HomeBrand Move !!“เราไม่ได้มาเพื่อเปิดตัว Spotify in Thailand แต่เรามาเพื่อเปิดตัว Spotify Thailand”

“เราไม่ได้มาเพื่อเปิดตัว Spotify in Thailand แต่เรามาเพื่อเปิดตัว Spotify Thailand”

แชร์ :

การเข้ามาเปิดตัวธุรกิจในประเทศไทยอย่างเป็นทางการในประเทศไทย(สักที) ของ Spotify นับว่าเป็นข่าวใหญ่ในแวดวงดิจิทัลในรอบสัปดาห์นี้ เพราะสำหรับคนที่รู้จัก, เคยใช้บริการ Music Streaming เจ้านี้ในต่างประเทศต่างก็ติดอกติดใจในคลังเพลงและการจัดเรียง Playlist ที่เป็นจุดเด่น เมื่อมาถึงก็สร้างฐานลูกค้าได้ตั้งแต่วันแรก โดย Spotify ประกาศว่า “เราไม่ได้มาเพื่อเปิดตัว Spotify in Thailand แต่เรามาเพื่อเปิดตัว Spotify Thailand”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หน้าตาแบบนี้ เพื่อคนไทย

สิ่งที่พิสูจน์วิสัยทัศน์ดังกล่าว ที่ปรากฏตั้งแต่แรกเห็นก็คือ การออกแบบหน้า Interface ของเว็บไซต์ ซึ่งออกแบบมาให้เข้ากับคนไทยโดยเฉพาะและไม่เหมือนหน้าต่อของเว็บไซต์ประเทศอื่น ไม่ใช่แค่การนำเอารูปแบบเดิมมาแปลภาษา

อีกทั้งพฤติกรรมของคนไทยที่เสพสื่อผ่านหลายๆ ดีไวซ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และพีซี ทาง Spotify ก็มีความเข้าใจและออกแบบให้แต่ละดีไวซ์มีความเหมาะสมในแต่ละดีไวซ์

ส่วนเหตุผลว่าทำไมเพิ่งมาทำตลาดในประเทศไทย และทำไมจึงเชื่อว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสม Sunita Kaur, Managing Director แห่ง Spotify Asia ตอบว่า “มีสัญญาณ 2-3 อย่างที่บอกเราว่านี่คือเวลาที่ใช่ 1.ตลาดเพลงในประเทศไทยพัฒนาขึ้น ผู้บริโภคเปิดรับ และเพลงมีความหลากลาย 2. พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้เทคโนโลยีในขั้นที่เรียกได้ว่าเป็น Tech Savvy ทางทีมของเราทำงานอย่างหนัก เพื่อให้พร้อมกับการเข้าสู่ตลาดประเทศไทยในครั้งนี้ทั้งเพลงที่ให้ฟังฟรี เพลงในระดับพรีเมี่ยม เพื่อให้ได้เพลงที่ดีที่สุด”

Playlist สุดเจ๋ง ด้วยพลังของ machine – data – human

จุดแข็งของ Spotify คือ คลังเพลงที่มีกว่า 30 ล้านเพลงทั่วโลก เมื่อนำมาจัดเพลย์ลสต์ก็มีถึง 2 พันล้านเพลย์ลิสต์ ที่อิงมาจากความเข้าใจในพฤติกรรมผู้ฟัง โดย Spotify ได้พัฒนาระบบที่เก็บข้อมูลของผู้ฟัง เช่น เพลงไหนที่เป็นเพลงฮิตมีการเสิร์ชมาก หรือลูกค้าคนนี้ของ Spotify เคยฟังเพลงนี้แล้ว ระบบก็คาดเดาว่าจะชื่นชอบเพลงลักษณะเดียวกัน และนำเสนอมาให้ ซึ่งการจัดเพลย์ลิสต์นี้สามารถออกแบบได้หลายลักษณธ ไม่ว่าจะเป็นตามไสตล์เพลง, มู้ด, ช่วงเวลาสำคัญ

คุณ Sunita Kaur เล่าถึงระบบการจัดการเพลงเอาไว้ว่า “เราลงทุนในระบบ intelligence นี่อย่างมาก เพื่อเรียนรู้จะจัด Playlist มีทั้งแคตาล็อคพรีเมี่ยม และ Personalize เพื่อให้เขากับลูกค้าในแต่ละประเทศ เพราะเรารู้ว่าผู้คนรักที่จะเพลงท้องถิ่นใน Playlist ของพวกเขา เรามีทั้งการเก็บดาต้า การใช้แมชชีน และผู้เชี่ยวชาญ เพราะบางอย่างก็ยังต้องการ Human Touch อยู่ เพื่อนำเสนอเพลงใหม่ๆ ที่อยู่ในกระแส”

ทีมผู้เชี่ยวชาญนี้ถูกเรียกว่า Creative Music Team ใช้เวลาเพื่อฟังเพลงและมองหาศิลปินใหม่ๆ แล้วนำเสนอกับผู้บริหาร เพื่อบอกเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้น สำหรับทีมที่ดูแลเพลงในประเทศไทย จะนั่งทำงานอยู่ที่สิงคโปร์

 

ท้าชน Apple Music เต็มๆ ในราคาเดียวกัน

ค่าสมาชิกที่ลงทะเบียนแบบฟรีเมี่ยมของ Spotify จะอยู่ที่ 129 บาท ต่อเดือน นับว่าเป็นราคาเดียวกับ Apple Music คู่แข่งรายสำคัญ เหตุผลที่ Spotify ตั้งราคานี้ก็มาจากรีเสิร์ชว่านี่คือราคาที่ผู้บริโภคพร้อมจะจ่ายเพื่อการฟังเพลง

นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายในแพ็กเกจราคา โดยเริ่มต้นที่ 8 บาท แบบรายวัน และ 39 บาท แบบรายสัปดาห์ สำหรับลูกค้าดีแทค วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประสบการณ์การใช้งาน รวมทั้งมองผู้บริโภคที่ต้องการเพลงในโอกาสพิเศษ เช่น เพลงครบรอบ หรือวันสำคัญ อื่นๆ ก็ใช้บริการเรียง Playlist ส่วนตัวแล้วแชร์ไปที่โซเชี่ยลมีเดีย เพื่อให้กับคนสำคัญในวันนั้นๆ ก็ได้ ส่วนแพ็กเกจแบบ Family ก็มีเช่นเดียวกับ Apple Music ในราคาที่เรียกได้ว่าไม่ต่างกัน

ผู้บริหารของ Spotify พูดถึงการแข่งขันในช่วงเวลานี้ว่า “เราอยู่ในอุตสาหกรรมนี้มากว่า 10 ปี คู่แข่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด ซึ่งก็มันดีกับเราที่ทำให้เราพัฒนา, มันดีกับการขยายการรับรู้ของตลาด และมันก็ดีกับการต่อสู้กับกาวดาวน์โหลดแบบละเมิดลิขสิทธิ์”

ปัจจุบันนี้ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ใช้งาน Spotify มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากบริษัท Music Streaming แห่งนี้เริ่มต้นเข้าไปทำตลาดเมื่อ 3 ปีก่อน ในอินนีเซีย Spotify เพิ่งเปิดตัวได้ 15 เดือน แต่ก็ได้รีบการตอบรับที่ดี ทาง Spotify คาดหวังว่า ประเทศไทย จะสร้างการเติบโตแบบเซอร์ไพร์ส ก่อนจะบุกไปที่เวียดนามเป็นลำดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม “เพลงไทย” อาจจะยังเป็นจุดอ่อนของ Spotify จุดใหญ่ที่สุด ที่เห็นได้ชัดก็คือ ยังไม่มีเพลงจากค่ายอาร์เอส ให้ฟัง อีกทั้งคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Joox ก็ถือว่าที่ผ่านมาทำงานด้วยการส่งเพลย์ลิสต์เพลงไทยออกมาได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งโมเดลที่ให้ฟังฟรี แลกกับการแชร์แพล็ตฟอร์มไปยังโซเชี่ยลมีเดียก็โดนใจผู้บริโภคระดับแมสของไทย ที่เบอร์หนึ่งของโลกอย่าง Spotify ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า รู้จัก และจะปั้น Spotify Thailand ได้อย่างที่พูดหรือไม่

 

พื้นที่ใหม่ของแบรนด์

สำหรับ Business Model ของ Spotify แบ่งการหารายได้เป็น 2 ทาง 1. การสมัครสมาชิกจากลูกค้ารายบุคคล 2. รายได้จากสปอนเซอร์ ซึ่งเพียงแค่เปิดตัวก็มีมีเดีย เอเจนซี่ร่วมเป็นพันธมิตรแล้ว สำหรับผู้ที่เคยใช้บริการ Music Streaming อย่าง Joox มาแล้วก็น่าจะเคยเห็น Playlist หรือกิจกรรมพิเศษจากแบรนด์ดังๆ มาบ้างแล้ว และในวันเปิดตัว Spotify ก็เปิดเผยพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยทันที โดยมีมายด์แชร์เป็นมีเดียเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่เป็นพันธมิตรรายแรก

ด้วยเวลาเฉลี่ยของผู้ใช้งาน Spotify ทั่วโลกที่ใช้เวลาฟังเพลง 148 นาที ใน 1 วัน ผ่านช่วงเวลา อุปกรณ์ และสภาพแวดล้อมที่สะท้อนถึงของพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสตรีมมิ่งในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ สามารถเข้าถึงผู้ใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน ระหว่างทบทวนบทเรียน ขับรถ ออกกำลังกาย หรือนั่งชิล ช่วงเวลาที่มีความสุขแบบนี้ จึงกลายเป็นช่องว่างสำหรับแบรนด์ที่จะทำตลาด

คุณปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ประเทศไทย

สถิติที่น่าสนใจของ Spotify

– มีผู้ใช้มากกว่า 140 ล้านคน

– ในจำนวนนี้ สมัครเป็นสมาชิกมากกว่า 60 ล้านคน

– เพิ่มเพลงมากกว่า 30,000 เพลงต่อวัน

– มีมากกว่า 2 พันล้านเพลย์ลิสต์ และมีการสร้างเพลย์ลิสต์ใหม่กว่า 2 ล้านเพลย์ลิสต์ทุกวัน

– สร้างรายได้แล้วมากกว่า 5 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หรือกว่า 1.66 แสนล้านบาท แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นับตั้งแต่เปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551

– พร้อมให้บริการใน 61 ประเทศทั่วโลก

ตัวเลขในอุตสาหกรรมเพลงที่น่าสนใจ ในปี 2016 เีทยบกับปี 2015 (ข้อมูลจาก IFPI report ปี 2017)

– อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก เติบโต 5.9% ในปีทีผ่านมา

– ในระดับโลก Music Streaming สร้างรายได้ให้อุตสาหกรรมเพลง 50% ในขณะที่รายได้จาก Physical ลดลง 7.6% และการดาวน์โหลดลดลงถึง 20.5%

– อุตสาหกรรมเพลงในเอเชียและออสเตรเลีย เติบโต 5.1%

– ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ตลาด Music Streaming ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยฝั่งดิจิทัลเติบโตถึง 12.6% ขณะที่ประเทศจีนโต 20.3% และยังเติบโตแบบก้าวกระโดดแบบนี้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี


แชร์ :

You may also like