HomeCreativityทำอีเวนท์ให้รอด!! ต้องชูรสด้วยดิจิทัล +ไลฟ์สไตล์ และมองตัวเองเป็นคอนเทนต์ไม่ใช่มีเดีย   

ทำอีเวนท์ให้รอด!! ต้องชูรสด้วยดิจิทัล +ไลฟ์สไตล์ และมองตัวเองเป็นคอนเทนต์ไม่ใช่มีเดีย   

แชร์ :

ท่ามกลางสถานการณ์ที่สื่อดั้งเดิมถูก Digital Technology Disruption ทำให้หลายๆ แห่ง ออกอาการเสียศูนย์ หาทางตั้งหลักไม่ได้ จนบางรายไม่สามารถไปต่อได้ ขณะที่บางรายอาจยังพอประคองตัวหรือสามารถปรับตัวหาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ จนรอดพ้นจากภัยคุกคามที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่องได้ 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ในส่วนของธุรกิจอีเวนท์ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม On ground Marketing หนึ่งในเครื่องมือและช่องทางการตลาดของแบรนด์ ก็จำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดย คุณเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO เชื่อมั่นว่า ธุรกิจอีเวนท์จะไม่ได้รับผลกระทบจาก Digital Technology Disruption เพราะที่ผ่านยังไม่เห็นสัญญาณว่าสื่อออนไลน์จะเข้ามาทดแทนธุรกิจอีเวนท์ได้ เพราะ อีเวนท์ไม่ได้เป็นเพียงแค่มีเดีย แต่ยังมีความเป็นคอนเทนต์ในตัวเองด้วย

ดังนั้น ธุรกิจอีเวนท์จึงถือเป็นหนึ่งในต้นน้ำของการสร้างคอนเทนต์ ไม่ต่างจากการเป็น Content Creator เพราะสามารถนำคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นภายในอีเวนท์ไปต่อยอดและสื่อสารต่อในช่องทางอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมากไม่ต่างจาก Mass Media ได้

แต่อย่างไรก็ตาม คนทำอีเวนท์เองก็จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อไม่ให้ตกขบวนและยังคงมีแบรนด์ต่างๆ เข้ามาใช้บริการอยู่เสมอ โดยแนวทางที่จะทำให้แต่ละอีเวนท์สามารถครีเอทคอนเทนต์ให้น่าสนใจได้ จำเป็นต้องผสมผสานเรื่องของ Lifestyle และ Digital ให้เข้าไปมีบทบาทในอีเวนท์ต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้มีรูปแบบแปลกใหม่ น่าสนใจ มากกว่าการทำอีเวนท์ในรูปแบบเดิมๆ ที่จะขาดความน่าสนใจและอาจทำให้จำนวนลูกค้าลดน้อยลง

“เทรนด์การจัดอีเวนท์ให้น่าสนใจจะเริ่มเห็นการผสมผสานให้ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการจัดอีเวนท์มากขึ้น เช่น การลงทะเบียนออนไลน์และชิงโชคด้วยระบบออนไลน์ภายในงาน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จาก Big Data จากฐานข้อมูลของแขกที่เข้ามาร่วมงาน เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อยอดเป็น Asset ที่เพิ่มขึ้นให้กับลูกค้าได้ นอกจากนี้ การสร้างประสบการณ์ต่างๆ ยังเป็นหนึ่งจุดเด่นที่ทำให้คนอยากมางานอีเวนท์ โดยเฉพาะการจับเรื่องของไลฟ์สไตล์ต่างๆ เข้ามาอยู่ในเนื้อหาของงานอีเวนท์ให้มากขึ้น เช่น อีเวนท์เพลงแนว  EDM หรือ Private Party ต่างๆ ซึ่งเริ่มมีการจัดงานประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น และแม้ว่าจะเป็นงานปิดที่มีแขกมาร่วมงานเพียงไม่กี่สิบคน แต่ภาพและเรื่องราวภายในงานจะถูกถ่ายทอดผ่านโลกโซเชียลของแขกแต่ละคนจนเข้าถึงผู้คนได้เป็นหลักหมื่นหลักแสนคนเลยทีเดียว”

ทางรอดของ Event Organizer

นอกจากเนื้อหาในงานที่จะต้องอิงกับเรื่องของดิจิทัลและไลฟ์สไตล์มากขึ้นแล้ว ผู้อยู่ในธุรกิจอีเวนท์ยังต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับตัวเองตามทิศทางหรือเทรนด์ที่เกิดขึ้นในธุรกิจอีเวนท์ ดังต่อไปนี้

1. ต้องเพิ่ม International Communication Skill หรือทักษะในการสื่อสารกับกลุ่มคนต่างชาติ เนื่องจาก การเติบโตของธุรกิจอีเวนท์ในปัจจุบันมาจากการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าจากต่างประเทศค่อนข้างมาก ทั้งบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาจัดงานในไทย หรือแม้แต่การไปรับจัดงานในต่างประเทศให้กับทั้งลูกค้าแบรนด์ไทยที่ต้องการบุกตลาดต่างประเทศ หรือการรับจัดงานให้กับ Local Brand ในแต่ละประเทศโดยตรงก็ตาม เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งานมากขึ้น เพราะหากไม่สามารถสื่อสารกับต่างชาติได้ ก็จะลดโอกาสในการได้งานให้มีอย่างจำกัด

2. การเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีและดิจิทัล และนำมาปรับเข้ากับการออกแบบอีเวนท์ได้อย่างกลมกลืน สามารถนำดิจิทัลมาเป็นลูกเล่นหรือจุดขายใหม่เพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น การลงทะเบียน การวิเคราะห์ฐานข้อมูลผู้เข้ามาร่วมงาน หรือแม้แต่การต่อยอดในเรื่องของการให้บริการ เช่น การไปรับรถที่ลูกค้านำไป Test Drive ในจุดต่างๆ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องขับกลับมาคืนในจุดเดิม หรือการวิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่เพื่อให้แบรนด์เข้าใจ Consumer Insight และพฤติกรรมของลูกค้าได้แบบเป็นรายคน

3. ความเข้าใจไลฟ์สไตล์ของคนแต่ละกลุ่ม เพื่อต่อยอดการครีเอทอีเวนท์ เพราะการจัดอีเวนท์แบบเดิมๆ ที่เป็น Convention ทั่วไป เริ่มไม่มีอะไรน่าสนใจ จึงต้องจับไลฟ์สไตล์มาสร้างเป็นคอนเทนต์ตามเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์กับผู้บริโภค รวมไปถึงการจัด Private Party ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม Expat ที่มีกำลังซื้อสูงหรือกลุ่ม Celebrity ซึ่งเชื่อมโยงมาจากความสมบูรณ์ของกรุงเทพฯ ในฐานะ Multinational City ทำให้มีคนหลากหลายเชื้อชาติและภาษาเข้ามาอยู่รวมกัน

4. ความสามารถในการสร้าง Connection และเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มธุรกิจต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และยังเป็น Shortcut ในการเรียนรู้ Know-how ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากการมีพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง รวมไปถึงการประหยัดต้นทุนสำหรับการลงทุนระบบต่างๆ ที่อาจใช้ทรัพยากรบางอย่างรวมกันได้

ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มี Movement สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจ Event จะอยู่ใน 5 อุตสาหกรรมสำคัญต่อไปนี้ ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมรถยนต์  อุตสาหกรรมด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสื่อสาร อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการเงิน และธุรกิจที่ต้องการขยายงานไปสู่ต่างประเทศ

CMO ขยับสู่ Creating Experiential Solutions

ขณะที่การขยับตัวของ  CMO เพื่อสะท้อนถึงการปรับตัวและก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาด ได้มีการจัดตั้งแผนกใหม่ ได้แก่ Digital Device Technology เพื่อให้ความสำคัญและโฟกัสกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาผสมผสานกับการครีเอทอีเวนท์ได้อย่างแตกต่าง ซึ่งนอกจากการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์แล้ว ยังสามารถต่อยอดเพื่อนำเสนอเป็นโซลูชั่นส์ ที่เพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นได้ด้วย

“เป้าหมายของ CMO คือ การเป็นบริษัทที่สามารถตอบสนองในเรื่องของประสบการณ์ต่างๆ ให้กับลูกค้า โดยการขยับ Positioning ไปสู่บริษัทด้าน Creating Experiential Solutions มากกว่าแค่การเป็นเพียง Event Agency ซึ่งเราได้มีการทรานส์ฟอร์มธุรกิจและลงทุนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบหรือการครีเอทกิจกรรมต่างๆ ภายใต้งบที่ใช้ในปีนี้ประมาณ 50 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ภายใน 3 ปีนับจากนี้”

CMO ยังวางภาพการเติบโตตลอด 3 ปี นับจากนี้ไม่ต่ำกว่า 20% ทุกๆ ปี เพื่อก้าวไปสู่บริษัทที่มีรายได้ 2,000 ล้านบาท จากปัจจุบันทำรายได้ที่กว่า 1,300 ล้านบาท โดยรายได้กว่า 60% มาจากกลุ่มธุรกิจ Marketing Event ขณะที่ 40% มาจากธุรกิจอื่นๆ เช่น กลุ่ม Entertainment, Tourist Attraction และการให้บริการเช่าอุปกรณ์ รวมทั้งการหันไปรับจัดงานในต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตจะเพิ่มรายได้จากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อขยับสัดส่วนให้เท่ากับกลุ่ม Marketing Event ที่ 50% โดยเฉพาะในกลุ่มรายได้จากต่างประเทศ และธุรกิจบันเทิง และท่องเที่ยว ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้ในระดับสูง โดยได้วางกลยุทธ์การเติบโตผ่าน 3 เรื่อง ต่อไปนี้

1. รักษาความแข็งแรงในฐานะผู้นำ Marketing Event ซึ่งยังถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของบริษัท และยังเป็นผู้นำในตลาดด้วยส่วนแบ่ง 8% จากมูลค่าธุรกิจกว่า 14,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดจะเติบโตในสิ้นปีนี้ที่ 12% ขณะที่บริษัทวางเป้าหมายจะขยับส่วนแบ่งตลาดให้ได้ที่ประมาณ 10% และรักษาสัดส่วนในตลาดไว้ในระดับนี้ไปอย่างต่อเนื่อง

2. พัฒนาธุรกิจด้านท่องเที่ยว (Tourist Attraction) เพื่อสร้างแหล่งรายได้ที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันมี 2 ธุรกิจ คือ การแสดงโชว์ในรูปแบบ 4 มิติ หิมพานต์ อวตาร และการขยายธุรกิจแฟรนไชส์สวนสนุก อิมเมจิเนีย (Imaginia) ที่ทาง CMO ตั้งใจจะปั้นให้กลายเป็น World Brand โดยตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มปีละ 1 ประเทศ จากปัจจุบันมีต้นแบบในไทยที่เอ็มโพเรียม และเปิดให้บริการแล้วในประเทศจีน รวมทั้งจะเปิดเพิ่มเติมอีกหนึ่งแห่งที่เวียดนามในช่วงกลางปีนี้

นอกจากนี้ จะต่อยอดธุรกิจให้หลากหลายจากการให้บริการต่างๆ เช่น การเช่าอุปกรณ์  การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานอีเวนท์ การให้บริการติดตั้งอุปกรณ์ในระยะยาว, การทำ Mapping ให้กับทางศูนย์การค้า รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มจากพื้นที่ Bangkok Creative Playground ซึ่งเป็นออฟฟิศของ CMO อาทิ ให้เช่าสถานที่ถ่ายภาพยนตร์ ละคร หรือโฆษณา รวมไปถึงการครีเอทดีมานด์ใหม่ๆ ในตลาด เช่น งานปาร์ตี้ เพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจ Party Rental ในอนาคต

3. การรับจัดงานอีเวนท์ในรูปแบบ International ทั้งตลาด Inbound สำหรับลูกค้าต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาจัดงานในประเทศ และ Outbound ทั้งกลุ่มลูกค้าที่เป็น Local Brand ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการเติบโตร่วมกับกลุ่ม Thai Global Brand หรือแบรนด์ไทยที่เริ่มขยับไปสู่ตลาดโลก ซึ่งมีหลายๆ แบรนด์ที่เป็นลูกค้าของ CMO อยู่ ซึ่งจะเป็นโมเดลเดียวกับกลุ่มเอเยนซี่ที่เติบโตมาสู่ระดับโกลบอลได้พร้อมกับลูกค้าที่ดูแล เช่น Y&R หรือ Dentsu เป็นต้น


แชร์ :

You may also like