เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้มากขึ้นในโลกปัจจุบัน นั่นคือการอยู่อย่างโดดเดี่ยว จนกลายเป็นสังคมแห่งความเหงา ซึ่งหนึ่งในเมืองที่พบปัญหาดังกล่าวก็คือกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ และทำให้ The Seoul Metropolitan Government ตัดสินใจทุ่มงบประมาณกว่า 450,000 ล้านวอน (ประมาณ 330 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในระยะเวลา 5 ปี เข้ามาช่วยอุดช่องว่างทางจิตใจนี้ให้กับชาวเมือง
แผนการต่าง ๆ ภายใต้งบประมาณสูงลิ่วนี้มีตั้งแต่การเปิดร้านสะดวกซื้อ “Seoul Maeum Convenience Store” สำหรับเป็นศูนย์สุขภาพจิต แถมยังให้บริการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปฟรีที่คนเหงาเข้ามาใช้บริการได้ หรือถ้าใครไม่สะดวกออกมา ก็มีสายฮอตไลน์ 24 ชั่วโมงที่สามารถโทรปรึกษาปัญหาชีวิตได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนเหงาในเกาหลีใต้อาจจะรุนแรงจริง ๆ เพราะสายฮอตไลน์ที่เพิ่งเปิดให้บริการในเดือนเมษายนนั้น พบว่ามีคนโทรเข้ามาปรึกษามากถึง 3,088 ราย (เป็นตัวเลขในวันที่ 8 พฤษภาคม ซึ่งทะลุเป้าที่โครงการตั้งไว้ว่า จะมีคนโทรมาปรึกษาปัญหาราว 3,000 ครั้งต่อปีเรียบร้อย)
ปัญหาคนเหงาของเกาหลีใต้ได้รับการขยายภาพให้เห็นชัดขึ้นผ่านผลการสำรวจของ the South Korean Ministry of Health and Welfare ที่พบว่า การเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว (มีทั้งการฆ่าตัวตายเอง และการเสียชีวิตจากอาการเจ็บป่วย-ต้องอยู่เพียงลำพัง) กำลังเพิ่มขึ้น จาก 3,378 เคสในปี 2021 เป็น 3,661 เคสในปี 2023
ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า กรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้คือเมืองที่มีปัญหาดังกล่าวรุนแรงเป็นอันดับต้น ๆ โดยข้อมูลจาก The Korea Herald ระบุว่า 35% ของ “ครัวเรือน” ที่อาศัยอยู่ในกรุงโซลนั้นเป็นการอยู่อาศัย “เพียงลำพัง”
ขณะที่ ผลการศึกษาของ Seoul Institute ในปี 2023 พบว่า 62% ของผู้ที่อยู่อาศัยเพียงลำพังในเกาหลีใต้ยอมรับว่าตัวเองรู้สึกโดดเดี่ยว และมี 13.6% ยอมรับว่า มีการแยกตัวออกมา – ตัดขาดจากสังคม และผลสำรวจยังชี้ด้วยว่า มีประชากรอายุระหว่าง 19 – 39 ปี ราว 130,000 คนใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง
แผนช่วยเหลืออื่น ๆ จึงเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม “Everyone’s Friend” ซึ่งเป็นโปรแกรมฝึกอบรมผู้ที่เคยอยู่โดดเดี่ยวให้สามารถช่วยเหลือและให้กำลังใจผู้อื่นได้ รวมถึงมีการตั้งหน่วยงานชื่อ “Seoul Isolation Prevention Centre” สำหรับเข้าช่วยเหลือผู้ที่ถูกตัดขาดจากสังคม โดยจะมีการติดต่อไปหาคนเหล่านั้นผ่านการโทรเยี่ยมบ้าน หรือช่องทางดิจิทัล เพื่อไม่ให้คนเหล่านั้นรู้สึกเหงาเกินไป
นอกจากนั้นยังมีโครงการอื่น ๆ เช่น Warmth Mailbox ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่รู้สึกเหงาสามารถเขียนจดหมายระบายความรู้สึกโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน และจะได้รับการตอบกลับจากอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรม ฯลฯ เป็นต้น
นโยบายเหล่านี้สะท้อนถึงความพยายามของกรุงโซลในการแก้ไขปัญหาความเหงาอย่างเป็นระบบ ผ่านมาตรการที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ในสังคมและการสนับสนุนทางจิตใจแก่ประชากรที่ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยวในการใช้ชีวิต ซึ่งบางครั้งการแก้ปัญหาเหล่านั้น