HomePR NewsContton USA ทุ่มงบ 33 ล้าน เร่งดันแบรนด์ ‘ฝ้ายอเมริกา’ ดังทั่วอาเซียนและระดับโลก

Contton USA ทุ่มงบ 33 ล้าน เร่งดันแบรนด์ ‘ฝ้ายอเมริกา’ ดังทั่วอาเซียนและระดับโลก

แชร์ :

Spinning factory materials

คอตตอน ยูเอสเอ (Cotton USA) ตัวแทนจากผู้ผลิตฝ้ายจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีเป้าหมายให้ประเทศไทยและประเทศในแถบอาเซียนหันมาใช้ฝ้ายจากประเทศสหรัฐอเมริกามากขึ้น ด้วยการชูจุดขายเรื่องฝ้ายคุณภาพสูง โดยไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ในกลุ่มประเทศอาเซียน กล่าวว่า

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ในปี 2560 นี้ ทิศทางการดำเนินงานของคอตตอน ยูเอสเอจะยังคงมุ่งเน้นการผลักดันอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และในกลุ่มประเทศอาเซียน ให้มีบทบาทบนเวทีการค้าระดับโลกมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากในปี 2559 ที่ผ่านมาการนำเข้าฝ้ายจากสหรัฐฯในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 46.4% จากปี 2558 ที่มีจำนวนการนำเข้าฝ้ายสหรัฐ 303,965 ตัน เป็น 567,520 ตัน โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา ประเทศในแถบอาเซียนที่มีการนำเข้าฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาสูงที่สุด 5 อันดับแรกของอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับการนำเข้าฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาในปีที่ผ่านมา ในปี 2560 นี้ คอตตอน ยูเอสเอจึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนผู้ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยแบ่งเป็นการสนับสนุนสำหรับไลเซนซีทั้ง 2 กลุ่ม คือ ในกลุ่มแบรนด์ และในกลุ่มโรงงาน ด้วยงบประมาณกว่า 33 ล้านบาท โดยในส่วนของไลเซนซีกลุ่มแบรนด์นั้น คอตตอนยูเอสเอมีการจัดกิจกรรมการตลาดที่จัดให้กับแบรนด์อย่างเป็นประจำ ด้วยกลยุทธ์แบบดีมานด์พูล (Demand Pull) เพื่อสร้างความตระหนักในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเส้นใยฝ้ายคุณภาพจากสหรัฐอเมริกา เพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้ความเข้าใจ และเพิ่มอุปสงค์ในกลุ่มผู้บริโภคคนไทย”

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นกับการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำ อย่างไลเซนซีกลุ่มโรงงาน ด้วยกลยุทธ์แบบซัพพลายพุช (Supply Push) เพื่อสร้างโอกาสทางค้าใหม่ๆ พร้อมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดระดับนานาชาติด้วยคุณภาพของสินค้าที่ผลิตจากเส้นใยฝ้ายสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นการให้บริการกับ กลุ่มไลเซนซีผู้ผลิตทั้งหมด 4 ประเภท คือ โรงงานปั่นด้าย โรงงานทอผ้า โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า และอีกหนึ่งประเภท คือโรงงานผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ไม่ใช่สิ่งทอ(non-woven) เช่น สำลี คอตตอนบัด และผ้าอนามัย โดยมีจำนวนโรงงานปั่นด้ายรวมกว่42 รายในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยแบ่งเป็นจำนวนไลเซนซีจากประเทศอินโดนีเซีย22 ราย ไทย 12 ราย เวียดนาม 7 ราย และฟิลิปปินส์1 ราย

ตัวอย่างสินค้า Non-Woven ที่ทำมาจากฝ้ายสหรัฐอเมริกา เช่น  ผ้าอนามัย quiescent แบรนด์ไทยที่ชูจุดเด่นเรื่องใช้ผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ 100% ซึ่งทำให้ระบายอากาศได้ดี

กิจกรรมส่งเสริมแบรนด์และการตลาดล่าสุด คือ  Sourcing Fair ณ ประเทศฮ่องกง ซึ่งได้จัดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 2 โดยคอตตอน ยูเอสเอทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Matchmaker) ด้วยการเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ใช้เส้นใยฝ้ายจากสหรัฐอเมริกา กับกลุ่มแบรนด์และผู้ค้าปลีก ซึ่งเป็นผู้ซื้อเป้าหมายที่มีแนวโน้มในการเป็นคู่ค้าทางธุรกิจกว่า 63 รายจากหลากหลายประเทศทั่วโลก คอตตอน ยูเอสเอยังมุ่งสร้างความสัมพันธ์   อันดีระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ ซึ่งในครั้งนี้ได้นำกลุ่มโรงงานปั่นด้ายที่มีการใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเกินกว่า 50% ในการผลิตรวมทั้งหมด 41 โรงงานจากทั่วโลก รวมถึงกลุ่มโรงงานผู้ผลิตทั้งสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทย ไปพบกับกลุ่มผู้ซื้อเป้าหมายจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกชั้นนำทั่วโลก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ช่วยสร้างโอกาสในการหากลุ่มผู้ผลิตและคู่ค้าใหม่ๆ และเพิ่มโอกาสในการต่อยอดการซื้อขายในอนาคต

 “สำหรับกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คือ COTTON USATM Mill Exchange Program ซึ่งเป็นโครงการที่ทางคอตตอน ยูเอสเอได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงงานเจ้าภาพได้ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์การผลิต รวมถึงความสำเร็จจากการใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอในอาเซียนมีความท้าทายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราเชื่อว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน เพื่อนำสิ่งที่ได้กลับไปปรับปรุงและพัฒนาโรงงานในประเทศของตน จะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มประเทศอาเซียน อีกทั้งโปรแกรมนี้ยังเป็นโอกาสอันดีในการสร้างความสัมพันธ์ และพันธมิตรใหม่ๆ รวมถึงการทำความรู้จักกับคู่ค้าทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย สำหรับการจัดงานครั้งแรกนั้นจะจัดขึ้นในประเทศไทย โดยมีบริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้ต้อนรับโรงงานปั่นด้ายอีก 8 โรงงานจากอินโดนีเซีย เวียดนามและไทย และพาเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิต อีกทั้งยังเปลี่ยนแลกมุมมอง องค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางการดำเนินงานซึ่งกันและกันอีกด้วยนายไกรภพ กล่าวทิ้งท้าย

ในกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากกิจกรรม Sourcing Fair และ COTTON USATM Mill Exchange Program ที่ คอตตอน ยูเอสเอมอบเป็นสิทธิประโยชน์ให้กับกลุ่มไลเซนซีแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆที่มอบให้กับโรงงานทั้งกลุ่มที่เป็น ไลเซนซี และกลุ่มผู้ผลิตที่มีการใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกามากกว่า 50% ในการผลิตด้วย อาทิ การจัดสัมมนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องทิศทางของราคาฝ้ายประเทศสหรัฐอเมริกาโดยนักเศรษฐศาสตร์ และการแบ่งปันข้อมูลจากผลสำรวจที่คอตตอน ยูเอสเอจัดทำขึ้นทุกๆ 2 ปี เช่น Global Lifestyle Monitor และ Mark Tracking Survey เป็นต้น


แชร์ :

You may also like