HomeBrand Move !!“ชินคันเซน” กับการขาดทุนครั้งประวัติศาสตร์

“ชินคันเซน” กับการขาดทุนครั้งประวัติศาสตร์

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ไม่เพียงแต่ธุรกิจสายการบินที่ไม่มีวันเหมือนเดิม แต่ธุรกิจรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่เคยคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวจนแน่นขนัดก็อยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกัน หลังมีการเปิดเผยว่าผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงยักษ์ใหญ่สองแห่งอย่าง East Japan Railway และ West Japan Railway อาจประสบภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

โดยทาง East Japan Railway เผยว่า ผลประกอบการในปีนี้ บริษัทอาจ “ขาดทุน” มากถึง 418,000 ล้านเยน (ประมาณ 124,731 ล้านบาท) ซึ่งถือว่าเป็นการขาดทุนครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1987 และเป็นหนังคนละม้วนกับผลประกอบการในปี 2019 ที่เคยทำกำไรได้ถึง 198,400 ล้านเยน (ประมาณ 59,220 ล้านบาท) ด้วย

ส่วน West Japan Railway นั้นระบุว่า อาจขาดทุน 240,000 ล้านเยน หรือประมาณ 71,641 ล้านบาท สวนทางกับปี 2019 ที่เคยทำกำไรได้ถึง 89,400 ล้านเยน ซึ่งก็ถือว่าหนักมากเช่นกัน โดยการขาดทุนครั้งล่าสุดของทาง JR West นั้นเกิดขึ้นในปี 1989 หรือย้อนหลังไป 31 ปีเลยทีเดียว

ภาพด้านล่างคือผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้มีการทวีตถึงตู้รถไฟชินคันเซนที่มีผู้โดยสารไม่ถึงสิบคน

ส่วนหนึ่งที่ทำให้รายได้หายไปอย่างเห็นได้ชัดอาจมาจากข้อมูลจากสมาคมการท่องเที่ยวของเกียวโตที่ระบุว่า ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนเกียวโตได้ลดลง 99.8% และไม่ใช่แค่เดือนกรกฎาคมเดือนเดียว แต่ลดต่อเนื่องติดกันมาแล้ว 4 เดือน ส่วนนักท่องเที่ยวในประเทศก็ลดลงครึ่งหนึ่งเช่นกัน

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการยกเลิกการเข้าพักเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ในเกียวโตพากันปิดกิจการ ไม่สามารถอยู่ได้อีกต่อไป และถึงแม้ทางการญี่ปุ่นจะมีแคมเปญ Go to ออกมากระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ช่วยสนับสนุนค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ด้วยการให้ส่วนลดถึง 50% แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ชาวญี่ปุ่นเลือกที่จะขับรถไปเที่ยวด้วยตัวเองมากกว่าจะเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งเท่ากับว่า ผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงไม่ได้ประโยชน์จากแคมเปญเหล่านี้เท่าใดนัก

โดยในแง่ของตัวเลขผู้เดินทาง พบว่าในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา East Japan Railway มีผู้โดยสารลดลงถึง 74% เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2019 เลยทีเดียว ซึ่งทำให้บริษัทต้องออกแคมเปญขายตั๋วลดราคาของตัวเอง และพบว่าแคมเปญดังกล่าวได้ผล มีคนเข้ามาจองที่นั่งไปมากถึง 300,000 ที่นั่ง (นับถึงวันที่ 25 กันยายน) และคาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2021 จะมีคนมาจองตั๋วรถไฟราว 1 ล้านคนได้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์จาก Nomura Research Institute อย่าง Hiroshige Murayama ก็ออกมาบอกว่า เป็นเรื่องยากที่ธุรกิจรถไฟความเร็วสูงจะกลับมาทำกำไรได้ในเร็ววัน ส่วนหนึ่งเพราะธุรกิจดังกล่าวมีต้นทุนคงที่สูงมากนั่นเอง โดยแผนการของผู้ประกอบการรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่นตอนนี้คือการลดค่าใช้จ่ายลงให้มากที่สุด ซึ่ง JR East ตั้งเป้าว่าจะลดค่าใช้จ่ายลงให้ได้ 150,000 ล้านเยน ส่วน JR West ตั้งเป้าว่าจะลดค่าใช้จ่าย 70,000 ล้านเยนเช่นกัน นอกจากนั้น ทั้งสองบริษัทยังเผยว่าจะพลิกเกมไปขนส่งอาหารที่มีชื่อเสียงของแต่ละท้องถิ่น เช่น ลูกแพร์ องุ่น ปลา เพื่อหารายได้เสริมเข้ามาด้วย

Source

Source

 


แชร์ :

You may also like