HomeCreativityAdFest 2023 ปีแห่งการเฉลิมฉลองให้กับ “ความกล้าหาญ”

AdFest 2023 ปีแห่งการเฉลิมฉลองให้กับ “ความกล้าหาญ”

แชร์ :


หลังจากห่างหายไปจากการจัดงาน AdFest การประกวดงานครีเอทีฟและโฆษณาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิค มานานกว่า 3 ปี เนื่องจาก Covid-19 ในที่สุด AdFest ก็กลับมาสร้างแรงบันดาลใจด้านความคิดสร้างสรรค์อีกครั้งในปี 2023 และข้อความหนึ่งที่เหล่าคณะกรรมการได้ส่งเสียงโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อปลุกไอเดียของเหล่าคนโฆษณา ไปจนถึงนักการตลาด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นั่นก็คือ คำว่า

Brave (ความกล้าหาญ)

“งานชิ้นนี้มีความกล้าหาญ กล้าที่จะฉีกไปจากมาตรฐานของสื่อที่ตัวเองเคยทำมา”

“เป็นความกล้าหาญที่จะเสี่ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม”

นี่คือตัวอย่างคอมเมนต์ของกรรมการที่พูดถึงเหตุผลที่ผลงานเหล่านี้ได้รับรางวัล

และนี่คือ 7 ผลงานจากเวที AdFest จากจำนวนทั้งสิ้น 1,699 ชิ้น 30 ประเทศ ที่เห็นแต่ละชิ้นแล้วต้องบอกว่ากล้าหาญตั้งแต่บรีฟ ไอเดีย ไปจนถึง Execution

1.

The Elections Edition

Agency: Impact BBDO, Dubai

Client: Annahar Newspapers

เลบานอน เผชิญปัญหาค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้น จนกระทั่งเมื่อต้อง “เลือกตั้ง” งบประมาณที่จะจัดการเลือกตั้งก็จำกัด หนังสือพิมพ์ Annahar Newspapers จึงขอเข้ามีส่วนร่วมในการสนับสนุนประชาธิปไตย ด้วยการทำสิ่งพิมพ์ โดย “หยุดพิมพ์” หนังสือพิมพ์ในวันเลือกตั้ง แต่บริจาคเงินค่ากระดาษและหมึก ไปใช้ในการเลือกตั้งแทน ดังนั้นนี่คือ The Elections Edition ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศ

2.

#BringBack2011

Agency: Leo Burnett India

Client: Mondelez International Foods Pvt Ltd., Mumbai

เพราะว่าปี 2011 เป็นปีที่ Oreo เปิดตัวที่อินเดียเป็นครั้งแรก แล้วในปีนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่ผู้คนในอินเดียได้เฉลิมฉลองใหญ่ เมื่อ ทีมชาติอินเดียได้แชมป์ Cricket Worldcup ดังนั้นเมื่อ คุกกี้ Oreo จะ re-luach อีกครั้ง จึงเริ่มต้นด้วยการจัดงานแถลงข่าวขึ้นมา แล้วเชิญMahendra Singh Dhoni กัปตันทีมคริกเก็ตของอินเดียในนั้นมา เล่าถึงความเชื่อมโยงนี้ บุกกระแส แล้วหลังจากนั้น เหล่าแฟนคริกเก็ททั่วอินเดีย ก็เชียร์ทีมรักของชาติ ไปพร้อมๆ กับการทำมีม หรือคอนเทนต์มากมายที่เกี่ยวข้องกับ Oreo และทีมคริกเก็ต

Alice Chou, Chief Creative Officer จาก Dentsu Creative Taiwan ประธานกรรมการตัดสินหมวด Brand Experience และ Direct Lotus กล่าวว่า

“สำหรับผลงานในหมวด Brand Experience และ Direct  มันไม่ใช่แค่การมุ่งเน้นไปที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันยังเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นความรู้สึก ผลักดันให้เกิดการกระทำบางอย่างและที่สำคัญ คือ การต้องหาจุดยืนที่สมดุลระหว่างความคิดสร้างสรรค์และผลลัพธ์”

3.

“City Hall of Love”

Agency: MullenLowe Singapore

Client: Closeup

Dan Wright, Chief Creative Officer ของ Deloitte Digital ซิดนี่ย์และนิวซีแลนด์ ประธานกรรมการตัดสินในหมวด Digital Lotus ระบุว่า “งานจาก Close Up เป็นงานดีมาก มีงานมากมายที่ใช้พลังของ Metaverse, blockchian และ Web 3 เป็นกิมมิค แต่งานชิ้นนี้ทำให้ความสัมพันธ์ของคนสองคน เป็นทางการ ในประเทศที่ Universal Marriage ไม่เป็นที่ยอมรับจากรัฐบาล”

4.

Leave with Pride
Agency:  MullenLowe Singapore
Client: ISEE Vietnam

เพราะว่าการเป็น LGBTQ+ ถูกมองว่าเป็นการเจ็บป่วย งานชิ้นนี้เลยอาศัยความเชื่อผิดๆ นั้นมาก่อให้เกิดประโยชน์กับพนักงานด้วยการให้พวกเขาประชด “ลาป่วย” ซะเลย จากการโต้กลับที่แสบสันนี้ นำไปสู่การรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิด และการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องกับเพศสภาพของผู้คนในสังคม

5.

The Eyeballs Heist
Agency: Wunderman Thompson Thailand

Client: Netflix

ปฏิบัติการ”ปล้น” ป้ายโฆษณาจากแบรนด์สินค้าเซกเมนต์ลักชัวรี่และแบรนด์ร้านทอง สอดค้ลองกับการเปิดตัวหนัง Money Heist ใน Netflix เรื่องไอเดียที่ว่ายืนหนึ่งแล้ว ความพยายามในการดีลกับทั้งเจ้าของสื่อและเจ้าของแบรนด์อื่นๆ ให้ยอมร่วมเล่นด้วยในงานชิ้นนี้ นับว่าต้องอาศัยทั้งลูกบ้า ความกล้า ความพยายาม และความใส่ใจรายละเอียด

6.

Film that made (from) Us

Agency: BBDO Bangkok

Client: Five Star Chicken

เพราะว่าต้องการจับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ Gen Z จนถึง Baby Boomer “ไก่ย่างห้าดาว” จึงจับเอาคอมเมนต์สารพัดอย่างในโซเชี่ยลมีเดีย มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์โฆษณา 1 เรื่อง

7.

Unbranded Menu

Agency:  Leo Burnett Group, Manila
Client:  McDonald’s

เพราะว่าในเกมต่างๆ มักจะมีฉากที่เฟรนฟราย, เบอร์เกอร์ เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบในฉาก “แมคโดนัลด์ ฟิลิปปินส์” ก็เลยทำแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดขายในหมู่เกมเมอร์ ทุกครั้งที่มีภาพเมนูเหล่านี้ปรากฏขึ้นมาในจอ ก็ให้นักเล่นเกมทั้งหลายแคปรูปแล้วโพสต์ลงในโซเชี่ยลมีเดีย พร้อมแฮชแท็ก (ที่ก็ขี้ตู่เอาเองว่า) #ThisIsMcDonalds เคลมแบบหน้าตาเฉย เพื่อแลกกับส่วนลดที่ร้าน กลายเป็นความสนุกสนานของคอเกมที่ต้องคอจับจ้อง แล้วสร้างฟรีมีเดียให้กับแบรนด์ งานนี้อาศัย User Generated Content เป็นหลัก แต่แบรนด์ได้มูลค่าสื่อมหาศาล แถมยังสร้างยอดขายได้อีก


แชร์ :

You may also like