HomeBrand Move !!TikTok แนะ 6 วิธี ช่วยแบรนด์ทำคอนเทนต์สู้ศึก “Shoppertainment”

TikTok แนะ 6 วิธี ช่วยแบรนด์ทำคอนเทนต์สู้ศึก “Shoppertainment”

แชร์ :

TikTok จับมือ Accenture เปิดผลการศึกษา “Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE” ชี้พฤติกรรมผู้บริโภคใน 5 ประเทศสำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม และอินโดนีเซียกำลังเปลี่ยนไปใน 3 ประเด็น ได้แก่

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การพิจารณา (Consider)

สิ่งที่การศึกษาชิ้นนี้พบก็คือ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการพิจารณาในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยผู้ซื้อมีแนวโน้มพิจารณาซื้อสินค้าและบริการโดยใช้สัญชาตญาณของตน (Intuitive Decisions) ประกอบกับการหาชมคอนเทนต์เพื่อยืนยันแนวคิดของตน มากกว่าการตัดสินใจซื้ออย่างเร่งด่วนทันที

เห็นได้จากผลสำรวจภายในประเทศไทยที่พบว่า ผู้บริโภคกว่า 88% ได้รับอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยคอนเทนต์ที่ไม่เน้นส่งเสริมการขาย ด้วยเหตุนี้ คอนเทนต์ที่เหมาะสมสำหรับ Shoppertainment จึงอาจเป็นคอนเทนต์ที่ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้อย่างมั่นใจ และทำให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณค่าของสินค้านั้น ๆ อย่างแท้จริง

คุณสุนาถ ธนสารอักษร กรรมการผู้จัดการ Accenture Song ประเทศไทย

การบริโภค (Consume)

ในด้านการตัดสินใจซื้อ พบว่าผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนจากการรับชมคอนเทนต์สินค้าไปสู่การซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย (Effortless Browse-to-Buy) ภายในแพลตฟอร์มดิจิทัลเดียวกัน โดยผู้บริโภคกว่า 97% เผยความต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า พิจารณา และตัดสินใจซื้อภายในแพลตฟอร์มเดียว และมีความชื่นชอบในแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ได้

การเชื่อมต่อ (Connect)

จากผลสำรวจเผยว่ากว่า 60% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลทางความคิดจากการได้มีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์คอมมูนิตี้ และเมื่อผู้บริโภคมีเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ ส่งผลถึงการเติบโตของคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ให้มีส่วนร่วมระหว่างกันได้มากขึ้น

ผู้บริโภคเชื่อใครมากกว่า “อินฟลูเอนเซอร์ vs แบรนด์”

นอกจากนี้ รายงาน Shoppertainment 2024 ยังพบด้วยว่า ในการตัดสินใจซื้อสินค้า กลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทย เวียดนาม และเกาหลีใต้ ได้รับอิทธิพลจากอินฟลูเอนเซอร์สูงกว่าคอนเทนต์จากแบรนด์ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย นั้นจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากคอนเทนต์จากแบรนด์ร่วมกับคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์

คุณสุนาถ ธนสารอักษร กรรมการผู้จัดการ Accenture Song ประเทศไทย กล่าวถึงความแตกต่างนี้ว่า เพราะผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น – อินโดนีเซีย มีความเชื่อมั่นในตัวแบรนด์สูงกว่าผู้บริโภคในไทย เวียดนาม และเกาหลีใต้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า แบรนด์ใน 3 ประเทศที่กล่าวมาจะต้องยอมแพ้ ตรงกันข้าม แบรนด์จะต้องมีตัวตน และออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าให้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ใครนำสินค้าของแบรนด์ไปพูดอะไรก็ได้บนอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

เปิด 6 ปัจจัยช่วยแบรนด์สร้างยอดขาย

คุณชลธิชา งามกมลเลิศ Head of Client Partnership, TikTok ประเทศไทย

ด้านคุณชลธิชา งามกมลเลิศ Head of Client Partnership, TikTok ประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อให้การสร้างยอดขายออนไลน์ของแบรนด์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทางบริษัทพบว่ามี 6 ปัจจัยที่สามารถช่วยได้ ซึ่งประกอบด้วย

  • Validation การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุดก่อนวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
  • Improvement การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม ซึ่งในจุดนี้จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า เมื่อซื้อสินค้าไปแล้วสามารถทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้
  • Convenience การพัฒนาช่องทางการขายให้ง่ายดาย สะดวก คุ้มค่า และมีการจัดส่งที่เชื่อถือได้
  • Recommendation สินค้าที่มาจากการแนะนำของบุคคล หรือแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น เพื่อน
  • Inspiration สินค้าที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ซื้อได้
  • Indulgence สินค้าที่ตัดสินใจซื้อเพราะต้องการปรนเปรอและตามใจตนเอง

ทั้ง 6 หัวข้อนี้ คุณชลธิชามองว่าสำคัญไม่แพ้กัน อย่างไรก็ดี ใน 3 ข้อด้านล่างอย่าง Recommendation, Inspiration และ Indulgence เป็นปัจจัยที่มาจาก Emotional ซึ่งคุณชลธิชาเป็นความท้าทาย และเป็นตัวช่วยในการสร้างลูกค้าใหม่ให้กับแบรนด์ได้อย่างมาก หากใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้อย่างตรงจุด พร้อมระบุว่า 2 ใน 3 ของ New Users ที่ซื้อของจากแบรนด์มาจากการ Drive ของปัจจัยด้าน Emotional เลยทีเดียว

คาด “ไทย” โตจาก Shoppertainment ทะลุ 1.24 หมื่นล้าน

จากผลการสำรวจนี้ ได้ชี้ว่า ประเทศไทยถูกจัดเป็นตลาดที่มีศักยภาพในด้านอีคอมเมิร์ซ โดยมีโอกาสสร้างรายได้ถึง 1.24 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (ภายในปี 2025) จากมูลค่าตลาดรวมของ Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปัจจัยที่ส่งเสริมประกอบด้วย

  • ความพร้อมของตัวผู้บริโภคเอง 
  • ความพร้อมของ Ecosystem ในด้านอีคอมเมิร์ซ
  • ความพร้อมของคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ สำหรับช่วยแบรนด์นำเสนอสินค้า

สำหรับ 5 หมวดสินค้าที่สามารถสร้าง GMV ได้สูงสุดตามที่ระบุในรายงานชิ้นนี้ ประกอบด้วย สินค้าแฟชั่น, สินค้าความงามและกลุ่ม Personal Care, สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าสำหรับใช้ในครัวเรือน

 

 

“ในยุคสมัยที่ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แบรนด์ต่างๆ มีแนวโน้มที่จะก้าวข้ามขอบเขตเดิมๆ ด้วยการควบรวมคอนเทนต์และการค้าเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แบรนด์จำเป็นต้องเตรียมพร้อมและก้าวตามให้ทันความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และรอบรู้ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยไม่ใช่แค่เพื่อการสร้างผลกำไรในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาวด้วย” คุณชลธิชากล่าวปิดท้าย

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ “Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE”


แชร์ :

You may also like