HomeBRAND HERITAGE10 เรื่องของ “ไมเนอร์ฯ” ในรอบ 50 ปี จากบริษัท “วัยเยาว์” สู่ Global Company มูลค่า 1.7 แสนล้าน

10 เรื่องของ “ไมเนอร์ฯ” ในรอบ 50 ปี จากบริษัท “วัยเยาว์” สู่ Global Company มูลค่า 1.7 แสนล้าน

แชร์ :

5 ทศวรรษแล้ว กับกลุ่มไมเนอร์ฯ​ ที่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย  และก้าวไกลออกไปยังต่างประเทศ  แทบจะทุกทวีป ครอบคลุมไปกว่า 64 ประเทศทั่วโลก  ระยะเวลาจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน  ถือว่าไม่น้อยทีเดียว ครึ่งทางของ “ศตวรรษ” องค์กรเก่าแก่ขนาดนี้ คงมีเรื่องที่น่าทำความรู้จัก และบางเรื่องที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้รู้  และนี่คงเป็น 10 เรื่องไฮไลท์ที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทางธุรกิจของ บริษัท ไมเนอร์​ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1.จุดเริ่มต้นจาก “วัยเยาว์”

บริษัท ไมเนอร์​ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจการโรงแรม ร้านอาหาร และสินค้าไลฟ์สไตล์  มีจุดเริ่มต้นธุรกิจ  ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 3 ธุรกิจในปัจจุบันเลย การเริ่มต้นของ “วิลเลี่ยม ไฮเน็ค”  เกิดขึ้นในปี 1967 ด้วยวัยเริ่มต้นเพียง 17 ปี กับธุรกิจโฆษณาและทำความสะอาดสำนักงาน ภายใต้บริษัท อินเตอร์-เอเชียน พับลิซิตี้ จำกัด และบริษัท อินเตอร์-เอเชียน เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด

ต่อมาในปี 1970 บริษัท ไมเนอร์ โฮลดิ้งส์ ได้เข้าถือหุ้นใน 2 บริษัทแรก ซึ่งที่มาของชื่อ “ไมเนอร์” ก็เกิดจากอายุของเขาซึ่งขณะนี้ถือว่ายังเป็นวัยรุ่น เป็นผู้เยาว์  ชื่อ “ไมเนอร์” จึงมีความหมายว่า “ผู้เยาว์” ซึ่งเป็นสถานะทางกฎหมายของคุณวิลเลี่ยม ไฮเน็ค ในเวลานั้น

หลังจากนั้นในปี 1978 ได้เริ่มทำธุรกิจโรงแรม พร้อมๆ กับธุรกิจร้านอาหาร “มิสเตอร์ โดนัท” และ “ศาลา โฟร์โมท” ต่อมาในปี 1970 เริ่มทำธุรกิจ “พิซซ่า” ก่อนจะสร้างแบรนด์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ในปี  2000-2001 ช่วงเวลาดังกล่าวยังได้สร้างแบนด์โรงแรมของตนเองแห่งขึ้นกับแบรนด์​ “อนันตรา”

ปี 2005 กลุ่มไมเนอร์​ฯ​  เริ่มบุกตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรก  กับการลงทุนในประเทศมัลดีฟส์  และต่อมาลงทุนในประเทศศรีลังกาและตะวันออกของทวีฟแอฟริกา  ถือเป็นการก้าวสู่การตลาดครั้งสำคัญ หลังจากนั้นได้ขยายธุรกิจทั้งรูปแบบการลงทุนเอง  การรับจ้างบริหาร และการซื้อกิจการในต่างประเทศจำนวนมาก ปัจจุบันมีธุรกิจโรงแรมครอบคลุม 64 ประเทศ ใน 5 ทวีป

2.จาก Local สู่ Global Company

นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจจนถึงปัจจุบัน  ปีนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้ง  ในหน้าประวัติศาสตร์ตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษ  เพราะมีการเข้าลงทุนในบริษัท NH Hotel Group SA. หรือ NHH ซึ่งมีโรงแรมอยู่ในยุโรป อเมริกา และอเมริกาใต้กว่า 385 โรงแรม  หากนับรวมจำนวนโรงแรมทั้งกลุ่มไมเนอร์ฯ​ ปัจจุบันจึงมีกว่า 540 โรงแรม  รวมกว่า 80,000 ห้อง ที่สำคัญยังทำให้กลุ่มไมเนอร์ฯ​ ติดอันดับ Top 10 ของบริษัทซึ่งมีโรงแรมบริหารงานมากที่สุดของโลกด้วย  นอกจากนี้  รายได้จากการดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ  ปัจจุบันยังมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 50% ผลักดันให้กลุ่มไมเนอร์  กลายเป็น Global Company  โดยในธุรกิจร้านอาหารมีจำนวนสาขามากถึง 2,100 สาขา ใน 27 ประเทศ และธุรกิจสินค้าไลฟ์สไตล์  มีจุดจำหน่ายกว่า 420 จุด ในประเทศไทยอีกด้วย

3.ลงทุนมากสุดรอบ 50 ปี

การเข้าซื้อหุ้นของกลุ่ม NHH ในปีนี้  ถือว่าเป็นการลงทุนมากสุดในรอบ 50 ปีของการดำเนินธุรกิจมาเลยทีเดียว  ด้วยกรอบการลงทุนครั้งนี้เกือบ 100,000 ล้านบาท  หากซื้อหุ้นแบบ 100%  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับว่าการซื้อหุ้นจะสามารถจบกระบวนการทางการเงินแล้วได้หุ้นมาทั้งหมดเท่าไร  แต่ปัจจุบันกลุ่มไมเนอร์ฯ​ ซื้อหุ้นเข้ามาในมือแล้วแล้ว 45% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 40,000 ล้านบาท ก็เป็นตัวเลขมากสุดเช่นกัน และกระบวนการซื้อหุ้นยังคงมีต่อเนื่อง  ตามเป้าหมายที่กลุ่มไมเนอร์ฯ ​ต้องการเข้าไปถือหุ้นของ NHH สัดส่วนประมาณ ​51-55% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนราว  48,000 ล้านบาท  โดยการลงทุนซื้อหุ้นกลุ่ม NHH ครั้งนี้  เป็นเม็ดเงินลงทุนพิเศษ  นอกเหนือจากเงินลงทุนปกติ  ตามแผนธุรกิจระยะ 5 ปี (ปี 2017-2022) ที่เตรียมไว้สำหรับการขยายธุรกิจใหม่วงเงิน  40,000-50,000 ล้านบาทด้วย

4.กำไรโตเฉลี่ย 15-20%

ตามแผนธุรกิจระยะ 5 ปีเดิม  วางเป้าหมายจะสร้างกำไรในอัตราเฉลี่ย 15-20% ต่อปี แต่พอกลุ่มไมเนอร์​ฯ​ มีธุรกิจโรงแรมของกลุ่ม NHH เข้ามาเสริมพอร์ต  ก็คงต้อง Revise แผนธุรกิจกันใหม่อีกรอบ  เพราะโครงสร้างรายได้ตอนนี้น่าจะเปลี่ยนไปจากเดิม  ซึ่งสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 รายได้จากธุรกิจโรงแรม สัดส่วน 55% ร้านอาหาร สัดส่วน 38% และสินค้าไลฟ์สไตล์ สัดส่วน 7% คาดว่าปี 2562 สัดส่วนรายได้ของ 3 ธุรกิจนี้ก็น่าจะเปลี่ยนเป็น รายได้จากธุรกิจโรงแรม สัดส่วน 70% ร้านอาหาร สัดส่วน 20% และสินค้าไลฟ์สไตล์ สัดส่วน 10% ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้  จะทำการนำเสอนแผนธุรกิจใหม่ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ

แต่หากดูความมั่งคั่งของกลุ่มไมเนอร์ฯ​ ปัจจุบันก็ถือว่าเป็นบริษัทระดับแสนล้านบาท  กับมูลค่าตามราคาตลาดมากกว่า 170,000 ล้านบาท  จากเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 25,000 บาทเท่านั้น  ปี 2560  ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้รวมมูลค่ากว่า  58,643.62 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5,415.40 ล้านบาท  นับเป็นการเติบโตชนิดที่ “วิลเลี่ยม ไฮเน็ค” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าบริษัทจะมาได้ไกลถึงเพียงนี้ เป็นการเติบโตชนิด “เกินความคาดหมาย” ซึ่งในอนาคตอีก 10-20 ปี หรืออีก 50 ปี ก็เชื่อว่าน่าจะเติบโตได้เกินการกว่าที่จะคาดคิดไว้ได้เช่นกัน และแม้ว่าบริษัทจะก้าวสู่องค์กรระดับโลก  แต่บริษัทก็ยังมีจิตวิญญาณของการเป็น Entrepreneur เป็นการขับเคลื่อนองค์กร

5.“Customer First” เคล็ดลับความสำเร็จ

เคล็ดลับความสำเร็จของไมเนอร์ฯ ในวันนี้  คือ วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าเราต้องการเป็นผู้นำธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และจัดจำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์ ในระดับโลก และการมองลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญแรก “Customer First” และคิดถึงตลอดเวลา และการมี Passion ในการอยากมาทำงานของพนักงานขององค์กร  ซึ่งเรามาไม่ถึงจุดนี้ไม่ได้ถ้าขาดบุคลากร

“แบรนด์มีมากมายแค่ไหน หรือแบรนด์ใหญ่แค่ไหน แบรนด์ไม่ได้สร้างคน แต่คนสร้างแบรนด์ ที่ทำให้เราเติบโตตลอด 50 ปีที่ผ่านมา” คุณวิลเลี่ยม ไฮเน็ค  บอกเล่าถึงเคล็ดลับความสำเร็จ

นอกจากนี้  การมีแผนธุรกิจและการปฎิบัติตามแผนอย่างเคร่งคัด จึงทำให้มีเป้าหมายชัดเจน พร้อมมองหาโอกาสทางธุรกิจที่ทำกำไรเข้ามาเสริมพอร์ต  สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้น  คือ การเติบโตไปด้วยการใช้ “บุคลากร” ในการขับเคลื่อนความสำเร็จ  ด้วยการท้าทายและตั้งคำถามกับทีมบริหารอยู่ตลอดเวลา ว่าจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร  เป็นการทำให้ “บุคลากร” มีความท้าทายอยู่เสมอ รวมทั้งการผลักดันให้บุคลากรรุ่นใหม่ขึ้นมาอยู่แถวหน้า

เขาเล่าว่าวันแรกที่เขาตั้งบริษัทเขาคือคนที่อายุน้อยที่สุด 50 ปี ผ่านไป วันนี้เขาเป็นคนที่อายุมากที่สุดในบริษัท แต่ก็มีประสบการณ์มากขึ้น

“หน้าที่ของผมในวันนี้คือ ท้าทายและตั้งคำถามกับคนของผม เพราะพวกเขาไม่เคยถูกท้าทายจากผู้นำมานานแล้ว ในเมื่อพวกเราเป็นผู้นำมาโดยตลอด ผมต้องทำให้คนของผมไม่ชะล่าใจ”

6.“3+3” กลยุทธ์+ตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ 5 ทศวรรษ  กลุ่มไมเนอร์ฯ​ ได้ใช้  3 กลุยทธ์หลัก  มาเป็นเคลื่องมือในการขับเคลื่อนธุรกิจและใช้สร้างการเติบโต  ได้แก่

1.”แบรนด์” ภายในมือกว่า 50 แบรนด์ ใน 3 ธุรกิจ ทั้งกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร และสินค้าไลฟ์สไตล์  ซึ่งช่วยสร้างการเจริญเติบโต

2.เมื่อธุรกิจเติบโตแล้ว ต้องการสร้างอัตรากำไรให้มากขึ้นจาก Platform หรือจากธุรกิจ ที่มีอยู่

3.การ M&A (Mergers and Acquisitions) หรือ การควบรวมและการซื้อกิจการให้มากขึ้น  ในธุรกิจที่มีโอกาสสร้างการเติบโตและผลกำไร

ขณะเดียวกันยังมีอีก 3 ตัวช่วยเป็นเครื่องมือสำคัญที่เสริมสร้างให้ธุรกิจเติบโตอีกด้วย  คือ

1.Digital และเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2.การปรับโครงสร้างองค์กรให้มาขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้

3.การดำเนินธุรกิจด้วยการคำนึงถึงความยั่งยืนทางธุรกิจ กับสังคมสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนร่วมในธุรกิจต่างๆ ซึ่งเป็นความท้าทายของทุกๆ ธุรกิจในปัจจุบันนี้

7.“5 Core Values” สร้างธุรกิจกลุ่มไมเนอร์

ตลอดระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจ  กลุ่มไมเนอร์ฯ​ ได้ใช้ 5 ค่านิยมขององค์กร (5 Core Values) มาหล่อหลอมความเป็น “ไมเนอร์”  เพื่อให้พนักงานเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีส่วนร่วมผลักดันให้เป็น “ไมเนอร์” ในวันนี้ซึ่งมีธุรกิจอยู่ทั่วทุกมุมโลก  และมีอัตราการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง  กับ 5 ค่านิยมขององค์กร  ได้แก่

1.Customer Focus การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ

2.Result Oriented การให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ความ

3.People Development การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร

4.Innovative การสร้างสรรค์นวัตกรร

5.Partnership การมีพันธมิตรทางธุรกิจ

8.โฟกัส 3 ธุรกิจหลัก-มองหาธุรกิจใหม่เสริมพอร์ต

ที่ผ่านมากลุ่มไมเนอร์ฯ​ เติบโตมาจาก 3 ธุรกิจหลัก ทั้งธุรกิจโรงแรม  ร้านอาหาร  และสินค้าไลฟ์สไตล์  แผนธุรกิจ 5 ปีนับจากนี้ก็ยังคงมุ่งเน้นกับธุรกิจทำรายได้ให้กลุ่มไมเนอร์ฯ​ เหมือนเดิม แต่ขณะเดียวกันยังมองหาโอกาสสร้างรายได้และกำไรกับธุรกิจใหม่ๆ ด้วย  อย่างธุรกิจ Mix use ซึ่งเข้ามาเสริมกับธุรกิจโรงแรม สร้างรายได้และกำไรได้ดีมากขึ้น  รวง

“อยากเห็นความหลากหลายของธุรกิจและแบรนด์  เพื่อกระจายความเสี่ยงในธุรกิจ  แต่เรายังโฟกัสใน 3 ธุรกิจหลักของเรา โดยยังต้องคำนึงถึงความต้องการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเรา”

ธุรกิจโรงแรม จะใช้กลยุทธ์การเติบโตจากโรงแรมของตนเอง และการรับจ้างบริหารโรงแรมเชนต่างๆ  หรือ “Asset Drive Strategy” พร้อมกับการขยายพอร์ตโรงแรมให้มากขึ้น  ทั้งในภูมิภาคเดิมที่ได้เข้าไปทำธุรกิจอยู่แล้ว และภูมิภาคใหม่ๆ ที่จะขยายเข้าไปเพิ่ม  รูปแบบการลงทุนไม่ได้หนีไปจากเดิม  มีหมดทั้งการซื้อกิจการ  การเข้าถือหุ้น การควบรวมกิจการ หรือการลงทุนเอง หากมองเห็นโอกาสสร้างรายได้และผลกำไรเติบโต

ธุรกิจอาหาร  ก็ยังคงสร้างการเติบโตเช่นเดียวกัน กับโจทย์มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกรูปแบบ  และรองรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่น สั่งอาหาร delivery เพื่อทำให้สินค้าของกลุ่มไมเนอร์​ฯ​ อยู่ในใจผู้บริโภคตลอดไป  “Top of Mind”  ขณะเดียวกันยังสร้างแบรนด์เดิมให้มีความแข็งแกร่งไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน  โดยมีนวัตกรรมสินค้าใหม่  เมนูใหม่ และ Digital มาเป็นเครื่องมือเข้าถึงลูกค้า

“เราต้องส่งมอบแบรนด์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสร้างความเชื่อมโยงกับผู้บริโภค(Relevent) อาหารเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทานอยู่ทุกวัน แต่ก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เราไม่ได้ต้องการเป็นคนที่ใหญ่ที่สุด(Biggest) แต่เราต้องการเป็นคนที่ดีที่สุด(Best) และมาถึงตรงนี้เราต้องใช้ Digital Marketing รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย”

ธุรกิจสินค้าไลฟ์สไตล์ แม้ว่าจะเป็นเพียงการจัดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ แต่ในอนาคตจะขยายตลาดไปยังต่างประเทศ  พร้อมๆ กับมองหาโอกาสในการพัฒนาและสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง  โดยการดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นในเรื่องของ “คุณภาพ” มากกว่า “ความใหญ่” ของธุรกิจ รวมถึงความหลากหลาย  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

9.ธุรกิจในมือกว่า 50 แบรนด์

เชื่อว่าหลายคนคงจะเป็นลูกค้าเคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการกับธุรกิจในกลุ่มไมเนอร์ฯ​ กันมาบ้าง  ไม่มากก็น้อย ซึ่งปัจจุบันกลุ่มไมเนอร์ฯ​ มีแบรนด์ต่างๆ ในมือกว่า 50 แบรนด์​ และยังคงหาแบรนด์สินค้าใหม่เข้ามาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง  ลองดูว่าปัจจุบันมีแบรนด์อะไรกันบ้าง

ธุรกิจโรงแรม มีแบรนด์ของตนเอง  ร่วมลงทุน  และแบรนด์ที่รับบริหาร  โดยมีโรงแรมและเซอร์วิส สวีท ทั้งสิ้น 164 แห่ง ภายใต้แบรนด์ อนันตรา,อวานี, โอ๊คส์, ทิโวลี,​เอเลวาน่า,​แมริออท,​โฟร์ซีซั่นส์, เซ็นต์ รีจีส, เรดิสัน บลู, เดอะ โบมอนต์ และโรงแรมในกลุ่มไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ใน 26 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง แอฟริกา คาบสมุทรอินเดีย ยุโรป และอเมริกาใต้ ล่าสุด กับกลุ่มโรงแรมของ NHH ในยุโรป และอเมริกาใต้ มีโรงแรมกว่า 385 แห่ง

ธุรกิจร้านอาหาร มีกว่า 2,100 สาขา ใน 27 ประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดอะ พิซซ่า คอมปะนี, สเวนเซ่นส์, แดรี่ ควีน,​เบอร์เกอร์ คิง, ไทย เอ็กซ์เพรส, เดอะ คอฟฟี่ คลับ, เบร็ดทอล์ค (ประเทศไทย),​ริเวอร์ไซด์ และเบนิฮานา

ธุรกิจสินค้าไลฟ์สไตล์ ได้จัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่น ไลฟ์สไตล์จากต่างประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่าย ได้แก่ แก๊ป, บานาน่า รีพับบลิค, บรูคส์ บราเธอร์ส, เอสปรี, บอสซินี่, เอแตม, โอวีเอส, แรทลีย์, อเนลโล่,​ชาร์ล แอนด์ คีธ, เพโดร,​สวิลลิ่ง เจ.เอ.ฮัง เคิลส์, โจเซฟ โจเซฟ, โบเดิ้ม และไมเนอร์​สมาร์ท คิดส์

10.E-Commerce & Digital Platform จับลูกค้ายุคใหม่

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีปัจจุบัน  ซึ่งเป็นการเข้ามาของ Digital ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป  การซื้อสินค้าไม่จำเป็นต้องมาที่จุดจำหน่าย หรือต้องเดินห้างเพื่อช้อปปิ้งสินค้าแล้ว  กลุ่มไมเนอร์ฯ​ จึงได้พัฒนาระบบ “E-Commerce & Digital Platform”  ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการและรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป   โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า Millennials ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างจากคนรุ่นเก่า  มีความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น  การตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนเหล่านี้ จึงต้องใช้กลยุทธ์​ Personalization มาใช้ให้มากข้น  รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล  สร้างฐานข้อมูลเพื่อให้รู้ถึงพฤติกรรมของลูกค้าให้มากที่สุด  เพื่อการสร้างสินค้าและบริการ  ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด เช่น การรับทราบว่าลูกค้าชื่นชอบเมนูอาหารอะไร ชอบท่องเที่ยวที่ไหน

 


แชร์ :

You may also like