HomeInsightจีน ซุ่มครองโลกทุ่มกว่า 245 พันล้านเหรียญ กว้านซื้อกิจการทั่วโลก หวังสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

จีน ซุ่มครองโลกทุ่มกว่า 245 พันล้านเหรียญ กว้านซื้อกิจการทั่วโลก หวังสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

แชร์ :

resize-shutterstock_358671599

ถ้าจะกล่าวว่าการเข้าซื้อบริษัทต่างประเทศ เป็น “ทางลัด” ที่ทำให้จีนกลายมาเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีการค้าการลงทุนระดับโลกคงไม่ผิดนัก…

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ย้อนกลับไปก่อนปี 2013 การค้าการลงทุนในต่างประเทศของจีน ยังอยู่ในยุค “Old Economy” คือ การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหมืองแร่ เหล็ก พลังงาน โดยบริษัทจีนที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ใช้วิธีเข้าซื้อกิจการในอุตสาหกรรมหนักเหล่านี้ เช่น ซื้อบริษัทพลังงานในแคนาดา, บริษัทผลิตเหล็กในออสเตรเลีย, เหมืองทองแดงในทวีปแอฟริกา ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของการซื้อกิจการ เป็นบริษัทด้านพลังงาน และบริษัทสินค้าโภคภัณฑ์

แต่หลังจากนั้นมา ระบบเศรษฐกิจของจีน เริ่มขยับจากยุค “Old Economy” ก้าวไปสู่ “New Economy” นั่นคือ การลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยี และสร้างแบรนด์ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีบริษัทจีนหลายราย ที่เป็น Private Company สามารถขยับจากการเป็น Local Company ไปสู่การเป็น Regional Company และพัฒนาเป็นกลุ่มทุนระดับ Global Company ได้สำเร็จ เช่น Huawei, Tencent, Alibaba

resize-china-oversea-investment_02bloomberg

Photo Credit : Bloomberg

เวลานี้ กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากแดนมังกรได้ขยายอาณาจักรไปยังต่างแดนมากขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนในบริษัทต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโมเดลควบรวมกิจการ ซื้อกิจการ หรือร่วมทุน ในยุค New Economy ของจีน ไม่ได้มุ่งไปที่ภาคอุตสาหกรรมหนักเหมือนเช่นในอดีต แต่เน้นลงทุนในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ที่เป็นเทรนด์ทั้งในวันนี้และอนาคต อาทิ ธุรกิจเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต/ซอฟท์แวร์ พลังงานทางเลือกใหม่ ค้าปลีก การเงิน อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการซื้อสโมสรกีฬา และลงทุนในธุรกิจเอนเตอร์เทนเม้นต์

โดยในปี 2016 ที่ผ่านมา พบว่ามูลค่าเม็ดเงินที่กลุ่มทุนจีนใช้ในการควบรวมกิจการ และซื้อบริษัทต่างประเทศ อยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 245.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 145% จากปี 2015

resize-china-oversea-investment_03bloomberg

Photo Credit : Bloomberg

resize-china-oversea-investment_04bloomberg

Photo Credit : Bloomberg

ตัวอย่างของกลุ่มทุนจีน เข้าไปลงทุนในบริษัทต่างประเทศ เช่น “Alibaba Group” ปัจจุบันไม่ได้มีแค่เพียงธุรกิจ E-Commerce เท่านั้น แต่ได้ขยายการเติบโตออกไปยังธุรกิจอื่นอีกมากมาย ทั้ง Alipay บริการด้าน Payment Gateway การซื้อกิจการ Lazada เพื่อบุกตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ยังลงทุนในธุรกิจกีฬา เช่น เข้าถือหุ้นในสโมสรกีฬาต่างๆ และจับมือกับกลุ่มทุนจีน ลงทุนใน LeTV Sports เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ Sport Video Streaming รวมถึงเข้าสู่อุตสาหกรรมบันเทิงของอเมริกา ร่วมทุนผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูด เพื่อต่อยอดไปสู่การให้บริการดิจิทัลคอนเทนต์

จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การลงทุนของ Alibaba กระจายไปยังกลุ่มธุรกิจต่างๆ เพื่อให้แต่ละธุรกิจเป็นจิ๊กซอว์ในการต่อภาพ Business Ecosystem หรือระบบนิเวศธุรกิจของกลุ่ม Alibaba ที่อยู่บนพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น E-Commerce, Cloud Computing, Digital Media, Entertainment และนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งระบบโลจิสติกส์ และบริการในท้องถิ่น

สำหรับในปี 2017 จะยังคงปรากฏภาพกลุ่มทุนจีน ลงทุนในบริษัทต่างประเทศมากขึ้นอย่างแน่นอน !!

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางโอกาสทางธุรกิจมากมายในต่างแดน ก็ใช่ว่ามังกรจีนจะผงาดโดยไร้อุปสรรค เพราะมีเหตุปัจจัย ทั้งภายนอกจีน และภายในประเทศ ที่อาจทำให้กลุ่มทุนจีนต้องชะลอการเข้าซื้อกิจการบริษัทต่างชาติ

ปัจจัยภายนอก เช่น ภาครัฐ และหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนในแถบประเทศตะวันตก ได้ส่งสัญญาณเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด และออกมาตรการเข้มงวดในการเข้ามาลงทุนของบริษัทจีน เช่น คณะกรรมการด้านการลงทุนของต่างประเทศในสหรัฐฯ ได้ระมัดระวังกับการที่บริษัทต่างชาติจะเข้าซื้อกิจการในสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งมีรายงานว่าที่ผ่านมาจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในสหรัฐฯ มากที่สุด หรือแม้แต่รัฐบาลในกลุ่มสหราชอาณาจักร มีแผนจะสร้างกระบวนการตรวจสอบการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญ

ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศจีน มาจากนโยบายการค้าการลงทุนของรัฐบาล, นโยบายลดค่าเงินหยวน ย่อมส่งผลกระทบต่อบริษัทจีนที่กำลังอยู่ระหว่างซื้อกิจการ หรือควบรวมบริษัทต่างชาติ และนโยบายการให้กู้ยืมเงินของภาคธนาคารในจีน

 

Source

Credit Photo (รูปเปิด) : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 

 


แชร์ :

You may also like