HomeBrand Move !!เปิดวิสัยทัศน์ Huawei ผ่าน HAS2020 ปฐมบทการเปลี่ยนโลกครั้งใหญ่สู่ Intelligent World

เปิดวิสัยทัศน์ Huawei ผ่าน HAS2020 ปฐมบทการเปลี่ยนโลกครั้งใหญ่สู่ Intelligent World

แชร์ :

จบไปแล้วอย่างเป็นทางการสำหรับงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit (HAS) 2020 ที่อาจกล่าวได้ว่า ทำให้เราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเครือข่ายในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงได้เห็นทิศทางด้วยว่า โลกแห่งความเป็นอัจฉริยะ หรือ Intelligent World นั้น จะพุ่งเข้ามาหาเราในรูปแบบใด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่ Intelligent World คือโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่ง Huawei บอกว่า ที่ผ่านมา บริษัทได้มีการส่งมอบอุปกรณ์ให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 1,500 ราย ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หรือคิดเป็นผู้ใช้งานกว่า 3,000 ล้านคน ส่วนอุปกรณ์ Smart Devices นั้นก็พบว่ามีผู้บริโภคใช้งานอยู่มากถึง 600 ล้านเครื่องทั่วโลกเลยทีเดียว

คุณกัว ผิง (Guo Ping) หนึ่งในประธานบริหารของ หัวเว่ย กรุ๊ป กล่าวบนเวทีด้วยว่า การมีเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นสามารถสร้างความเป็นไปได้ของตลาดใหม่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับล้านล้านเหรียญสหรัฐ

และเพื่อเตรียมตัวไปสู่จุดนั้น การมีสิทธิบัตรเป็นสิ่งจำเป็น โดยปัจจุบันหัวเว่ยมีสิทธิบัตรในครอบครองแล้วกว่า 85,000 รายการจากงบประมาณด้าน R&D ที่บริษัทเพิ่มลงไปอย่างต่อเนื่อง (งบประมาณด้าน R&D ในปี 2019 ของ Huawei คิดเป็นเงิน 131,700 ล้านหยวน หรือเพิ่มขึ้น 29.8% จากปี 2018 เลยทีเดียว)

หนึ่งในสิทธิบัตรของ Huawei คือเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบ 3 มิติที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Naked-eye 3D for all screens) ซึ่ง Huawei มองว่า จะเข้ามาเปลี่ยนประสบการณ์การรับชมของผู้คนได้อย่างมาก

 

Digital Economy มูลค่า 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

แต่สิ่งที่จะเกิดในโลกในอนาคตไม่จบเพียงแค่นั้น เพราะหากลองนึกภาพโลกที่ทุกอย่างเชื่อมต่อเข้าหากันได้ทั้งหมดผ่านเครือข่าย 5G นั่นหมายถึงอุปกรณ์ IoT จำนวนมากจะทำงานร่วมกัน โดยมี AI คอยช่วยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของ Digital Economy รอบใหม่ที่ Huawei เคยประเมินเอาไว้ว่า อาจมีมูลค่าถึง 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 เลยทีเดียว

แต่แน่นอนว่าตัวเลขยิ่งมาก ความท้าทายก็ยิ่งสูงตามไปด้วย โดยคุณกัว ผิง กล่าวถึงความท้าทายที่ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย และ Smart Devices ต่าง ๆ เผชิญในขณะนี้คือ ความยุ่งยากในการเชื่อมต่อ ยิ่งเป็นอุปกรณ์จากต่างค่าย ก็อาจมีมาตรฐานในการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันไปจนไม่อาจสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ซึ่ง Huawei มองว่า ความท้าทายนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วย การทำงานร่วมกัน

โดยที่ผ่านมา Huawei มีการจับมือกับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยต่าง ๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานด้านการวางมาตรฐานระดับโลกด้วย

นอกจากนี้ อีกหนึ่งความท้าทายของระบบเครือข่ายคือ การแชร์ข้อมูลระหว่างกันอย่างปลอดภัยซึ่งคุณ Wang Chenglu ประธานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ Huawei CBG กล่าวเสริมในจุดนี้ว่า การเชื่อมต่อกันได้แบบไร้รอยต่อนั้นจะกลายเป็นสิ่งที่ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ต้องให้ความใส่ใจมากขึ้น และการจะทำเช่นนั้นได้ ต้องมีการสร้าง Ecosystem แบบเปิด เพื่อให้ Smart Devices จากต่างค่ายทำงานร่วมกันได้นั่นเอง

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น Huawei จึงถ่ายทอดโลกอนาคตของตนเองผ่านแผนกลยุทธ์ “Seamless AI Life Strategy” ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกันของ AI และ IoT โดยมีสมาร์ทโฟนเป็นศูนย์กลาง (1+8+N)

นอกจากความพร้อมด้านฮาร์ดแวร์และมาตรฐานต่าง ๆ แล้ว ในด้านซอฟต์แวร์ Huawei ก็มีนักพัฒนากว่า 1.4 ล้านคนในระบบ รวมถึงมีเครื่องมืออย่าง HMS Core kits ให้นักพัฒนาได้ใช้งานกันด้วย  ซึ่งรวมการเข้าถึงบริการอย่างแผนที่ (Map) และระบบ Analysis Services ต่าง ๆ ของระบบ

โดยปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากกว่า 60,000 แอปที่อยู่บน HMS Core Services แล้ว (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 66.7% เลยทีเดียว)

ไม่เพียงเท่านั้น Huawei สัญญาว่า ในอนาคต บริษัทจะเปิดความสามารถด้านชิปเซ็ต, ดีไวซ์, และคลาวด์ให้มากขึ้น รวมถึงทำงานร่วมกับนักพัฒนา และพาร์ทเนอร์ทั่วโลก เพื่อสร้างภาพของ AI Life Ecosystem ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

“การเข้าสู่ Intelligent world ยิ่งเป็นบทพิสูจน์ว่าการทำงานร่วมกันเท่านั้นที่จะทำให้เราเข้มแข็ง และพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว” คุณกัว ผิงกล่าวปิดท้าย

โดยรายได้ของ Huawei ในปี 2019 อยู่ที่ 858,800 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปี 2018 ที่เคยทำได้ 721,200 ล้านหยวน และเป็นกำไรสุทธิ 62,700 ล้านหยวน


แชร์ :

You may also like