HomeBrand Move !!กรุงเทพเมืองคอนเสิร์ต อิมแพ็คฯ คิวแน่นถึงสิ้นปี เตรียมทุ่มหลายหมื่นล้านผุดมิกซ์ยูสเฟสใหม่ เปิดทางพันธมิตร “เซ็นทรัล-สยาม”พาร์ทเนอร์พื้นที่รีเทล

กรุงเทพเมืองคอนเสิร์ต อิมแพ็คฯ คิวแน่นถึงสิ้นปี เตรียมทุ่มหลายหมื่นล้านผุดมิกซ์ยูสเฟสใหม่ เปิดทางพันธมิตร “เซ็นทรัล-สยาม”พาร์ทเนอร์พื้นที่รีเทล

แชร์ :


ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้คือช่วงเวลาทองของคอเพลง-ดนตรี ที่ชอบไปชมคอนเสิร์ตอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะประเทศไทยมีคอนเสิร์ตสเกลเล็ก กลาง ใหญ่ ให้เลือกชมแทบทุกสัปดาห์ จนทำให้หลายคนขนานนามใหม่ “กรุงเทพฯ” ให้กลายเป็น “เมืองคอนเสิร์ต” สำหรับหลายๆ คน  ซึ่งดูเหมือนจะไม่ใช่คำที่เกินจริงไปมากนัก ด้วยจำนวนการจัดงานจากศิลปินชื่อดังมากมายทั้งจากทั้งไทย เกาหลี ยุโรป ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาจัดชนิดสัปดาห์ต่อสัปดาห์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“อิมแพ็ค เมืองทองธานี” หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในนามสถานที่จัดงานแสดงสินค้าและคอนเสิร์ตขนาดใหญ่โดยเฉพาะ จนกลายเป็นหน้าเป็นตาของประเทศมาแล้วมากมาย คืออีกหนึ่งสถานที่เบอร์ต้นที่ได้เลือกให้จัดงานสำคัญๆ มาแล้วมากมาย โดยในปี 2566 ที่ผ่านมายอดการจัดงานทุกประเภท (การจัดงานประชุมสัมมนา อินเซนทีฟ คอนเสิร์ตไทย คอนเสิร์ตต่างประเทศ งานเอ็กซิบิชันระดับนานาชาติและไทย งานแต่งงาน) รวม 1,551 งาน และในจำนวนนี้มีคอนเสิร์ตรวม 90 งาน แบ่งเป็นคอนเสิร์ตไทย 38 งาน คอนเสิร์ตต่างประเทศ 52 งาน

ส่วนยอดจองพื้นที่โดยรวมปี 2567 ของอิมแพ็ค เมืองทองธานี คาดว่าจะเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มคอนเสิร์ตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อน ขณะที่ครึ่งปีหลังปีนี้มียอดจองเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จนเต็มพื้นที่แล้ว  โดยเฉพาะคอนเสิร์ตที่มียอดจองพื้นที่เข้ามาแล้วกว่า 15 งาน เช่น งานดนตรีเฟสติวัลระดับโลก SUMMER SONIC BANGKOK 2024” 

 

คุณพอลล์ กาญจนพาสน์

คุณพอลล์ กาญจนพาสน์

 

“อยากจะมีเสาร์-อาทิตย์เยอะๆ สัก 6 สัปดาห์ต่อเดือน เพราะทุกสัปดาห์เราจะมีคอนเสิร์ตต่อเนื่องลากยาวไปจนถึงปลายปี  โดยปีนี้คอนเสิร์ตมีเพิ่มขึ้นเกือบ 20% เป็นอย่างน้อยที่จะจัดขึ้นในพื้นที่ของเรา โดยยอดจองแน่นไปจนถึงปลายปี  ทำให้ต้องมีการขยายนอกจากพื้นที่ Indoor แล้วยังขยายพื้นที่จัดคอนเสิร์ตในอาคารชาเลนเจอร์และอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ เพิ่ม ซึ่งบางวันต้องรองรับการจัดคอนเสิร์ตในพื้นที่มากถึง 3 งาน” คุณพอลล์ กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัดกล่าว เมื่อถูกถามถึงการจองพื้นที่จัดคอนเสิร์ตในปีนี้

 

นั่นสะท้อนความสำเร็จท่ามกลางการการแข่งขันในธุรกิจที่มีคู่แข่งมากขึ้น จำนวนผู้จัดสถานที่จัดงาน (ฮอลล์รูปแบบต่างๆ) ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ UOB LIVE ของเอ็มสเฟียร์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โครงการวันแบ็งคอก บางกอก มอลล์ ไปจนถึงพารากอน ฯลฯ ล้วนแต่มีสถานที่จัดคอนเสิร์ตทั้งสิ้น ซึ่งหากนับดีๆ แล้วทั้งหมดล้วนแต่เป็นไซซ์เล็ก และไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง แน่นอนย่อมเป็นเรื่องที่ดีต่อวงการคอนเสิร์ตที่ให้ศิลปินได้ไปเปิดพื้นที่แสดงก่อนไต่สเกลใหญ่ขึ้น

โดยปัจจุบันราคาค่าเช่าพื้นที่ของอิมแพ็ค ถูกกว่าที่อื่นเพราะไม่มีดอกเบี้ยต้องจ่ายจากต้นทุนในการสร้างใหม่ ซึ่งมีเพียงแต่ค่าบำรุงรักษาสถานที่ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นสภาพคล่องทางการเงินของเราเองเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จัดงานไซซ์ใหญ่ยังอยู่ที่อิมแพ็คอยู่ที่ระดับ 11,000 ที่นั่ง  โดยปัจจุบันเริ่มมีผู้จัดมาจัดคอนเสิร์ตที่ชาเลนเจอร์มากขึ้น มีความจุระดับ 40,000-50,000 ที่นั่ง ไปจนถึงสูงสุด 60,000 คน ขณะที่ปี 2568 ก็มีรถไฟฟ้าเข้ามาถึงด้านในอีก 2 สถานี ที่จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2025 ประกอบกับระยะเวลาในการเดินทางจากในเมือง 30 นาที อีกทั้งยังมีโรงแรม 3-4 แห่งโดยรอบไว้คอยบริการ และนั่นคือจุดแข็งสำคัญในการดึงผู้จัดให้เลือก อิมแพ็คฯในการจัดงาน

 

Musicfestival

 

ถอดบทเรียน “เทย์เลอร์ สวิฟต์ ” แนะรัฐบาล หนุนผู้จัดอิเวนต์ ดึง “เฟสติวัลระดับโลก” จัดที่ไทย 

แม้จะมีคอนเสิร์ตจากสเกลใหญ่มาจัดที่ไทยมากมายตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งเกาหลี ยุโรป อเมริกา แต่ “คุณพอลล์” กลับมองว่า ไทยยังมีศักภาพในการจัดคอนเสิร์ตขนาดยักษ์จากศิลปินเบอร์ต้นๆของโลกได้อีกมาก โดยที่ไม่ใช่ตัวเลือกหากแต่คือจุดหมายปลายทางสำคัญที่ถึงคนบุคคลเหล่านั้นต้องการเข้ามาแสดง

บทเรียนสำคัญคือกรณีของ “เทย์เลอร์ สวิฟต์ ” ที่ผ่านมา แม้หลายฝ่ายจะรู้ว่าการทัวร์ดังกล่าวมีปัจจัยภายมากมายเข้ามามีผลต่อการเลือกสถานที่จัดแสดง แต่อนาคตหากมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง ด้วยการเข้ามาสนับสนุนของภาครัฐเพื่อให้มีงานระดับโลกจึงถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ในการดึงคอนเสิร์ต อิเวนต์ใหญ่เข้ามา เพราะโอกาสของประเทศไทยคือมีสถานที่ท่องเที่ยว มีอาหาร มีสถาปัตยกรรมที่ถือได้ว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ 

โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ (MICE : Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) ที่มีศักยภาพในการจับจ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปมากถึง 5 เท่า เริ่มกลับมาเดินทางในระดับที่เทียบเท่ากับก่อนโควิดแล้ว และหนึ่งในหมุดหมายที่พวกเขาอยากมามากที่สุดคือประเทศไทย

 

IMPACT Arena,2

“เมื่อรัฐบาลเริ่มมีการพูดถึงการจัดคอนเสิร์ต ด้วยการเข้าไปสนับสนุนหรือมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นคอนเสิร์ตใหญ่อย่างสเกลระดับเทย์เลอร์ สวิฟต์ ​จะไม่ใช่ที่สิงคโปร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หรือแม้กระทั่ง Tommorow Land ก็จะสามารถอย่างแน่นอน”

ยกตัวอย่างล่าสุดภาครัฐประกาศสนับสนุนการจัดงานจัดงาน  SUMMER SONIC BANGKOK 2024  ที่จะมีขึ้นในเดือน 24-25 สิงหาคมนี้ ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1-3  ตลอด 2 วัน  โดยมีการประเมินว่าจะมีคนมาร่วมงานวันละ 50,000 คน 2 วันก็เท่ากับ 100,000 คน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคอนเสิร์ตสเกลใหญ่ที่มาจัด จนกลายเป็นส่วนสำคัญในการดึงคอนเสิร์ตระดับเอเชียมาจัดที่ไทยเพิ่มมากขึ้น

 

ต่อยอด อิมแพ็ค เมืองทองธานี สู่ Impact Smart City ที่ครบจบบนพื้นที่ 4,000 ไร่

ไม่ใช่แค่เรื่องคอนเสิร์ต-อิเวนต์ใหญ่น้อยแต่ “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ในยุคของ “คุณพอลล์ กาญจนพาสน์” กำลังจะเคลื่อนไปสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า  Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ ที่ครบครันทั้งบริการ โครงสร้างภายในหรือเมืองขนาดย่อมที่ครบครันทุกบริการ

เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของคอนเสิร์ต แต่ในแต่ละปี “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” มีโอกาสต้อนรับนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการภายในพื้นที่มากกว่า 10 ล้านคน โดยเฉพาะช่วงที่มีการจัดงานใหญ่ ๆ ทั้งกลุ่มงานอินเซนทีฟ เอ็กซิบิชั่น คอนเสิร์ต เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เช่น  THAIFEX – Anuga Asia , World Hindu Congress คอนเสิร์ตจากศิลปินระดับโลกที่เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดแสดงในระดับมากกว่า 1,000 งานต่อปี จึงทำให้อิมแพ็คเริ่มมองหาโซลูชั่นใหม่ๆในการต่อยอดธุรกิจเพื่อสร้างประสบการณ์และบริการที่ดีภายในพื้นที่

หลังนำร่องศึกษาเรื่องของ Smart City ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ด้วยการมองว่าเรื่องของเทคโนโลยีและดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ตั้งแต่การใช้สมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวัน จนต้องมีการปรับการใช้เทคโนโลยี ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ลูกบ้านใช้ค่าส่วนกลางขึ้นมาภายในโครงการ ขยายพื้นที่ทางดิจิทัลมากขึ้น 

 

IMPACT Arena,

 

ขณะที่ส่วนขยาย “เมืองทองธานี เฟสใหม่” บนพื้นที่ริมทะเลสาบเมืองทองกว่า 300 ไร่ (หากรวมทะเลสาบจะมีพื้นที่ 600 ไร่) คือส่วนต่อขยายสำคัญที่ทางอิมแพ็คหมายมั่นปั้นมือในการสร้างจิ๊กซอว์ชิ้นใหม่ให้กับอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในรูปแบบ Mixed-use หลายชั้น หลายอาคาร โดยจะประกอบไปด้วยส่วนของรีเทล โรงแรม เรสซิเดนท์เชี่ยล คอนเวนชั่นฮอลล์  เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไปจนถึงสถานที่จัดงานไมซ์  โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มเห็นมาสเตอร์แพลนได้ในครึ่งปีหลังนี้

แม้จะยังไม่มีบทสรุปว่าโครงการแห่งนี้จะตอบโจทย์เรื่อง Smart City มากน้อยเพียงใด  แต่การทุ่มงบประมาณหลักหลายหมื่นล้านบาทในการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ (หลังการยกเลิกมาสเตอร์แพลนไปเมื่อครั้งการระบาดของโควิด -19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา) ก็การันตีได้ว่าเมืองใหม่แห่งนี้น่าจะเข้ามาตอบโจทย์ One Stop Service ของพื้นที่กว่า 4,000 ไร่แห่งนี้ให้ครบและสมบูรณ์แบบในตัวเองมากยิ่งขึ้น

 

“เรายินดีเปิดทางให้พันธมิตรถ้าใครสนใจก็อยากจะร่วมลงทุนกับเรา เราก็พร้อมจะจับมือด้วย ไม่ว่าจะเป็นทั้งส่วนของพื้นที่รีเทลภายในโครงการ ซึ่งแน่นอน หากทั้งเซ็นทรัล หรือสยามพิวรรธน์ หรือแม้แต่กลุ่มทุนอื่นๆ สนใจเราก็พร้อมเจรจาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กันได้”

ท้ายที่สุดคุณพอลล์ บอกว่า “แม้จะมีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย แต่ความสนุกของเมืองทองคือ ถ้าที่ริมทะเลสาบเต็มแล้ว หรือถึงแม้จะไม่มีที่ว่างแล้ว เรายังรื้อของเก่ามาทำใหม่ได้ และนี่คืออนาคตของเมืองทอง ที่จะสามารถพัฒนาได้ในหลายรอบได้ หรือ Redevelop  ได้เรื่อยๆ เพื่อรองรับความต้องการและเทรนด์ในตอนนั้น” 

ติดตามพวกเราได้ที่ LINE


แชร์ :

You may also like