HomeBrand Move !!อุตสาหกรรมเพลงสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง แกรมมี่ Spin-Off  ‘จีเอ็มเอ็ม มิวสิค’ ขายหุ้น IPO เข้าตลาดฯ ปั้นรายได้ 5 ธุรกิจ

อุตสาหกรรมเพลงสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง แกรมมี่ Spin-Off  ‘จีเอ็มเอ็ม มิวสิค’ ขายหุ้น IPO เข้าตลาดฯ ปั้นรายได้ 5 ธุรกิจ

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หลังจากอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกในยุคดิจิทัลกลับมาเติบโตถึงจุดที่เรียกว่า Music Second Wave  มียอดรายได้ “ทะลุจุดสูงสุดที่เคยสร้างไว้ในอดีต” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “อุตสาหกรรมเพลงได้กลับมาสู่จุดรุ่งเรืองสูงสุดอีกครั้งและกำลังเติบโตมากขึ้นไปอีก”

จากตัวเลขคาดการณ์รายรับ (World Business Projection) อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกจะเติบโตอีกเป็น “เท่าตัว” ภายในปี 2030 เหตุผลหลักมาจาก 2 ปัจจัย คือ 1. การเติบโตของธุรกิจ Digital Streaming และ 2. การเติบโตของธุรกิจ Showbiz

“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” อายุ 40 ปี ผู้บุกเบิกธุรกิจเพลงในประเทศไทย วางโรดแมปอุตสาหกรรมเพลงยุคใหม่ ด้วยการ Spin-Off บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (GMM MUSIC) ขาย IPO ไม่เกิน 30% ของหุ้นทั้งหมด เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ 

“จีเอ็มเอ็ม มิวสิค” เป็น Flagship Company ของกลุ่มแกรมมี่ ดำเนินธุรกิจเพลงครบวงจร การ Spin-Off  เข้าตลาดฯ เพื่อระดมเงินทุนสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมเพลงภายใต้คอนเซ็ปต์  “New Music Economy” โดยเงินลงทุนในครั้งนี้จะนำไปใช้ เพื่อการขยายธุรกิจหลายส่วน โดยมี 7 ยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจดังนี้

1. Double Up Production 

ขยายการผลิต อีกเท่าตัวจากการผลิตในปัจจุบัน โดย GMM MUSIC มีแผนเพิ่มการผลิต

– เพลงจาก 400 เพลงต่อปี เป็น 1,000 เพลงต่อปี

– ศิลปินจาก 120 ศิลปิน เป็น 200 ศิลปินภายใน 5 ปี

– Playlist เข้าสู่ Streaming Platform จาก 3,000 Playlists เป็น 6,000 Playlists ต่อปี

– Full Album จาก 30 อัลบั้มต่อปี เป็น 50 อัลบั้มต่อปี

– ศิลปินฝึกหัดจาก 150 ศิลปิน เป็น 300 ศิลปินต่อปี

2. Showbiz Expansion

ขยาย Scale ของ Music Festival ครอบคลุมทั่วประเทศ สู่การรองรับจำนวนผู้ชมมากกว่า 500,000 คนต่อปี ร่วมมือกับทุกค่ายเพลงในประเทศและจากต่างประเทศ  นอกจากมี Line Up คอนเสิร์ตครอบคลุมตั้งแต่ศิลปินยุคแจ้งเกิดของบริษัทจนถึงศิลปินยุคปัจจุบัน GMM MUSIC จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งใน และต่างประเทศในการขยาย Segment เดินหน้าสู่การเป็นผู้จัด International Fan Meeting & Concert พร้อมจับมือกับ Promoter เจ้าต่าง ๆ ใน Southeast Asia เพื่อการขยายโชว์บิซ

3. Local Alliance

ขยายพันธมิตรทางดนตรี จับมือกับค่ายเพลงในประเทศไทย ผ่านการ M&A (Mergers &  Acquisitions) หรือ JV (Joint Venture) เพื่อสร้าง Synergy Value ในการขยายการผลิต และการเติบโตทางธุรกิจทุกช่องทาง ร่วมกันสร้างอุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตในระบบเศรษฐกิจมหภาค

4. Global Strategic Partner

ขยายการจับมือกับบริษัทชั้นนำในต่างชาติผ่านการ JV (Joint Venture) เพื่อสร้างงานเพลงและส่งเสริมศิลปินไทย เดินหน้าสู่ศักยภาพและมาตรฐานใหม่ในระดับสากล (Thailand Soft Power)  โดยวางแผนที่จะจับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำในภูมิภาคต่าง ๆ (Global Leader) เช่น สหรัฐอเมริกา สแกนดิเนเวีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านใน Southeast Asia ซึ่งการเดินหน้า JV ต่าง ๆ นี้จะคล้ายคลึงกับการ JV ของ GMM MUSIC กับ บริษัท YG Entertainment ในการจัดตั้ง JV YGMM เพื่อคัดสรร และผลิตศิลปินไทยป้อนสู่ระดับสากลที่ได้เกิดขึ้นแล้ว

5. Media Networking

ขยายการเข้าถึงผู้บริโภคในทุกรูปแบบและทุกช่องทางการสื่อสารผ่านการสร้าง Partnership Deal หรือ JV เพื่อแลกเปลี่ยนศักยภาพทางธุรกิจทั้งสื่อ On Air, On Board Online และ On Ground ส่งเสริมการ Promote ศิลปินให้มีประสิทธิภาพ

6. Data Intelligence

ขยายศักยภาพการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ผ่านการลงทุนเพิ่มด้าน Data Scientist Machine Learning และระบบ AI พร้อมสร้าง Tools ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงการค้า การบริหารจัดการ และการพัฒนาศิลปิน รองรับธุรกิจแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญด้าน Personalization Offering

7. New World Talent

ขยายทีมงานแห่งอนาคตด้วยการลงทุนในบุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเชี่ยวชาญใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเติมเต็ม สืบทอด ต่อยอด รองรับการก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจเพลง

GMM MUSIC ปั้นรายได้ 5 ธุรกิจหลัก 

ปัจจุบัน GMM MUSIC มีแหล่งรายได้จาก 5 แหล่งธุรกิจ (อ้างอิงจากรายได้ 12 เดือนย้อนหลังของธุรกิจเพลง นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 ถึงไตรมาส 1 ปี 2566) ดังนี้

1. Music Digital Business รายได้ 1,152 ล้านบาท สัดส่วน 34%

2. Music Artist Management Business รายได้ 1,177 ล้านบาท สัดส่วน 35%

3. Showbiz Business รายได้ 678 ล้านบาท สัดส่วน 20%

4. Right Management Business รายได้ 234 ล้านบาท สัดส่วน 7%

5. Physical Business รายได้ 147 ล้านบาท สัดส่วน 4%

ปี 2566 GMM MUSIC ตั้งเป้ารายได้ 3,800 ล้านบาท เดินหน้าสู่การสร้างผลประกอบการ New High ภายในปี 2567

คุณภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวว่าปีนี้เป็นปีที่ “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” มีอายุครบรอบ 40 ปี  จึงไม่ได้มองความสำเร็จแค่วันนี้ แต่มองไปอีก 40 ปีข้างหน้า ที่จะทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตร่วมไปกับทุกศิลปิน ทุกค่ายเพลง สร้างเศรษฐกิจใหม่ที่เติบโตเช่นเดียวกับเศรษฐกิจเพลงในตลาดโลก

“ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา เราสร้างตลาด เปลี่ยนผ่านจากความเป็น Music Company สู่ Music Infrastructure จนวันนี้เราจะเดินหน้าสู่การเป็น New Music Economy ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่เป็นเลิศให้กับทุกคนในอุตสาหกรรมเพลงไทยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

คุณฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวว่า การ Spin-Off  ในครั้งนี้จะทำให้มูลค่าของ GMM MUSIC สะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริงในอุตสาหกรรมเพลง บนพื้นฐานของธุรกิจที่มีความแข็งแรง ทั้งรายได้ กำไร คุณภาพของศิลปิน และทีมงาน หากผลักดัน New Music Economy ได้นั้น อาจหมายถึงการเติบโตการผลิตได้ถึง 2 เท่า

ปัจจุบันกำลังเตรียมทำ Strategic Investment โดยอยู่ในขั้นตอนการสรุปดีลกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ คาดว่าจะสามารถประกาศความร่วมมือต่าง ๆ ได้ภายในไตรมาส 3 ถึงไตรมาส 4 ปี 2566

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like