HomeBrand Move !!ผู้เชี่ยวชาญชี้ “Bored Apes-Netflix” ตัวอย่างแบรนด์รับมือผู้บริโภคยุค “Consumer Fragmentation” ได้ดี

ผู้เชี่ยวชาญชี้ “Bored Apes-Netflix” ตัวอย่างแบรนด์รับมือผู้บริโภคยุค “Consumer Fragmentation” ได้ดี

แชร์ :

netflix bored apes

มีอีกหนึ่งการตั้งคำถามของนักการตลาดที่น่าสนใจจากเวที Cannes Lion Festival 2022 ที่เพิ่งจบลงไปหมาด ๆ ว่านักการตลาดจะรับมืออย่างไรในยุคนี้ที่ผู้บริโภคมีความหลากหลายสูงมาก และสิ่งเหล่านี้จริง ๆ แล้วเป็นงานยากหรืองานที่น่าตื่นเต้นกันแน่ รวมถึงมีแบรนด์ไหนกันบ้างที่สามารถสร้างความแตกต่างให้ตัวเองได้อย่างน่าสนใจ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คำตอบของ Anna Angelic หัวหน้าฝ่ายแบรนด์ของ Banana Republic จากเวที The Strategy in the Era of Fragmentation เป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ชัดเจน เมื่อเธอมองว่า แบรนด์ที่รับมือกับ Consumer Fragmentation ได้ดีที่สุดรายหนึ่งอาจเป็น Bored Apes Yacht club กับการดีไซน์ให้ลิงแต่ละตัวมีคาแรคเตอร์ – ฟีเจอร์ที่แตกต่างกัน และเธอมองว่า ความแตกต่างกันในระดับนี้จะเป็น DNA ของโลกในยุค Web3 อย่างแน่นอน

ความหลากหลายคือ DNA ของ Web3

“Web3 คือโลกที่มาพร้อมแนวคิด One size fits One หรือก็คือ ไม่มีอีกแล้วกับการผลิตของสิ่งเดียวแล้วคิดว่าทุกคนจะใช้การได้หมด แต่เป็นการเชื่อในความเป็นปัจเจก และโฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ รวมถึงคอมมูนิตี้ที่พวกเขายึดโยงอยู่แทน”

Anna ยกตัวอย่างน้องสาวของเธอเอง ที่เป็นคุณแม่ลูกสาม อาศัยอยู่ในย่านใจกลางเมืองชิคาโก เธอซื้อกระเป๋าหนังวาฬราคาแพง และจัดตัวเองเป็นคนกลุ่ม Henry (Hign Earner Not Rich Yet) 

Anna กล่าวต่อไปว่า หลายครั้งที่การตัดสินใจซื้อข้าวของของน้องสาวเธอนั้น มาจากการเห็นคนในแวดวงสังคมของตัวเองซื้อมา บ้างก็เห็นในโซเชียลมีเดีย อีเมล บางทีก็ซื้อเพราะส่วนลดก็มี ฯลฯ

ในฐานะนักการตลาด การจะสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อไปดึงดูดให้ผู้บริโภคสักคนในยุคนี้ซื้อของได้ จึงอาจต้องเริ่มจากการลงไปดูว่า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของทางแบรนด์นั้นอยู่ที่ไหน สภาพแวดล้อมบนโซเชียลมีเดียเป็นอย่างไร และแบรนด์จะดึงให้คนเหล่านั้น “มองเห็น” และตัดสินใจซื้อสินค้าของแบรนด์ได้อย่างไร

คำแนะนำจาก Anna คือการสร้างคอมมูนิตี้ แต่เป็นคอมมูนิตี้แนวใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาเธอพบว่ามีหลายแบรนด์ที่สร้างผลงานในจุดนี้ออกมาได้ดี เช่น Netflix โดยตัว Netflix เองก็มีคอนเทนต์ที่หลากหลาย และตัวแพลตฟอร์มก็เห็นความแตกต่างของผู้ใช้งานว่าไม่ธรรมดา สิ่งที่ Netflix ทำก็คือการจับสองสิ่งนี้มาแมทช์เข้าด้วยกัน และกลายเป็นการสร้างจุดเด่นให้สินค้าไปในตัวกับการที่ผู้บริโภคแต่ละรายจะมีหน้าจอ Netflix ที่ไม่เหมือนกัน

หรือกรณีของ Bored Apes Yacht club ที่ฉากหน้าของแบรนด์อาจเป็นภาพของลิงในยุค 80 – 90 แต่เมื่อลงลึกมาถึงตอนที่ต้องตัดสินใจซื้อลิงสักตัว เราจะพบว่า ทางตัวระบบได้ออกแบบให้ Personalized สุด ๆ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกลิงตัวที่ตอบโจทย์ของเราได้ เป็นต้น

shutterstock_netflix

พลังของคอมมูนิตี้ ช่วยขายของได้มากกว่าที่คิด

แม้มนุษย์ในยุคนี้จะให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่พลังของการมีคอมมูนิตี้ (แม้บางทีจะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 5 – 10 คนก็ตาม) ก็สามารถช่วยขายของได้เช่นกัน โดย Anna ได้ยกตัวอย่างของเว็บไซต์ Pindaodao ของจีนที่ใช้ความเป็นคอมมูนิตี้ในการขายของ หาคนมาร่วมด้วยช่วยกันซื้อแล้วก็จะได้สินค้านั้น ๆ ในราคาถูกว่าเป็นการตลาดที่เข้ากับยุค Consumer Fragmentation ไม่น้อย

นอกจากนั้น ในคอมมูนิตี้ยังเต็มไปด้วยผู้บริโภคที่สนใจในเรื่องคล้าย ๆ กัน ซึ่งทำให้แบรนด์ที่ฝังตัวอยู่ในนั้น สามารถเล่าเรื่องสินค้าได้นานขึ้น

เวทีดังกล่าวสะท้อนด้วยว่า ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ เป็นทั้งงานยากและความน่าตื่นเต้นสำหรับแบรนด์ พร้อมอธิบายว่า ส่วนหนึ่งที่แบรนด์ในอดีตประสบความสำเร็จคือการสร้าง Culture เพื่อนำไปสู่ Massive Reach หรือการจูงใจคนได้ในปริมาณมาก ๆ เพื่อสร้างยอดขาย แต่ปัจจุบันมันคือ Fragment Culture ที่แบรนด์อาจพูดได้กับคนกลุ่มเล็กลง ส่วนกลุ่มที่เหลือไม่เข้าใจ หรือเข้าไม่ถึง

“เราอาจมีคนสองเจเนอเรชันในบ้านหลังเดียวกัน กลุ่มแรกคือเด็กยุค TikTok ที่แชทผ่าน Discord ส่วนกลุ่มสองคือผู้ใหญ่ที่ยังคงดูรายการทีวี”

อย่างไรก็ดี เวทีดังกล่าวยังคงยืนยันว่า ยุค Consumer Fragmentation คืองานยากที่แบรนด์ควรจะตื่นเต้น ไม่ใช่พยายามหลีกหนี และแบรนด์เล็กที่ไม่ได้มีงบประมาณมากพอจะสร้างอัลกอริธึมแบบ Netflix ก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะในอีกด้าน สิ่งที่แบรนด์เล็ก ๆ มีคือความใกล้ชิดกับผู้บริโภค และความคล่องตัวในการทดลองทำอะไรได้รวดเร็วกว่า ดังนั้น ยุค Consumer Fragmentation จึงมีโอกาสอีกมากมายซ่อนอยู่แน่นอน


แชร์ :