HomeBrand Move !!แฟชั่นไทยเดือด H&M บุกตลาดทวงแชมป์เบอร์ 1

แฟชั่นไทยเดือด H&M บุกตลาดทวงแชมป์เบอร์ 1

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หลังจาก Uniqlo แบรนด์ดังจากญี่ปุ่นเข้ามาทำตลาดไทยได้หนึ่งปีเต็ม ถึงเวลาของ H&M (เอชแอนด์เอ็ม)  Fast Fashion อันดับหนึ่งของโลกจากสวีเดนเข้ามาบุกตลาดไทยอย่างเป็นทางการเสียที ณ  ใจกลางกรุงเทพฯ สยามพารากอน  ขณะที่แบรนด์ ZARA ที่อยู่ข้างกันต้องปิดสโตร์เพื่อปรับลุคของตัวเองใหม่เพื่อทานกับกระแสของ H&M    H&M ประเทศไทยเป็นถูกนำเข้ามาโดย มร.เจ เอส กิลล์ (J.S Gill) ซีอีโอ บริษัท Hthai จำกัด  ผู้คร่ำหวอดและมีประสบการณ์ในด้าน International Retailer มาอย่างยาวนาน  หรือ อดีตผู้นำเข้าแบรนด์แฟชั่นสุดหรูอย่าง ZARA มาก่อน

H&M  เปิดตัวครั้งแรกในงาน VIP Night  วันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา(ก่อนวันจริง 29 ก.ย.)  ซึ่ง H&M ให้ความสำคัญต่อค่ำคืนนี้อย่างมาก แหล่งข่าวรายงานว่า  งานเปิดตัวครั้งนี้ทีมจากสำนักงานใหญ่สวีเดนมาคุมงานเปิดตัวเองโดยเฉพาะ  ทีมสิงคโปร์ดูแลด้านความปลอดภัย (สังเกตุได้จากมีการ์ดเต็มงานอย่างรัดกลุม) และทีมเกาหลีดูแลด้านการจัดรูปแบบสโตร์

 

H&M ประเทศไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 47  โดยปัจจุบันมีอยู่ทั้ง 2,600 ร้านทั่วโลก  โดยเริ่มสาขาแรกที่  สยามพารากอน มีสองชั้นเนื้อที่กว่า 3,200 ตารางเมตร  และสาขาที่ 2  คือ เดอะมอลล์บางกะปี ซึ่งเตรียมเปิดภายในสิ้นปี 2012   โดยสาขาพารากอนจะจับกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่  และ สาขาเดอะมอลล์บางกะปิ จะเป็นกลุ่มของคนไทย 100%

 

“ในเรื่องแพลนการขยายสาขา H&M ทั่วโลกตั้งเป้าหมายขยาย 10-15% ต่อปี  อย่างเช่น  อาทิตย์ที่แล้วเปิดสาขาที่ประเทศมาเลเซีย และเม็กซิโกเร็วนี้  ส่วนในประเทศไทยเราเองก็มีแพลนในปี 2013 ที่สาขาเซ็นทรัลเวิล์ด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตอนนั้นด้วย”  อรอุมา ชวลิตธำรงค์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ กล่าว

 

บรรยากาศ VIP Night

เสื้อผ้าของ H&M  ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ  คือ  ผู้หญิง(Women)  ผู้ชาย(Men) เด็ก(Kid) และ วัยรุ่นเฉพาะ (Divided Youth)  ด้วยการออกแบบจากดีไซน์เนอร์ in-house กว่า 150 ชีวิต จึงทำให้มีสินค้าใหม่เข้าร้านเกือบทุกวัน  Collection จะเหมือนกันทั่วโลก 80% และ 20% ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละประเทศ โดยที่จะเปลี่ยนคอลเล็คชั่นทุกๆ 2 อาทิตย์  เนื่องจากไม่ต้องการทำสินค้าออกมาเหลือเยอะเกินความจำเป็นซึ่งเป็นการสร้าง Sustainability ต่อสิ่งแวดล้อม  พร้อมทั้งดีไซเนอร์จะ Forecast เทรนด์ล่วงหน้าไว้ 6-8 เดือนโดยประมาณ

H&M ยึด Motto 3 คำ  คือ Fashion ที่มีดีไซน์ทันสมัยเป็นเอกลักษณ์ , Quality คุณภาพการตัดเย็บ และ Best Price  ราคาที่เหมาะสม ที่ทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก  และเร็วนี้จะมีคอลเล็คชั่นพิเศษกับ แอนนา เดลลา รุซโซ บรรณาธิการแฟชั่นของนิตยสาร Vogue ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยสร้าง Value ให้กับแบรนด์ได้อีกทางหนึ่ง

ส่วนในแง่การกลยุทธ์การตลาดและสื่อการตลาดของ H&M ถือว่ายังด้อยกว่า Uniqlo อยู่มากโข  ทั้งการประชาสัมพันธ์  การจัดกิจกรรมทางการตลาดที่น้อยกว่า  ขณะที่ Uniqlo โหมด้านดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง พร้อมทั้งมีกิจกรรมเอ้าท์ดอร์มากมายให้ผู้บริโภคคนไทยได้รู้จักแบรนด์ก่อนและกระตุ้นความต้องการ หากจำได้จะเห็นภาพของคนจำนวนมากต่อคิวหน้าห้างเซ็นทรัลเวิล์ดเมื่อปีที่แล้ว  ส่วน H&M เพียงใช้สื่อ Traditional ในการสร้างการรับรู้เท่านั้น  เช่น  การ wrap ขบวนรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้า ถุงช๊อปปิ้งขนาดใหญ่หน้าห้างฯ  นอกจากนี้มีดิจิตอลแคมเปญเล็กๆผ่าน Instagram เท่านั้น  และการแจกส่วนลด 2,000 บาท แก่ 150 คนแรกที่มาต่อคิวร้านเปิด (29 ก.ย.)

 

แต่ต้องคอยติดตามว่า H&M จะเดินเกมส์บุกตลาดนี้อย่างไร เพื่อให้สมกับเป็นเบอร์ 1 ของตลาด Brand Buffet จะติดตามมาอัพเดท

 

Did you know :

Top 9 Best Fashion Brands  by Intetrbrand 2012

1. Louis Vuitton (#17)

2. H&M (#23)

3. Zara (#37)

4. Gucci (#38)

5. Hermes (#63)

6. Burberry (#82)

7. Prada (#84)

8. Ralph Lauren (#91)

9. Gap (#100)

 

FYI :

บริษัท H&M Hennes & Mauritz AB (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในสวีเดนเมื่อพ.ศ. 2490  และได้รับการ Quote โดย NASDAQ OMX ในกรุงสต๊อกโฮล์ม  แนวคิดด้านธุรกิจขององค์กร  คือนำเสนอแฟชั่นและเครื่องแต่งกายที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม  นอกเหนือจากแบรนด์ของ H&M แล้ว กลุ่มของบริษัทยังประกอบด้วยแบรนด์ย่อยอื่นๆ ได้แก่ COS , Monki, Weekday และ Cheap Monday รวมไปถึง H&M Home ด้วยเครือบริษัท H&M Group มีร้านค้าของตนเองทั้งสิ้นรวม 2,600 สาขาใน 44 กลุ่มตลาดทั่วโลก รวมถึงตลาดแฟรนไชส์ด้วย  ในปี 2554 ยอดขายรวมภาษีมูลค่าเพิ่มขององค์กรคิดเป็นมูลค่ารวมได้ถึง 129,810 ล้านโครนาสวีเดน (SEK) และมีจำนวนบุคลากรขององค์กรมากกว่า 94,000 คน


แชร์ :

You may also like