HomeCreativityญี่ปุ่นพัฒนา “หน้ากากอัจฉริยะ” เชื่อมต่อมือถือ รับส่งข้อความ โทรศัพท์ และแปลภาษาได้ด้วย

ญี่ปุ่นพัฒนา “หน้ากากอัจฉริยะ” เชื่อมต่อมือถือ รับส่งข้อความ โทรศัพท์ และแปลภาษาได้ด้วย

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การระบาดของ Covid-19 อาจทำให้เราเห็นพฤติกรรมใหม่ ความเคยชินใหม่ ให้มนุษย์ต้องปรับตัวตาม หนึ่งในนั้นคือการใส่ “หน้ากากอนามัย” จนติดเป็นนิสัย ส่งผลให้ Donut Robotics สตาร์ทอัพญี่ปุ่นเกิดไอเดียพัฒนา “หน้ากากอัจฉริยะ” ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและสามารถส่งข้อความและแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอื่น ๆ ได้ถึง 8 ภาษาขึ้นมา

ทาง Donut Robotics ตั้งชื่อหน้ากากดังกล่าวว่า c-Mask ผลิตจากพลาสติกสีขาวและมีขนาดพอเหมาะพอดีตามมาตรฐานของหน้ากากอนามัยทั่วไป แต่ที่พิเศษมากกว่าคือมันสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ผ่านบลูทูธ ซึ่งทำให้หน้ากากสามารถเปลี่ยนเสียงพูดเป็นข้อความ สั่งโทรออก หรือแปลงเสียงของผู้สวมหน้ากากได้ด้วย

โดยต้องบอกว่า จริง ๆ แล้วก่อนหน้านี้ บริษัทมีการจับมือกับสนามบินฮาเนดะในการจัดหาหุ่นยนต์แนะนำ และแปลภาษาให้กับทางสนามบิน แต่เมื่อไวรัสระบาดเข้ามาในญี่ปุ่น ก็ทำให้ธุรกิจการบินพังทลายไปทั้งหมด Shunsuke Fujibayashi หนึ่งในทีมวิศวกรของ Donut Robotics ที่อยากช่วยให้บริษัทอยู่รอดในยุค Pandemic จึงคิดค้นไอเดียนี้ออกมาแทน ด้วยการนำซอฟต์แวร์แปลภาษาที่เคยพัฒนาสำหรับหุ่นยนต์ที่จะส่งไปทำงานในสนามบินฮาเนดะตอนแรกมาปรับเปลี่ยนมาอยู่ในรูปหน้ากากอัจฉริยะ

จากต้นแบบที่สร้างขึ้นภายในเวลาหนึ่งเดือน Donut Robotics สามารถระดมทุนได้ 28 ล้านเยน (8.4 ล้านบาท) ผ่านทางเว็บไซต์ระดมทุนของญี่ปุ่นชื่อ Fundinno

“เราถึงเป้าหมายแรกตั้งแต่ 3 นาทีแรก และตัดสินใจหยุดที่นาทีที่ 37 เมื่อเราได้เงินจากการระดมทุนทั้งหมด 28 ล้านเยน” Taisuki Ono ซีอีโอของบริษัทกล่าว

การนำไปใช้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น แปลภาษา

ทั้งนี้ ทาง Donut Robotics บอกว่า หน้ากาก c-Mask รุ่นแรกจำนวน 5,000 ชิ้นจะถูกส่งถึงมือผู้สนับสนุนในญี่ปุ่นได้ภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งทาง Ono บอกว่า มีแผนจะส่งออกไปขายในจีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปด้วย

ส่วนราคาขายของหน้ากากนั้น อยู่ที่ประมาณ 40 เหรียญสหรัฐต่อชิ้น ซึ่ง Donut Robotics มองว่า สามารถสร้างรายได้จากบริการ Subscription อื่น ๆ ที่จะตามมาได้ด้วย

เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ตอบรับกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานในยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี และอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องชื่นชมคือความไวในการปรับตัว นำสิ่งที่มีอยู่มาพลิกแพลงให้เป็นประโยชน์ต่อบริษัท

Source


แชร์ :

You may also like