HomeFeaturedSCG ตอกย้ำเป้าหมาย “พัฒนาอย่างยั่งยืน” ไม่ใช่แค่ไทย ต้องผสานพลังทั้งอาเซียน

SCG ตอกย้ำเป้าหมาย “พัฒนาอย่างยั่งยืน” ไม่ใช่แค่ไทย ต้องผสานพลังทั้งอาเซียน

แชร์ :

scg sustainable development

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เพราะว่าแนวคิดเรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development- SD) ในวันนี้ไม่ใช่แค่ทางเลือก เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับ “ต้อง” (Must Have) วางแผนและลงมือทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวันนี้ วันที่เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเกิดจาความร่วมมือในระดับภูมิภาค จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “ASEAN Sustainable Development Symposium 2014” ที่ เอสซีจี  จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4

เอสซีจีตระหนักถึงความสำคัญของ  “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่ง ประกอบไปด้วย 3 มิติ คือ  1. มิติทางธุรกิจ ลูกค้าต้องได้ประโยชน์สูงสุด 2. มิติทางสิ่งแวดล้อม น้ำ อากาศ ความสมดุลเชิงนิเวศวิทยา การใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า 3. มิติทางสังคม เพราะการทำธุรกิจ ต้องทำให้สังคมที่อยู่โดยรอบอยู่ร่วมกันได้ด้วย

 

กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า ” แม้ว่าบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นหน้าที่ของภาครัฐ แต่ภาคเอกชนควรเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะมีความคล่องตัวมากกว่า เอสซีจีจัดงานนี้มาแล้ว 4 ปี เราพยายามสร้าง Awareness นำไปสู่ความร่วมมือซึ่งวันนี้เราไม่ได้มองแค่ความร่วมมือระดับประเทศ แต่เราต้องมองความร่วมมือระดับอาเซียน ”

 

นอกจากการจัดสัมมนา เอสซีจี ยังเน้นย้ำกับนักข่าวจากต่างประเทศว่า ทุกๆ โรงงานที่เอสซีจีไปลงทุนจะสร้างด้วยมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ทั้งเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มข้น ยกตัวอย่างเช่น คนขับรถของเอสซีจีในต่างประเทศถ้าหากว่าจอดรถที่ไหล่ทางแล้วมีรถคันอื่นมาชน กรณีแบบนี้ระดับ Top Leader ของประเทศนั้นๆ ต้องมาพบกับบอร์ดบริหารเพื่อชี้แจง รวมทั้งหาแนวทางการป้องกันร่วมกัน

 

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือนี้ไม่ใช่แค่ทางฝั่งของเอสซีจีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนยังสามารถทำให้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการ Collaboration ซึ่งทำได้ 2 แนวทาง 1.การรวมกลุ่มกับอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกัน  หรือเหมือนกัน ถึงแม้ว่าในทางธุรกิจแล้วจะเป็นคู่แข่งกัน แต่เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเราต้องให้ความร่วมมือ แชร์ประสบการณ์กันได้ ยกตัวอย่างเช่น สมาคมเพื่อนชุมชนที่เกิดจากการรวมกันของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในมาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อยกระดับมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน เพื่ออุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ดูแลเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการศึกษา เริ่มแรกก็มีเพียงแค่ 5 โรงงานตั้งต้น แต่ปัจจุบันมีโรงงานเข้าร่วมเพิ่มอีก 11 แห่ง กลายเป็นคอมมูนิตี้ที่ใหญ่ขึ้น มีพลังมากขึ้น 2. การร่วมมือกับ Supply Chain คู่ค้า ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ตลอดจนลูกค้า ตัวอย่างเช่น การที่เอสซีจีมีการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการขับรถให้กับคู่ค้าของเอสซีจี ถึงแม้ว่าองค์ความรู้แบบนี้อาจทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่หากช่วยลดอุบัติเหตุได้ ก็เป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อสังคม

scg sustainable development2

 

นอกจากผู้บริหารจาก เอสซีจีแล้ว ภายในงานเดียวกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ สมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งแสดงความคิดเห็นในภาพรวมเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

การเข้าสู่เออีซีอย่างยั่งยืนสำหรับไทยต้องใช้หลัก 2S คือ Self-Sufficiency Economy หรือความพอเพียง และ Synergy คือ การรวมตัวกันเพื่อสร้างพลังร่วมให้เกิดการเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย  3 เงื่อนไข คือ

1. มีความพอดี (Sufficiency) คือ เติบโตอย่างสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องระวังไม่ให้เกินตัว และระวังเรื่องการเงินที่ต้องใช้อย่างรอบคอบ

2. การมีเหตุผล มีหลักการคิดรอบด้าน คำนึงถึงผลกระทบทุกกลุ่ม จะต้องดูแลให้ธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เดินไปได้ด้วยกัน

3. มีภูมิคุ้มกันที่ดี ในเรื่องการบริหารความเสี่ยง

 

หลักทั้ง 3 ด้านนี้ต้องตั้งอยู่บนความเข้าใจร่วมกันของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ความรอบรู้ คุณธรรม และธรรมาภิบาล สิ่งเหล่านี้สัมผัสไม่ได้ แต่รู้เห็นได้ ถ้าเราไม่เอาจริงเอาจังจะตามไม่ทัน แต่ที่สำคัญคือเราต้องพยายามเดินไปด้วยกัน

 

ส่วนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เดวิด เพียร์สัน ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดีลอยท์ โกลบอล ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกแล้ว เพราะในวันนี้ผู้บริโภคเองก็รับรู้ถึงกระบวนการคิดและลงมือทำ ได้อย่างง่ายดาย วันนี้ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นความจำเป็นที่ทุกองค์กรจะต้องทำ นอกจากจะเป็นกฎของตลาดหลักทรัพย์ที่หลายประเทศได้กำหนดให้จัดทำรายงานเพื่อความยั่งยืน  นักลงทุน และผู้ถือหุ้น จะตั้งคำถามว่าธุรกิจของคุณทำอะไรไปแล้วบ้าง ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้จะถูกเปิดเผยและเป็นที่รับรู้มากขึ้น ธุรกิจจึงไม่ได้เดินอยู่โดยลำพัง หากจะต้องเจอกับความคาดหวังและความท้าทายที่ว่า เราจะลงมือทำกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปอย่างไรให้เกิดผล และเกิดกระบวนการทำงานร่วมกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน อย่างต่อเนื่อง”

 

กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ยังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนในวันนี้เป็นเทรนด์ที่สำคัญของโลก และผู้ประกอบการทุกระดับในประเทศไทยก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้เช่นกัน ตามบทบาทและกำลังของตัวเอง เพราะประเทศไทยในวันนี้กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  “อาเซียนเป็น Growth Energy ของโลกที่ทั่วโลกเข้ามาลงทุน Global Firm จะเข้ามาและเอา Mind Set รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามา  เหมือนที่เอสซีจีจัดงานสัมมนาในวันนี้ ก็เปิดโอกาสให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กเข้าร่วมด้วย ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ พัฒนาต่อไป และเอสซีจีก็พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษา สำหรับธุรกิจหรือองค์กรที่ต้องการนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยกันสร้างเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นทั่วทั้งอาเซียนต่อไป”

 

scg Karn CEO

กานต์ ตระกูลฮุน

 

[Advertorial]


แชร์ :

You may also like