HomeBrand Move !!ebay เตือนผู้ค้าออนไลน์ไทยเร่งปรับจุดอ่อน “ภาษา-เทคโนโลยี” รับมืออีคอมเมิร์ซเข้าสู่ยุค Cross-Border Trade

ebay เตือนผู้ค้าออนไลน์ไทยเร่งปรับจุดอ่อน “ภาษา-เทคโนโลยี” รับมืออีคอมเมิร์ซเข้าสู่ยุค Cross-Border Trade

แชร์ :

เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่คนไทยรู้จักมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี สำหรับ ebay ที่ปัจจุบันทรานสฟอร์มตัวเองจากเว็บไซต์ประมูลออนไลน์มาสู่สนามอีคอมเมิร์ซแล้วเป็นที่เรียบร้อย โดย ebay ในวันนี้เหลือรายได้จากการประมูลเพียง 11% จากสัดส่วนรายได้ทั้งหมดในปี 2018 ที่ 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การเปลี่ยนแปลงของ ebay ได้รับการเปิดเผยจาก คุณเจนนี หุย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเบย์ ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ว่า กลยุทธ์ของ ebay นับจากนี้จะให้ความสำคัญกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน 4 ด้านได้แก่ B2C, C2C, Cross-Border Trade และ Mobile โดยเฉพาะในส่วนของ Cross-Border Trade ที่กลายเป็นรายได้หลักของแพลตฟอร์มมากกว่า 60% และยังเป็นเทรนด์ที่ ebay มองว่าจะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของโลกอีคอมเมิร์ซในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย

สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Google/Temasek e-Conomy SEA 2018 ที่ระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มจะเติบโตจนมีมูลค่า 102,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025 จากปี 2018 ที่มีมูลค่าราว 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศไทยติด 1 ใน 3 ของประเทศที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในภูมิภาค โดยเป็นรองแค่อินโดนีเซียกับเวียดนามเท่านั้น (ตามมาด้วยมาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์) และ Cross-Border Trade คือหนึ่งในปัจจัยหลัก (29.3%) ที่จะดันให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นในระดับดังกล่าวได้

คุณเจนนี หุย

สำหรับองค์ประกอบที่ทำให้สินค้าจากเอเชียมีโอกาสเติบโตนั้น คุณเจนนี หุยกล่าวว่า มี 3 ข้อ คือสินค้าเอเชียเป็นที่ต้องการของตลาดโลก, อีเบย์มีการทำโครงสร้างข้อมูล ทำให้การค้นหาและซื้อขายทำได้ง่าย, ข้อสุดท้ายคือราคา เพราะราคาสินค้าจากเอเชียเป็นราคาที่คนทั่วโลกอยากซื้อ

อย่างไรก็ดี ตลาดที่เติบโตใช่ว่าจะมีแต่โอกาสเท่านั้น ความท้าทายของโลกในยุค Cross-Border Trade ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน โดยในมุมของ ebay อาจแบ่งออกได้ดังนี้

ลักษณะของสินค้าบน eBay ในปัจจุบัน

  • ตัวสินค้า – จากที่สินค้า Cross-Border Trade ในยุคแรกเป็นสินค้าน้ำหนักเบา ราคาไม่แรง มักเป็นของชิ้นเล็ก ๆ ปัจจุบันสินค้าอีคอมเมิร์ซ Cross-Border Trade มักมีคุณภาพสูง ราคาหลากหลาย และมีตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ก็สามารถส่งผ่านช่องทางนี้ได้
  • ผู้ขาย – ผู้ขายในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการให้การทำ Cross-Border Trade สะดวกมากขึ้น เช่น ใช้เครื่องมือแปลภาษามาช่วยในการทำตลาดกับต่างประเทศ
  • ผู้ซื้อ – มีความคาดหวังต่อสินค้าและบริการที่ได้รับสูงกว่าเดิม เช่น ต้องการได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว (นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การประมูลถูกลดความสำคัญลงไป) และคาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ดีไม่ต่างจากการไปซื้อในห้างสรรพสินค้า
  • เทคโนโลยี – มีการนำ AI, BigData เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น คนที่ไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่เป็นก็จะเสียโอกาสมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ระบบโลจิสติกส์ – จากเดิมเป็นการส่งแบบ Direct Shipping ปัจจุบัน มีการนำระบบการจัดการหลาย ๆ อย่างเข้ามาใช้ เช่น Warehouseing เพื่อนำสินค้าไปจัดวางเอาไว้ในประเทศปลายทางได้ล่วงหน้า เมื่อมีคำสั่งซื้อจะได้จัดส่งสินค้าได้รวดเร็วขึ้น, ระบบติดตามสถานะสินค้า ฯลฯ

สำหรับในส่วนของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทยนั้น คุณเจนนี หุยฝากทิ้งท้ายว่า ยังมีจุดอ่อนที่ต้องปรับกันอยู่หลายข้อ เช่น การใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่แข็งแรง, การใช้เทคโนโลยีอย่าง BigData, AI เข้ามาช่วยในการขายน้อยเกินไป ซึ่งหากไม่ปรับตัวอาจตกขบวนอีคอมเมิร์ซรอบนี้ได้เลยทีเดียว


แชร์ :

You may also like