HomeBrand Move !!ทรูบิสิเนส x อินเทล เปิดตัวโซลูชัน AI-IoT เจาะธุรกิจโรงพยาบาล

ทรูบิสิเนส x อินเทล เปิดตัวโซลูชัน AI-IoT เจาะธุรกิจโรงพยาบาล

แชร์ :

คุณพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และคุณฉันทนา สุวรรณวงษ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

กระแสการ Collab มาแรงไม่เฉพาะในวงการน้ำดำ เพราะในโลกเทคโนโลยีก็มีการ Collab กันของสองแบรนด์ใหญ่ นั่นคือ ทรูบิสิเนส และอินเทล เพื่อขยายธุรกิจสู่บริการทางการแพทย์ นำโซลูชัน AI – IoT เข้าพลิกโฉมวงการสาธารณสุขไทย  ด้านผู้บริหารทรูเผย โรงพยาบาลไทยรายใดมีโซลูชันทางการแพทย์ และต้องการบุกตลาด ก็พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ด้านการขายให้เช่นกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับตัวอย่างโซลูชันด้านการแพทย์ที่ทรูบิสิเนสและอินเทลเตรียมนำมาบุกตลาดสาธารณสุขไทย เช่น

  • Telemedicine and Tele ICU บริการการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่าย 5G โดยมีแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลและประวัติของผู้ป่วย บันทึกทุกการดำเนินการทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยและรักษา การนัดพบแพทย์ การผ่าตัด พร้อมแสดงข้อมูลผ่านแดชบอร์ดเพื่อให้แพทย์สามารถให้คำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์จากระยะไกล ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และลดความจำเป็นในการเดินทางไปโรงพยาบาล
  • Future of Large Language Model (LLM) แพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบประวัติผู้ป่วยและวิเคราะห์อาการเบื้องต้น โดยผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลส่วนบุคคลและอาการเจ็บป่วย ระบบ AI จะช่วยวิเคราะห์อาการร่วมกับข้อมูลทางการแพทย์ที่ทันสมัยล่าสุด พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ รวมถึงขั้นตอนถัดไปในการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากขึ้น ลดขั้นตอนและเวลาในการพบแพทย์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด้วย
  • Pathology as a Service แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีสแกนชิ้นเนื้อเพื่อแปลงภาพพยาธิวิทยาเป็นดิจิทัล ซึ่ง AI สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้กระบวนการทดสอบตัวอย่างชิ้นเนื้อและเลือดมีความรวดเร็วมากขึ้น จึงช่วยให้นักพยาธิวิทยาทำงานได้เร็วขึ้น เพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวินิจฉัย การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกจึงทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันท่วงที เช่น การพยาธิวิทยาดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถตรวจพบมะเร็งได้ภายในไม่กี่นาที
  • Ophthalmology as a Service แพลตฟอร์มที่ให้บริการสำหรับการวิเคราะห์และคัดกรองจักษุวิทยา เช่น จอประสาทตาเสื่อมจากอายุและเบาหวาน โดยใช้กล้องเรตินาที่ขับเคลื่อนด้วย AI และคอมพิวเตอร์วินิจฉัยแบบอัตโนมัติ ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาทีในกระบวนการตรวจวิเคราะห์อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องใช้ยาหยอดขยายม่านตาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตา โดยชุดผลิตภัณฑ์ที่รองรับ AI ของอินเทล ช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจพบโรค เช่น เบาหวานขึ้นตา ความหนาแน่นของกระดูกในโรคกระดูกพรุน และพยาธิวิทยาสำหรับมะเร็งเต้านมและมะเร็งไต
  • Digital Patient Twin (Patient Management as a Service – PMaaS) โซลูชันสำหรับการดูแลผู้ป่วยและความปลอดภัยแบบ Contactless โดยข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คุณภาพการนอนหลับ และตำแหน่งของผู้ป่วยบนเตียง จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดานห้องพักระดับเหนือเตียงผู้ป่วย พร้อมเชื่อมโยงไปยังศูนย์กลางเพื่อรวบรวมและแจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติ จึงช่วยให้สามารถดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วยในการตรวจวัดค่าต่างๆ เป็นประจำ
  • Residential Care Management แพลตฟอร์มสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ด้วยอุปกรณ์ Edge IoT และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนรถเข็น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต บันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล และมีการเชื่อมโยงกับระบบของโรงพยาบาล ซึ่งสามารถแจ้งเตือนทันทีเมื่อพบความเสี่ยงหรือสิ่งผิดปกติ
  • Transforming of PACS (Picture Archiving and Communication System) โซลูชันระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (Medical Images) หรือภาพถ่ายทางรังสี ผ่านแพลตฟอร์ม AI

ธุรกิจมองหา “โซลูชัน” ไม่ใช่เทคโนโลยี

คุณพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยถึงการรุกตลาดสุขภาพ – สาธารณสุขด้วยการจับมือกับอินเทลในครั้งนี้ว่า มาจากความต้องการของภาคธุรกิจ โดยผู้บริหารทรูบิสิเนสเผยว่า ภาคธุรกิจมองหาโซลูชันที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง การจับมือกับอินเทลในครั้งนี้จึงเชื่อว่าจะสามารถสร้าง Awareness ให้กับหน่วยงานทางการแพทย์ของไทยได้

ส่วนการนำไปใช้งานจริงนั้น หลาย ๆ เทคโนโลยีอยู่ระหว่างการขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ซึ่งหากขออนุญาตเรียบร้อยแล้วจึงจะสามารถทำตลาดในไทยได้อย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ดี ในการบุกตลาดช่วงแรกนั้น คาดว่าจะเน้นไปที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ก่อน เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมาก (ทั้ง รพ.รัฐและ รพ.เอกชน) โดยบริษัทมีโรงพยาบาลเป้าหมายประมาณ 20 แห่ง

คุณพิชิตกล่าวต่อไปด้วยว่า ปัจจุบันรายได้หลักของทรูบิสิเนสยังมาจาก Core Business เช่น การเชื่อมต่อต่าง ๆ ผ่านเครือข่าย 5G, Cloud, Wi-Fi การรุกบริการทางกายแพทย์ครั้งนี้จึงถือเป็นส่วนของ Beyond Core พร้อมคาดการณ์มูลค่าตลาดของธุรกิจทางการแพทย์ในไทยว่ามีแนวโน้มสูงถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว

 


แชร์ :

You may also like