ่งเป็นสีที่ผลิตมาพิเศษ ให้เข้ากับบรรยากาศของร้านสตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์

Starbucks Reserve Bar - Wood-carved muralStarbucks Reserve Bar - Black Eagle espresso machine in customized copper color

5. โซน Mixologist Bar เป็นบาร์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สาขาแรกของ Starbucks ประเทศไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในประเทศที่เปิดสาขารูปแบบ Starbucks Reserve และ Starbucks Roastery คือที่สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ได้เปิดบาร์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ Mixologist Bar

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในสถานการณ์ COVID-19 และภาครัฐมีมาตรการการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของร้านค้าต่างๆ ทำให้ขณะนี้ Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront ICONSIAM จึงยังไม่สามารถเปิดให้บริการในส่วนนี้ได้ ต้องรอให้สถานการณ์ COVID-19 ในไทยคลี่คลาย และภาครัฐปลดล็อคมาตรการด้านนี้

Starbucks Reserve Riverfront

โซน Mixologist Bar ให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รูปแบบ Cocktail

6. โซนขนมแบบอบใหม่ในร้าน นับเป็นสาขาที่ 4 ที่มีโซนอบเบเกอรี่ในร้าน (Bake in) หลังจากก่อนหน้านี้เปิดโซนนี้ไปแล้วที่ Starbucks สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว สาขาสีลม และสาาขาเดอะ พรอมานาด เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วยเมนูขนมอบสดใหม่ในร้านทุกวัน (baked in-store) เช่น ครัวซองส์เนยสด (Butter Croissant) ทาร์ตแอบเปิ้ลฝรั่งเศส (Baked French Apple Tart) และช็อกโกแลตทวิสต์ (Chocolate Twist)

นอกจากนี้ ยังมีเมนูพิเศษสำหรับรับประทานระหว่างวัน คู่กับเครื่องดื่มแก้วโปรด อาทิ เนื้อโคลด์คัทเสิร์ฟพร้อมชีส (Cold Cut and Cheese Platter) บรูสเกต้า (Bruschetta) ขนมปังแฟลตเบรด (Flatbread) ซุปและพาสต้า

Baked in-store pastriesStarbucks Reserve Chao Phraya Riverfront ICONSIAM

7. ห้องประชุม 2 ห้อง

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront ICONSIAM

8. ที่นั่งชมวิวบริเวณชั้นลอย แบบ Stadium และที่นั่งด้านนอกร้าน เพื่อรื่นรมย์บรรยากาศริมน้ำ กับเครื่องดื่มแก้วโปรด

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront ICONSIAMStarbucks Reserve Chao Phraya Riverfront ICONSIAMStarbucks Reserve Chao Phraya Riverfront ICONSIAM

9. การออกแบบ สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม ใช้ทีมดีไซเนอร์ของ Starbucks ประจำอยู่ที่สำนักงานภูมิภาคที่ฮ่องกง โดยผสมผสานระหว่างเอกลักษณ์ความเป็นไทย เข้ากับโลกของกาแฟ

ดีไซเนอร์ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านแห่งนี้ เข้ากับโลกของกาแฟ ที่จะทำให้ลูกค้าได้สัมผัสในทุกๆ ส่วนของร้าน นับตั้งแต่ทางเข้าร้าน ไปจนถึงข้างในร้าน

– บริเวณทางเข้าของร้านจะพบกับพื้นทางเดินที่ทำจากวัสดุ Terrazzo (หินขัด) วางเป็นลวดลายคล้ายคลื่นของเส้นน้ำ ซึ่งจะนำพาลูกค้าไปยังจุดสำคัญต่างๆ ภายในร้าน

– ด้านหน้าของร้านประดับด้วยงานศิลปะสีสดใส รังสรรค์โดยคุณรักกิจ ควรหาเวช ศิลปินชื่อดัง ที่บอกเล่าเรื่องราวของการปลูกกาแฟสตาร์บัคส์ ม่วนใจ๋ เบลนด์ ในภาคเหนือ และเฉลิมฉลองความงามของเทือกเขา ทัศนียภาพ และการดูแลเมล็ดกาแฟอย่างดีตั้งแต่ต้นกำเนิด จนถึงขั้นตอนที่ชาวไร่ส่งมอบกาแฟ โดยมีแม่น้ำเป็นจุดเชื่อมของอารยธรรม

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront - Colorful mural at the entrance by artist Rukkit Kuanhawate depicts Rukkit Kuanhawate

– ฉากหลังของบาร์รีเสิร์ฟ (Starbucks Reserve®) มีงานศิลปะแกะสลักไม้ ที่ผสมผสานภาพของการทำไร่กาแฟ และอุปกรณ์การชงกาแฟ รังสรรค์โดยศิลปินชาวฟิลิปปินส์ เจพี พินน์นิ่ง (JP Pining) อีกด้วย

Starbucks Reserve Bar - Wood-carved mural by artist JP Pining

– เพดานของร้านได้ประดับตกแต่งด้วยโคมไฟทั้งเล็กและใหญ่ ที่เปรียบเสมือนบรรยากาศการปล่อยโคมลอยยามค่ำคืนของวันลอยกระทง

– บริเวณระเบียงของชั้นสองของร้านได้ออกแบบเป็นรูปทรงคล้ายเรือ

– บริเวณตรงกลางบันไดที่นำสู่บริเวณชั้นลอย ประดับด้วยต้นกาแฟที่มาจากแหล่งเพาะปลูกของชุมชนชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ได้มีการพัฒนาและร่วมมือกับ Starbucks จนกลายเป็นกาแฟสตาร์บัคส์ ม๋วนใจ๋ เบลนด์

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront - Staircase

– แต่ละชานพักของบันไดยังมีข้อมูลของร้าน Starbucks และไร่กาแฟทั่วโลก ที่เป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญ อาทิ Starbucks Reserve Roastery Shanghai และ The Seattle Roastery โดยมี QR Code ให้ลูกค้าสแกนเพื่ออ่านรายละเอียดของแลนด์มาร์คแต่ละที่เพิ่มเติม

– เมื่อเดินขึ้นมายังชั้นลอย ลูกค้าจะได้พบกับ ผลงานศิลปะอีกชิ้นโดยคุณไอริณ อาริยะธนาพร โดยผลงานชิ้นนี้เป็นการตีความของวงล้อรสชาติกาแฟ (Coffee Flavor Wheel) ในสีสันสดใส ถือเป็นฉากหลังที่ลงตัวของโต๊ะชิมกาแฟ หรือ Tasting Table ที่ตั้งอยู่ได้เป็นอย่างดี

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront - Store front

– อีกจุดสำคัญที่เป็นไฮไลท์ของร้าน สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ แห่งนี้ คือ ที่นั่งริมหน้าต่างบริเวณชั้นลอยที่เป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดของร้าน โดยที่นั่งบริเวณนี้ถูกจัดในรูปแบบของ Stadium หรือเป็นลำดับขั้น

นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถนั่งบริเวณระเบียงด้านนอกของชั้นล่าง เพื่อผ่อนคลายกับวิวแบบพาโนราม่าของแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งในช่วงระหว่างวัน และยามค่ำคืน ท่ามกลางแสงไฟของกรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการพื้นที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19 ยิ่งทำให้ผู้คนต้องการพื้นที่ Outdoor หรือ Open Air 

Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront ICONSIAM

10. แผนธุรกิจสตาร์บัคส์ ประเทศไทยในปี 2564 โฟกัส 3 กลยุทธ์ และเดินหน้าเปิดสาขา Cashless Store เพิ่ม 

– สตาร์บัคส์ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลักคือ

  1. Health & Wellness ของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ (พนักงาน) ทั้งสุขอนามัยภายในร้าน และการนำเสนอสินค้าตอบโจทย์สุขภาพมากขึ้น เช่น ที่ผ่านมาเปิดตัวเมนู Plant-based Food และเครื่องดื่มที่ใช้นมทางเลือก
  2. ส่งมอบประสบการณ์ Third Place หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์ และความต้องการแตกต่างกัน จึงต้องสร้างช่องทางการให้บริการหลากหลาย เช่น รูปแบบ Drive-thru ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องการสัมผัสสิ่งต่างๆ มาก ช่องทาง Delivery
  3. โฟกัสดิจิทัล เช่น Mobile Application และล่าสุดเพิ่งเปิดตัว Mobile Order and Pay เพื่อประหยัดเวลาลูกค้า โดยลูกค้ากดสั่งซื้อเครื่องดื่ม-อาหารล่วงหน้า และเลือกได้ว่าจะไปรับสินค้าที่สาขาที่ตัวเองสะดวก ทำให้เมื่อไปถึงที่ร้าน ไม่ต้องรอคิวซื้อ

– ขยายสาขา “Cashless Store” (สาขาที่ไม่รับเงินสด) เพิ่มอีก 50 สาขา หลังจากเมื่อปีที่แล้วเปิด 17 สาขา เนื่องจากมองโอกาสของแนวโน้ม Cashless Society ในไทย

– เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยเปิดสาขาใหม่ 20 – 30 สาขาต่อปี

– สตาร์บัคส์เชื่อมั่นว่าตลาดร้านกาแฟในไทย ยังคงสดใส และมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก สะท้อนได้จากมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในธุรกิจนี้มากมาย


แชร์ :

You may also like