HomeSponsoredผ่ากลยุทธ์แบรนด์ 70 ปี “มาสด้า” จาก Zoom-Zoom ถึง Feel the Drive สร้างฐานแฟนตัวจริง สู่การเป็นแบรนด์ในใจผู้บริโภค ที่ขับแล้ว รักเลย เน้นลูกค้าตลอดชีพ

ผ่ากลยุทธ์แบรนด์ 70 ปี “มาสด้า” จาก Zoom-Zoom ถึง Feel the Drive สร้างฐานแฟนตัวจริง สู่การเป็นแบรนด์ในใจผู้บริโภค ที่ขับแล้ว รักเลย เน้นลูกค้าตลอดชีพ

แชร์ :

จากแบรนด์ยนตรกรรมเล็ก ๆ กระทั่งก่อร่างสร้างแบรนด์จนแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ที่ชื่นชอบรูปแบบการพัฒนารถยนต์ของ “มาสด้า” (Mazda) ทั้งเรื่องของดีไซน์และสมรรถนะที่สร้างจุดขายที่แตกต่างในอุตสาหกรรมรถยนต์ และยังคงสืบสานความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นประสบการณ์ที่มอบให้ผู้ขับขี่ สอดคล้องกับกลยุทธ์แบรนด์ ที่มุ่งเน้นการรักษาและปั้นฐานแฟนตัวจริงเสียงจริงที่จะช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้กับแบรนด์ในอนาคต

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ผงาดมอเตอร์โชว์ 2024 ชูคอนเซ็ปต์ “Love of Cars

คุณธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้รายละเอียดว่า “ปีนี้เรามีการปรับเปลี่ยนคอนเซปต์บูธมอเตอร์โชว์ของมาสด้าใหม่หมดเลย โดยนำเสนอภายใต้ Key Message “Love of Cars” ที่ได้แรงบันดาลใจจากการมีลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งในทุกประสบการณ์ของการเดินทาง เป็นศูนย์รวมความสุขของผู้ที่รักในรถยนต์อย่างแท้จริง

ภายในบูธมาสด้า แบ่งออกเป็น 4 โซน โซนแรกคือโซนที่อยู่บนเวที นำเสนอเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นผ่าน Mazda MX-30 e-SKYACTIV R-EV รถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่เป็นปลั๊กอินไฮบริดได้เช่นเดียวกัน สามารถชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่โดยใช้เครื่องยนต์โรตารี่เป็นเจเนอเรเตอร์ในการปั่นไฟและขับด้วยกำลังไฟฟ้าได้ระยะทางมากกว่า 600 กิโลเมตร นับเป็นการกลับมาของเครื่องยนต์โรตารี่ในตำนานของมาสด้า

โซนที่สองคือ You & Mazda Moments มาสด้าทำธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 70 ปี จนปัจจุบันเรามีฐานลูกค้าถึง 7 แสนคน และมีฐานลูกค้าในระบบที่เข้าใช้ศูนย์บริการกว่า 4 แสนคน หรือ 4 แสนคัน จึงเชิญชวนให้ลูกค้าเหล่านี้ ส่งภาพถ่ายเพื่อแบ่งปันช่วงเวลาแห่งความผูกพันที่พวกเขามีกับรถมาสด้า และมาสด้าก็ได้คัดเลือกภาพบางส่วนมาจัดแสดงไว้ในโซนนี้

“ส่วนโซนที่ 3 ใช้ชื่อว่า The Memorable Love of Cars เราเชื่อว่าทุก ๆ คนเติบโตมากับรถเด็กเล่น เราจึงเชิญชวนให้ลูกค้าที่มีรถเด็กเล่นที่ไม่ได้ใช้แล้วบริจาคผ่านเรา เพื่อนำไปมอบให้กับเด็ก ๆ ด้อยโอกาส ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับจากแฟน ๆ มาสด้าค่อนข้างดี มีลูกค้าและผู้ที่สนใจบริจาครถเด็กเล่นทั้งสิ้น 500 คัน และมาสด้าสมทบเพิ่มอีก 1,000 คัน รวมเป็น 1,500 คัน โดยรถของเล่นที่ได้รับบริจาคมาได้นำมาจัดแสดงบนผนังด้วย พร้อมกันนี้จากการที่มาสด้าให้ความสำคัญและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนารถสปอร์ตที่เป็นดีเอ็นเอของมาสด้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดแสดง Mazda MX-5 โมเดลใหม่ ซึ่งไฮไลท์ของรุ่นนี้คือเป็นรถสปอร์ตโรสเตอร์ สองประตู เปิดประทุน และรุ่นนี้เป็นรถสปอร์ตขายดีที่สุดในโลกตามกินเนสบุ๊ก เวิลด์ เรคคอร์ด ด้วยยอดขายทะลุ 1 ล้านคัน”

“สุดท้ายคือโซนที่ 4 จัดแสดงรถยนต์ทุกรุ่นของมาสด้า รวมถึงมีการเปิดตัว Mazda BT-50 โมเดลปี 2024 ด้วย โดยอีกมุมหนึ่งในโซนนี้เป็นมาสด้า 6 ซึ่งเป็นรุ่นพิเศษครบรอบ 20 ปี นำเข้าจากญี่ปุ่น เป็นแฟลกชิปของพาสเซนเจอร์คาร์ของมาสด้า โดยที่มีจำนวนจำกัดเพียง 100 คันเท่านั้น”

“การที่เราเปลี่ยนมาใช้คอนเซ็ปต์ Love of Cars จึงทำให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะปัจจุบันตลาดรถยนต์ค่อนข้างที่จะซับซ้อนมากขึ้น มีคู่แข่งแบรนด์จีนเข้ามา มีการปรับเปลี่ยนมุมมองของลูกค้าในเชิงเทคโนโลยีและคุณค่า แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในปัจจุบัน ต้องการความมั่นใจ ต้องการแบรนด์ที่สะท้อนตัวเอง แบรนด์ที่ตัวเองอยากเป็นแบบนั้น กระทั่งตกผลึกว่าเทคโนโลยีมีเหมือนกันทุกแบรนด์ แต่สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างได้คือเรื่องของการสร้างแบรนด์ และก็พิสูจน์แล้วว่าตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีที่มาสด้าลงหลักปักฐานในไทย เราไม่ได้ทำอะไรที่เป็น short term แต่เป็น long term”

Fan-Based Marketing ปั้นแฟนพันธุ์แท้เป็นกระบอกเสียง

ในฐานะแบรนด์ที่มีรากฐานแข็งแกร่งจากแฟนคลับตัวจริงเสียงจริง มาสด้าจึงเลือกทำการตลาดเพื่อสะสมแฟนพันธุ์แท้ให้กลายมาเป็นกระบอกเสียงของแบรนด์ สร้าง Organic Advocacy ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการสะท้อนสิ่งที่ลูกค้าได้รับและเกิดความรู้สึกประทับใจ ยินดีที่จะถ่ายทอดและแบ่งปัน กระทั่งเชิญชวนให้คนรอบข้างร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับครอบครัวมาสด้าด้วย

สำหรับเป้าหมายของแบรนด์มาสด้าหรือแบรนด์มาสด้าในอุดมคติคือ เป็นแบรนด์ที่มี “ลูกค้าตลอดชีพ” คอยเลือกและแนะนำรถยนต์มาสด้าให้กับคนอื่นอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นขั้นกว่าของลูกค้าที่จงรักภักดี คือเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นเพียงแบรนด์เดียว ที่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากแฟน ๆ ที่กระตือรือร้นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าแม้จะมีจำนวนไม่มากนัก และการที่จะทำให้เป้าหมายดังกล่าวประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องสร้างคุณค่าแบรนด์นอกเหนือจากฟังก์ชัน Funtional นั่นคือการสร้างคุณค่าทางอารมณ์ Emotional ไม่ใช่แค่ให้ความสนุกในการขับขี่เท่านั้น แต่ต้องช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้บริโภค

การเพิ่มลูกค้าตลอดชีพ หมายถึง การมีอัตราการรักษาฐานลูกค้าเดิมเป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรม มุ่งมั่นที่จะสร้างแบรนด์ที่ได้รับการสนับสนุนอันจากความรักความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า จัดทำข้อเสนอ Preferred Customer Program (PCP) / Targeted Customer Program (TCP) ซึ่งครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนโสด คู่รัก ครอบครัว และผู้สูงอายุ หรือในไลฟ์สไตล์รูปแบบอื่น ๆ

ด้วยกลยุทธ์ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้มาสด้าเป็นบริษัทรถยนต์อันดับต้น ๆ อันเป็นที่รักของลูกค้าที่สร้าง “Moving Experiences” ผ่าน “ความสนุกสนานในการขับขี่” ช่วยสร้างอนาคตของโลกที่ยั่งยืนโดยการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัยในการขับเคลื่อนได้อย่างอิสระ ด้วยการจัดหาเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนเราอย่างจริงจัง ตลอดจนส่งเสริม “Joy of Life” ของแต่ละคนโดยมอบประสบการณ์ที่เต็มเปี่ยมและตราตรึงในอารมณ์

นอกจากนี้ การที่มาสด้ามี CX Series อย่าง CX-8 ซึ่งเป็นรถสำหรับครอบครัว ยิ่งฉายภาพให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่ามาสด้ามีรถยนต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกเซกเมนต์ และเป็นที่รักของแฟนคลับจริง ๆ มาสด้าจึงตั้งใจทำหนังโฆษณาที่เบสด้วยรถรุ่นต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เห็นการเติบโตของแบรนด์ที่จับต้องได้ในแต่ละกลุ่มเป้าหมายที่เราขยายครอบคลุมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากแคมเปญ Mazda Million Moment ที่เชิญชวนให้ลูกค้าส่งเรื่องราวความผูกพันและช่วงเวลาดี ๆ กับมาสด้าอีกครั้ง โดยครั้งนี้นอกจากจะนำมาทำเป็นภาพยนตร์โฆษณาแล้วยังพาลูกค้าร่วมเล่นด้วย

บริหาร Customer Experience ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล

คุณธีร์ อธิบายถึงแนวทางการบริหารจัดการประสบการณ์ลูกค้าว่า มาสด้ามองเรื่องเอนเกจเมนท์กับลูกค้าเป็นหลัก มีกิจกรรม CRM กับลูกค้าโดยตลอดในหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจกับความพรีเมียมซึ่งเป็น Position ที่แบรนด์มาสด้าวางไว้ ซึ่งความพรีเมียมไม่ได้หมายความว่าจะต้องแพง แต่เป็น Premium by Absolute Value ซึ่งก็คือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการขับขี่และจากการเป็นเจ้าของในทุกมิติของชีวิต

“ปีนี้เราพยายามจะเน้น Absolute Value โดยที่เน้นการบริหาร Customer Experience ตั้งแต่ก่อนซื้อ การซื้อ และหลังซื้อ มีการใช้ Digital Platform และ Data Oriented Platform เข้ามาช่วย เพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้าให้จำเพาะเจาะจงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายมากขึ้น ตั้งแต่ก่อนซื้อ (Pre-purchase) ก็ใช้ Sky Journey ซึ่งเป็น Sale Prospect Management Platform เพื่อบริหารลูกค้ามุ่งหวัง เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้มาหลายปีแล้วแต่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง ดีลเลอร์จะใช้แพลตฟอร์มในการติดต่อลูกค้าให้เข้าใจความคืบหน้าของขั้นตอนต่าง ๆ ในการซื้อ ตั้งแต่การเข้ามาลงทะเบียนเป็นลูกค้ามุ่งหวังจนกระทั่งถึงการจอง สถานะการจอง สถานะการจัดไฟแนนซ์ ของแถม บุ๊กกิ้ง และส่วนลดต่าง ๆ เป็นต้น ข้อดีคือเรามีทั้งข้อมูลและช่องทางที่จะเข้าใจ พูดคุย และตอบสนองลูกค้าได้ทันที นอกจากนี้ไปในส่วนของประสบการณ์หลังซื้อ (Ownership Experience) เราจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้นทุนของการครอบครอง เน้น Goodwill Management ดูแลรับประกันทั้งในเรื่องของสินค้าและค่าเสียเวลากรณีที่ต้องแก้ไข รวมถึง CRM Management ผ่านหลายแกน เช่น แกนที่เกี่ยวกับการขับขี่ สำหรับลูกค้าที่เข้าใช้ศูนย์บริการของเราตลอด ก็จะมีส่วนลด มีสิทธิพิเศษให้ ส่วนแกนที่เป็นไลฟ์สไตล์ก็จะมีกิจกรรมที่จัดให้ลูกค้าโดยเน้นไลฟ์สไตล์มากขึ้น และมีแผนจะทำให้ทุกอย่างเป็นดิจิทัลมากขึ้นในอนาคต ”

“นอกจากนี้ ถ้าเราจะดูแล Ownership experience ทั้งหมด ต้องสามารถนำเสนอได้เหมือนแบรนด์ใหญ่ยักษ์แบบ Apple ที่ไม่ได้เป็นแค่มือถือ อย่างเช่นเวลาเราเดินเข้าไปในแอปเปิลสโตร์ก็จะรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่าง มีความแตกต่าง เพราะจริง ๆ แล้วประสบการณ์ลูกค้า ไม่ใช่แค่การใช้ iPhone หรือ iPad แต่เป็นประสบกาณ์ของแบรนด์กับลูกค้า ถ้าเปรียบกับแบรนด์รถอย่างมาสด้า ประสบการณ์เหล่านี้อาจจะได้สัมผัสจากการเข้าโชว์รูม ยกตัวอย่างตั้งแต่ปี 2017 มาสด้าเป็นแบรนด์แรกที่ปรับเปลี่ยน Corporate Identity ของโชว์รูมทั้งหมดทั่วประเทศภายในปีเดียว สมัย ZOOM-ZOOM โทนสีและดีไซน์ของโชว์รูมจะเป็นสีและดีไซน์อีกแบบ แต่พอเราเปลี่ยนเป็น Feel the Drive และแนะนำรถ gen 6 ที่เป็นเทคโนโลยี Skyactiv เราปรับ CI เป็นดำ เงิน และปรับทั้งประเทศ นี่ก็คือ experience อย่างหนึ่ง

จากการที่มาสด้าบริหาร Customer Experience ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยคำนึงถึง Customer Journey และทุก touch point ด้วยความใส่ใจ และคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญมาโดยตลอด จึงทำให้แบรนด์มาสด้าสามารถมัดใจลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่น ยาวนาน

ก้าวต่อไปอย่างมาดมั่นและยั่งยืน ด้วยการนำเสนอ Multi-solution

คุณธีร์บอกถึงคอนเซปต์การพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ของมาสด้าว่าจะยึดมั่นตามแนวทาง Multi-solution หรือโซลูชั่นทางเลือกที่หลากหลาย ประกอบด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในประสิทธิภาพสูง มีทางเลือกทั้งเบนซินและคลีนดีเซล (ปล่อยควันเสียน้อย ให้กำลังสูง) โดยยังคงเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นแบรนด์เดียวที่มีข้อเสนอเช่นนี้ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังมีฟูลไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด และแบตเตอรี่อีวี ซึ่งทั้งหมดอยู่ในสิ่งที่กำลังจะนำเสนอแบบครบครันในอนาคต

“เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วลูกค้าจะเป็นคนเลือกเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็น EV ทั้งหมด เพราะทุกวันนี้ยังมีทั้งคนที่ต้องการใช้ EV หรือคนที่อาจจะต้องการใช้รถสันดาปเพราะต้องการขับระยะทางไกล ๆ หรือต้องการ Peace of Mind จริง ๆ ความหมายคือการใช้รถแบบไร้กังวลไม่ต้องวางแผน จะไปไหนไม่ต้องมาคิดเยอะว่าจะมีที่ชาร์จระหว่างทางไหม ซึ่งแต่ละคนก็จะมี Peace of Mind ไม่เหมือนกัน บางคนขับใกล้ ๆ คิดว่า EV ก็พอแล้ว แต่ก็อาจจะกังวลเรื่องราคาขายต่อ ดังนั้นเขาเลยอาจจะใช้ไฮบริดก็พอ ไม่ต้องห่วงเรื่องชาร์จ ราคาขายต่อก็ไม่แย่ ประกันภัยก็ไม่แพง”

อนาคตที่ท้าทายของแบรนด์ “มาสด้า”

นับเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว ที่มาสด้าทำการสื่อสารแบรนด์และสื่อสารองค์กรอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงมาตั้งแต่ ZOOM-ZOOM ที่สร้างการจดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ปีนี้มาสด้าเตรียมเปิดตัวคอนเซปต์การขับเคลื่อนชีวิตด้วยความสุข แคมเปญการสร้างแบรนด์ใหม่ภายในปลายปีนี้ ภายใต้คอนเซปต์ PPV อันได้แก่ Purpose, Promise และ Value โดยเราต้องการที่จะเติมเต็มประสบการณ์ เติมเต็มคุณค่า และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยที่ Key Value ของแบรนด์มาสด้า จะเน้นแก่นแท้ของความเป็นคน Radically Human ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งที่คิดและพัฒนา ส่วน Challenging Spirit คือ ฮิโรชิมา ซึ่งเป็นเมืองที่โดนระเบิดนิวเคลียร์ถล่ม แม้มาสด้าในตอนนั้นจะผลิตเหล็กและรถสามล้อ และอยู่ศูนย์กลางที่ระเบิดลง แต่สามารถใช้เวลาเพียง 3 เดือน ในการกลับมาผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อช่วยให้ผู้คนได้ใช้ยานพาหนะเพื่อการฟื้นฟูเมืองอีกครั้ง ดังนั้นจึงไม่มีความท้าทายใดที่มาสด้าไม่สามารถข้ามผ่านได้ ส่วน Omotemachi คือ การรับรองลูกค้าหรือดูแลลูกค้าให้เหมือนคนในครอบครัว ที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจไม่รู้ลืม เหล่านี้คือ Core Value ของแบรนด์มาสด้า”

“นอกจากนี้ จากการที่มาสด้ามุ่งเน้นในการขับเคลื่อนชีวิต ปีนี้เราจึงมุ่งพัฒนาการอีกขั้นไปสู่ความสมบูรณ์แบบของการใช้ชีวิตซึ่งก็คือ Wellbeing เพราะเราเชื่อว่าการสร้างแบรนด์ไม่ใช่แค่การขายสินค้า แต่จะทำยังไงให้ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น ซึ่งรถเป็นปัจจัยที่ 5 เราต้องการจะเติมเต็มความสมบูรณ์แบบของการใช้ชีวิตด้วยแบรนด์มาสด้า ด้วยการนำเสนอแบรนด์ Wellbeing ทั้งในแง่ตัวบุคคล ด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสังคม เพราะถ้าตัวเราดี และสังคมเราดี ก็จะกลายเป็น Wellbeing Community เพราะฉะนั้นจะเห็นเรื่องราวของมาสด้าที่โตขึ้น เมื่อก่อน 10 ปีที่แล้ว รถมาสด้าขายวัยรุ่นตัวจี๊ด 60% สมัยก่อนขายลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนที่ซื้อรถยนต์คันแรก แต่ตอนนี้ด้วยความที่ลูกค้าครอบครัวเยอะขึ้น กอปรกับว่าอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มจะอิ่มตัว จากที่สมัยก่อนยอดขายรถยนต์แต่ละปีของบ้านเราไม่เคยต่ำกว่า 9 แสน-1ล้านคัน ยิ่งช่วงรถคันแรกทะลุถึง 1.3-1.4 ล้านคัน แต่ปีที่แล้วขายได้แค่ 7 แสนคัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำคือการเน้น Wellbeing นำเสนอคุณภาพให้กับกลุ่มลูกค้า เพราะถึงไม่โตเหมือนในอดีต แต่ตลาดรถยนต์ประเทศไทยแข็งแรงขึ้นในเชิงคุณภาพ ต่อให้ลดลงในเชิงปริมาณก็ตาม เราไม่ใช่ Emerging Market เหมือนเมื่อก่อน แต่จะใกล้เคียงกับตลาดยุโรปมากขึ้น เราจึงต้องเน้นคุณภาพ เพื่อที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ของชีวิตให้กับลูกค้า”

คุณธีร์อธิบายเพิ่มเติมว่า “เราสร้างแบรนด์ เราไม่ได้เน้นรถ เราเน้นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับแบรนด์มาสด้า เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นรถรุ่นไหน ล้วนมี Common Value ที่เหมือนกันคือ ความรู้สึกหลังพวงมาลัย เป็นความมั่นใจ ความเป็นหนึ่งเดียวกับรถ หรือ จินบะ-อิตไต ในแง่ของการขับขี่หรือในแง่ของคุณภาพ รวมถึงในแง่ไลฟ์สไตล์ที่จับต้องได้และตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่ามาสด้าเป็นแบรนด์แรกที่ใช้คำว่า Craftmanship เพราะเราพิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด และมีความประณีตในการเลือกใช้วัสดุคุณภาพสูง การเลือกจับคู่โทนสีต่าง ๆ เหล่านี้เป็นจุดแข็งที่จับต้องได้ นอกเหนือจากสมรรถนะในการขับขี่ รวมถึงความโดดเด่นในเรื่องดีไซน์ที่อยู่ได้นาน จึงไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนดีไซน์บ่อย ๆ ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าของมาสด้าที่จะมีไลฟ์สไตล์หรืออาชีพค่อนข้างชัด เช่น ครีเอทีฟ คนทำงานเอเยนซี่ ใช้มาสด้าเยอะ ศิลปินต่าง ๆ หรือว่านักข่าว สื่อมวลชน จะเป็นคนที่มีความคิดไม่เหมือนใคร แตกต่าง มีเอกลักษณ์ และให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิต”

แน่นอนว่ามาสด้าจะยังคงเดินหน้าส่งมอบ “ความสุขในการขับขี่” Joy of Driving ต่อไป ภายใต้คุณค่าหลักที่ให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้น “มนุษย์เป็นศูนย์กลาง” และมุ่งมั่นที่จะส่งมอบ “ความสุขในการดำเนินชีวิต” ด้วยการสร้างสรรค์ประสบการณ์ความสุขให้กับชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกคนตลอดไป


แชร์ :

You may also like