HomeHR & Manangementจับตาตลาดแรงงาน 2 ​ปีข้างหน้า ผลวิจัยชี้ชัด ‘งานยังมีมากแต่ต้องมีกึ๋น’ พร้อมทักษะจำเป็น​ สุดท้ายแล้ว Human ​Skill สำคัญที่สุด

จับตาตลาดแรงงาน 2 ​ปีข้างหน้า ผลวิจัยชี้ชัด ‘งานยังมีมากแต่ต้องมีกึ๋น’ พร้อมทักษะจำเป็น​ สุดท้ายแล้ว Human ​Skill สำคัญที่สุด

แชร์ :

ยุคที่เทคโนโลยียังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กับความกังวลต่อการถูก Technology Disruption โดยเฉพาะความหวาดหวั่นต่อการนำความสามารถของหุ่นยนต์หรือดิจิทัลเข้ามาทดแทนแรงงานคน ทำให้จำนวนคนตกงานในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น พร้อมการตื่นตัวของมนุษย์เงินเดือนและภาคแรงงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะความสามารถให้เหมาะกับการทำงานในแต่ละสายอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองให้ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตอยู่

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ณะที่ “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” ทำการวิจัยแนวโน้มของทักษะมนุษย์ รวมถึงตำแหน่งงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นและลดลง ของจำนวนพนักงานในอีก 2 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งข้อเสนอแนะให้กับแรงงานในการปรับตัว เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถให้รองรับการเปลี่ยนแปลงและสอดรับกับยุค Digital Transformatiom โดยยังคงยืนยันอย่างหนักแน่นว่การพัฒนาทักษะมนุษย์ (Human Skill) คือ หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจ

สำหรับความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิวัติทักษะแรงงานนั้น กลุ่มทักษะที่ตลาดต้องการสูง คือกลุ่มที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล จัดอยู่ในอันดับต้นๆ และมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของในโลกยุคดิจิทัล โดยการพัฒนาระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการต่างๆ มากขึ้นนั้น เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ทักษะที่บริษัทต่างๆ ต้องการจากพนักงานเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น จะแตกต่างกันไปตามลักษณะธุรกิจหรือสภาพแวดล้อมในแต่ละองค์กร

ซึ่งหากเจาะสำรวจลงไปในแต่ละสายงาน จะเห็นว่า ความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านไอที เพิ่มสูงขึ้นและรวดเร็วอย่างมาก โดยผลวิจัยระบุว่า 16% ของบริษัทต่างๆ คาดว่าจะเพิ่มจำนวนพนักงานในสายงานไอทีมากถึง 5 เท่าแทนที่จะลดจำนวนลง แต่ขณะเดียวกันความพร้อมของผู้มีทักษะความสามารถด้านไอทีกลับหาได้ยากขึ้น

ทั้งนี้ ยังพบว่า การศึกษาและประสบการณ์ที่นายจ้างต้องการดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งในสหรัฐอเมริการาว 86% ของตำแหน่งงานว่างในสายงานไอที กำหนดว่าผู้สมัครต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่มีพนักงานด้านไอทีเพียง 43% เท่านั้น ที่มีวุฒิการศึกษาดังกล่าว

และยังพบว่า 92% ของโฆษณารับสมัครงานระบุว่า นักพัฒนาวาจาจะต้องมีใบปริญญาในสาขาดังกล่าว ขณะที่มีนักพัฒนาเพียง 48% เท่านั้นที่มีปริญญาดังกล่าว นอกจากนี้ ในสหราชอาณาจักร 25% ของพนักงานไอทีที่มีปริญญา แต่อีก 46% ของตำแหน่งงานที่เปิดรับ กำหนดว่าวุฒิปริญญาตรีเป็นคุณสมบัติบังคับที่ผู้สมัครต้องมี

ส่วนทางด้านสายงานภาคการผลิต มีการคาดการณ์ว่าความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้มากที่สุด 25% ของนายจ้างระบุว่า จะว่าจ้างพนักงานมากขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ ในขณะที่ 20% ระบุว่าจะจ้างพนักงานน้อยลง ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อการเติบโตของงานและทักษะที่สำคัญในอุตสาหกรรม

ซึ่งการเติบโตดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่ต้องพบปะและดูแลลูกค้า งานวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารที่ต้องใช้ทักษะมนุษย์ เช่น การสื่อสารขั้นสูง การเจรจา การเป็นผู้นำ การจัดการและความสามารถในการปรับเปลี่ยน ส่วนในสายงานอื่นๆ เช่น งานธุรการและสำนักงาน จำนวนตำแหน่งงานจะน้อยลง และคาดว่าจำนวนพนักงานในสายงานบุคคลจะยังคงที่ 

จากผลวิจัยราว 65% ของบริษัทต่างๆ วางแผนที่จะเพิ่มจำนวพนักงานในสายงานไอทีโดยระบุว่า “ทักษะการสื่อสารเป็นทักษะด้านอารมณ์ที่สำคัญที่สุด”  

ส่องดีมานด์แรงงานใน 6 สายงานหลัก

ทั้งนี้ เมื่อความต้องการทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลกำลังเติบโตขึ้นในทุกตำแหน่งหน้าที่ แต่นายจ้างให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าของทักษะมนุษย์มากกว่า เนื่องจากระบบอัตโนมัติและเครื่องจักรทำงานประจำวันได้ดีกว่ามนุษย์ แต่ 38% ขององค์กรระบุว่าการฝึกอบรมทักษะด้านเทคนิคที่เป็นที่ต้องการมีความยากลำบาก และอีก 43% ระบุว่าการสอนให้บุคลากรมีทักษะด้านอารมณ์ที่องค์กรต้องการ เช่น การคิดในเชิงวิเคราะห์และการสื่อสารกลับเป็นงานที่ยากกว่า

ผู้สมัครที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีทักษะด้านกระบวนการคิด ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการประมวลข้อมูลเชิงซ้อน  รวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนและการเป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในอาชีพการทำงานมากขึ้น โดยเชื่อว่า ภายในปี 2573 ความต้องการทักษะของมนุษย์ ซึ่งก็คือทักษะทางสังคมและอารมณ์จะเพิ่มสูงขึ้นในทุกอุตสาหกรรมถึง 26% ในสหรัฐอเมริกา และ 22% ในยุโรป

นอกจากนี้ ยังระบุอีกว่าตำแหน่งงานที่คาดว่าจะการเพิ่มขึ้นและลดลงของจำนวนพนักงานอย่างมากในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยจำแนกเป็นกลุ่มแรงงาน 6 สายงาน ได้แก่ สายงานการเงินและการบัญชี จะมีการเพิ่มจำนวนพนักงาน 4%  และลดจำนวนพนักงานถึง 6% โดยทักษะการทำงานเดิมจะยืดติดตามกระบวนการและรายละเอียด การปฏิบัติตามข้อกำหนด  ซึ่งทักษะในอนาคตการตีความธุรกิจ การนำเสนอและบริการลูกค้า

สายงานทางด้านไอที มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนพนักงานอยู่ที่ 11% และจะลดจำนวนพนักงานอยู่ 7% โดยทักษะปัจจุบันจะเป็นด้านการติดตั้งและบำรุงรักษาเทคโนโลยี การใช้การสังเกตและควบคุมเทคโนโลยีทักษะไอทีที่เข้มแข็ง ซึ่งทักษะที่ต้องเพิ่มขึ้นในอนาคต คือ การคิดเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์และแก้ปัญหา มีความสามารถในการเรียนรู้สูง การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยี

สายงานการผลิต เป็นอีกหนึ่งสายงานที่น่าจับตาเนื่องจากผลวิจัยระบุจะมีการเพิ่มจำนวนพนักงานถึง 25%  และลดจำนวนพนักงานถึง 20% โดยทักษะการทำงานปัจจุบันเป็นการใช่เครื่องจักร ทักษะด้านการกายภาพ ยืดติดกับกระบวนการและรายละเอียด ส่วนทักษะในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้นในสายอาชีพนี้ การจัดการควบคุมเครื่องจักร และมีความสามารถในการเรียนรู้สูง 

สายงานด้านการให้บริการข้อมูลและดูแลลูกค้า ฝ่ายต้อนรับ (Frontline &Customer-Facing) เป็นหนึ่งสายงานที่ใช้ทักษะด้านการป้อนข้อมูล ความสามารถในการรู้ภาษา ตัวเลข และการสื่อสารขึ้นพื้นฐาน ซึ่งทักษะที่จะต้องมาเติมในอนาคต การแก้ไขปัญหา  การสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ รวมถึงการจัดการเครื่องจักร ซึ่งจะมีการเพิ่มจำนวนพนักงานราว 16% แต่จะมีการลดจำนวนพนักงานอยู่ที่ 3%

สายงานธุรการและสำนักงาน  9% จะมีการเพิ่มจำนวนพนักงาน และจะลดจำนวนพนักงานลง 18% ซึ่งทักษะงานในปัจจุบันจะเป็นการเก็บบันทึก การประสานงานและจัดการเวลา รวมถึงตรวจสอบราคาสินค้า  แต่ทักษะในอนาคตที่จะต้องเพิ่มขึ้น ด้านการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์  และยังจะต้องมีการคิดเชิงวิเคราะห์พร้อมทำการวิเคราะห์ด้วย  รวมถึงการสร้างเครือข่ายและสร้างแรงจูงใจ

สายงานทางด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ทักษะการทำงานปัจจุบันด้านการสรรหาบุคลากร กฎหมายการจ้างงาน ซึ่งทักษะในอนาคตที่จะต้องเพิ่ม การทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ การวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมิน รวมทั้งกลยุทธ์การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูงและการวางแผนงาน แนวโน้มการเพิ่มจำนวนพนักงานในส่วนนี้อยู่ที่ 3%  และลดจำนวนพนักงานในสัดส่วนเท่ากัน

จากผลการวิจัย ชี้ให้เห็นได้อย่่างชัดเจนว่า การพัฒนาและเพิ่มทักษะความสามารถแต่ละสายงานเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งแรงงานยุคนี้ ต้องเตรียมความพร้อมและเร่งพัฒนาทักษะหรือ Skill ให้สอดคล้องกับทิศทางความต้องการในแต่ละสายอาชีพและสายงาน เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อไม้ให้กลายเป็นแรงงานในเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทเลือกลดก็เป็นได้  ทั้งนี้ จากข้อมูลวิจัยสายงานที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มจำนวนพนักงานมากที่สุดจะเป็นสายงานการผลิต รองลงมาสายงานธุรการ  สายงานดูแลและให้ข้อมูลลูกค้า  สายงานด้านไอที สายงานด้านการเงินบัญชีและสายงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ ส่งผลให้เห็นว่าแรงงานจะต้องมีการตื่นตัวและพัฒนาทักษะ ศักยภาพความสามารถรองรับกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพ 

 ข้อมูลดังกล่าวจะมาช่วยเป็นแนวทางและกระตุ้นให้ “แรงงาน” เตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงนี้ที่จะเกิดขึ้นใน 2 ปีนี้ และในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในตลาดแรงงาน​ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป มองเห็นช่องโหว่ที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดแรงงาน และเข้ามาเป็นหนึ่งภาคส่วนที่กำลังพยายามจะปิดช่องโหว่นี้ จากการทำงานกับลูกค้าอย่างไมโครซอฟท์และประเมินข้อกำหนดสำหรับตำแหน่งงานที่ใกล้เคียงและเพิ่มทักษะให้แก่บุคคลให้สามารถเป็นผู้ทดสอบเกมที่ได้รับการรับรองได้ภายใน 3 เดือน ซึ่งความหลงใหลในการเล่นเกม ทักษะการแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยม และความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ  ซึ่งจนถึงปัจจุบันแมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้เพิ่มทักษะที่เป็นที่ต้องการและตอบโจทย์ลูกค้าให้แก่บุคลากรแล้วกว่า 500 คน

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like