HomeDigitalวิจัยชี้ “เลย์ออฟ” กระทบคนที่เหลือ ทำชั่วโมงทำงานเสาร์อาทิตย์เพิ่มขึ้น “เทค-สื่อ” เพิ่มสูงสุด

วิจัยชี้ “เลย์ออฟ” กระทบคนที่เหลือ ทำชั่วโมงทำงานเสาร์อาทิตย์เพิ่มขึ้น “เทค-สื่อ” เพิ่มสูงสุด

แชร์ :

แม้ว่าการทำงานในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์จะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับโลกการทำงานยุคนี้ แต่ก็มีการวิจัยพบว่า “การเลย์ออฟ” ทำให้พนักงานที่เหลืออยู่ในองค์กรต้องทำงานเพิ่มขึ้น แม้จะเป็นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ตาม โดยเฉพาะพนักงานสายเทคโนโลยีและพนักงานในธุรกิจสื่อที่มีผลสำรวจพบว่า ทำงานเพิ่มขึ้นราว 25%

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ผลสำรวจดังกล่าวเป็นของบริษัท ActivTrak ที่ทำการศึกษาการทำงาน 175 ล้านชั่วโมงของพนักงานจำนวน 134,260 รายทั่วโลก ซึ่งพบว่า ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยในวันเสาร์และวันอาทิตย์ของปี 2022 ของพนักงานกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น 5% เป็น 6.6 ชั่วโมง และในจำนวนนี้ มีพนักงาน 5% ที่ต้องทำงานอย่างหนักกว่าธุรกิจอื่น ๆ นั่นคือ พนักงานในธุรกิจเทคโนโลยีและสื่อ ที่มีชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้นในปี 2022 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ActivTrak ระบุว่า เหตุผลที่ทำให้คนต้องมาทำงานในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มี 2 ข้อนั่นคือ การที่บริษัทมีพนักงานน้อยลง ทำให้งานที่ต้องทำมีมากขึ้น และอีกข้อคือ วันเสาร์อาทิตย์มีการประชุมผ่าน Zoom หรือการพูดคุยผ่านระบบแชทน้อยกว่า ทำให้พนักงานเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ถูกขัดจังหวะนั่นเอง

การเลย์ออฟของบริษัทเทคโนโลยี และบริษัทสื่อจำนวนมากในปี 2022 ก็มีผลต่อการทำงานเพิ่มขึ้นของพนักงานที่เหลืออยู่ โดยในสหรัฐอเมริกา มีการเก็บข้อมูลพบว่าเกิดการเลย์ออฟพนักงานบริษัทเทคโนโลยีมากถึง 122,000 คน ส่วนพนักงานที่เหลืออยู่ และต้องทำงานต่อแทนคนที่ลาออกนั้น ก็มีคำเตือนจากบรรดาซีอีโอคนดัง เช่น Elon Musk ออกมาบอกว่า พวกเขาจะต้องเจอกับการทำงานแบบฮาร์ดคอร์แน่นอน หรือ Mark Zuckerberg ที่บอกว่า ปีนี้จะเป็นปีแห่งการเค้นประสิทธิภาพในการทำงาน

แน่นอนว่าคำขู่เป็นเรื่องจริง และพนักงานกลุ่มนี้ยังเผชิญกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในยุคหลัง Covid-19 อีกหลายประการ เช่น บริษัทบางแห่งอาจปรับตัวเป็น Hybrid Workplace ที่อนุญาตให้พนักงานเข้ามาเพียง 3 วันต่อสัปดาห์ บางแห่งอาจอนุญาตให้ทำงานได้จากระยะไกล แต่มีระบบประชุมออนไลน์ที่พร้อมจะเรียกตัวไปคุยตลอดเวลาเอาไว้รองรับ หรือบริษัทบางแห่งก็อาจอนุญาตให้พนักงานล็อกออฟจากระบบของบริษัทตั้งแต่บ่ายสามของวันศุกร์ แต่มาทำงานเพิ่มในวันเสาร์อาทิตย์แทน ฯลฯ

ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องของการปรับตัวในการทำงานหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละบริษัทอาจมีทิศทางที่แตกต่างกัน และเป็นความท้าทายของพนักงานในการปรับตัว และมองหาข้อดีขององค์กรที่ทำงานอยู่ให้เจอนั่นเอง

Source


แชร์ :

You may also like