HomeBig Featured6 แนวคิดที่ “ผู้นำองค์กร” ต้องใช้ เพื่อรับมือกับวิกฤติโรคระบาด

6 แนวคิดที่ “ผู้นำองค์กร” ต้องใช้ เพื่อรับมือกับวิกฤติโรคระบาด

แชร์ :

ยังไม่มีใครรู้ว่าการแพร่ระบาดของ Covid-19 จะยาวนานแค่ไหน แต่ตอนนี้ความกังวลใจก็สร้างผลกระทบไปทั้งโลก ซึ่งแน่นอนว่า ไม่เพียงคนทำงานทั่วไปที่เริ่มกังวล แต่สำหรับคนที่เป็น “หัวหน้า หรือ ผู้นำ” สถานการณ์นี้เป็นหัวเชื้อเพิ่มความเครียดได้ยาว ๆ เลยทีเดียว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อย่างไรก็ดี เพื่อลดความกังวลจาก Covid-19 ในองค์กรให้เบาบางลง สิ่งที่หัวหน้าต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้คือเรื่องของ “การสื่อสาร” โดยบทความของ Fast Company แนะนำว่า หัวหน้าควรเริ่มต้นสื่อสารกับพนักงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความไว้วางใจ และแสดงถึงความเป็นผู้นำ รวมถึงทำให้พนักงานมั่นใจว่าองค์กรของพวกเขาสามารถรับมือกับวิกฤติได้

แต่สำหรับใครที่อาจสื่อสารไม่เก่ง หรือมองว่าต้องการตัวช่วยให้สามารถสื่อสารออกมาได้ดีขึ้นนั้น เรามีขั้นตอนบางอย่างที่สามารถเพิ่มเติมลงไปได้มาฝากกัน

1.พึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเพื่อสื่อสารข้อมูลสำคัญไปยังพนักงาน

การจัดการกับวิกฤติที่ส่งผลทางอารมณ์แบบนี้ควรเริ่มจากข้อเท็จจริงและข้อมูล วิธีการที่ดีที่สุดคือการนำข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญหรือจากองค์กรที่เชื่อถือได้มาบอกแก่พนักงาน โดยเลือกใช้ข้อมูลที่มีความเชื่อถือทั้งจากภาครัฐและเอกชน สรุปสิ่งสำคัญที่จำเป็นและนำไปบอกต่อสู่พนักงานของคุณ ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานเรื่องไวรัส ไปจนถึงขั้นตอนการเฝ้าระวัง และคำแนะนำในการรับมือในระยะต่างๆ และข้อมูลในมุมที่ไวรัสอาจส่งผลต่อธุรกิจของคุณได้อย่างไรบ้าง

2.เน้นย้ำเรื่องการเตรียมความพร้อม

ในขณะที่โลกรอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ COVID-19 ลองทบทวนแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจของคุณ สื่อสารกับพนักงานเสมอเกี่ยวกับความสำคัญของแผนที่มีอยู่ นอกจากนั้นยังต้องสนับสนุนความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์ของพนักงานองค์กรโดยแสดงให้เห็นถึงการมีภาวะผู้นำที่ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี ออกคำสั่งได้ชัดเจนแม้ในช่วงเวลาที่วุ่นวาย เพื่อให้คนในองค์กรเห็นถึงความพร้อม และเห็นว่าบริษัทจะยังคงมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมั่นคง

3.เสริมแกร่งทางใจให้คนทำงาน

นอกเหนือจากการสื่อสารข้อเท็จจริงและแผนการเตรียมความพร้อมแล้ว การแสดงออกให้เห็นถึงความห่วงใยและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในสังคมการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจมีข้อความยามเช้าหรือวิดีโอสื่อสารถึงพนักงานจากผู้บริหาร อาจมีช่วงเวลาที่พนักงานสามารถพักทำสมาธิ หรือมีสวัสดิการเพิ่มเติมที่ให้พวกเขารู้สึกอุ่นใจ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่พนักงาน เช่น สายด่วนสุขภาพจิต นักสังคมสงเคราะห์เพื่อจัดการกับความเครียด และเตือนพนักงานให้ล้างมือบ่อย ๆ ด้วย

4.เปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะ

อีกหนึ่งงานสำคัญของหัวหน้าในเวลานี้คือการรับฟังเสียงจากพนักงานที่ส่งเข้ามา พิจารณาถึงสิ่งที่จะทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยทั้งในการทำงานและที่บ้าน ตอบคำถามในหมวดหมู่ที่สำคัญ เช่นการสนับสนุนด้านเทคนิค สุขภาพและความปลอดภัย ผลประโยชน์ของพนักงาน และแรงกดดันจากภายนอก (เช่น ความท้าทายทางการเงิน ความกังวลเกี่ยวกับการดูแลเด็ก ผู้ปกครองผู้สูงอายุ และอื่นๆ) บริษัทอาจไม่สามารถจัดการกับทุกปัญหาที่พนักงานเผชิญอยู่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้ควรเป็นปัญหาที่คุณต้องรับรู้และทำความเข้าใจ

5.เต็มใจที่จะโยนกฎบางอย่างทิ้งไป

สำหรับบริษัทที่เตรียมจะ Transform ตัวเอง การเกิดวิกฤติ Covid-19 น่าจะเป็นเวลาที่ดีในการทบทวนนโยบายการเดินทาง การลาป่วย และนโยบายการทำงานจากข้างนอก โดยอาจลองยืดหยุ่นหรือเปลี่ยนกฎบางอย่างเพื่อพนักงานในช่วงเวลาแบบนี้ สื่อสารความตั้งใจของคุณในการทำงานกับคนอื่น ๆ และสนับสนุนพวกเขาในช่วงเวลาที่มีความเครียด เรื่องพวกนี้จะทำให้พวกเขาจะจดจำมันไปอีกนาน หลังจากวิกฤติสิ้นสุดลง

6.รับฟังผู้ถือหุ้น

แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤติ ผู้นำที่ดีก็ควรหาเวลาประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็น เตรียมตอบคำถามและอธิบายวิธีที่คุณเลือกรับมือกับปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจได้ดีเช่นกัน

ที่สำคัญ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่รอบตัวเราจะเต็มไปด้วยความสับสนจากข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าเข้ามาเต็มไปหมด แต่วิกฤติที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกแก้ไขด้วยเหตุผลและข้อมูลเพียงอย่างเดียว อย่าลืมว่าบริษัทยังมีพนักงานอยู่ด้วย การเป็นผู้นำที่มีความเห็นใจและเข้าใจพนักงานและพาร์ทเนอร์ในองค์กร จะนำไปสู่การร่วมมือร่วมใจ เพื่อผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันได้ในที่สุด

Source


แชร์ :

You may also like