HomePR News“กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ” เดินหน้าผลักดันยอดส่งออกผลไม้ไทย จัดกิจกรรม “จับคู่เจรจาการค้าออนไลน์สินค้าผลไม้ภาคตะวันออกและผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป” ปลื้มผลตอบรับตลอด 3 วัน มูลค่าซื้อขายพุ่งกว่า 1 พันล้านบาท [PR]

“กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ” เดินหน้าผลักดันยอดส่งออกผลไม้ไทย จัดกิจกรรม “จับคู่เจรจาการค้าออนไลน์สินค้าผลไม้ภาคตะวันออกและผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป” ปลื้มผลตอบรับตลอด 3 วัน มูลค่าซื้อขายพุ่งกว่า 1 พันล้านบาท [PR]

แชร์ :

จากมาตรการบริหารผลไม้เชิงรุกประจำปี 2565 ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) โดยจัดโครงการจับคู่เจรจาการค้าสินค้าผลไม้ที่มีผลผลิตทั้งปี และผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปในรูปแบบออนไลน์ (Online Business Matching : OBM) ซึ่งเป็นการปรับตัวของกรมฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่การเดินทางระหว่างประเทศยังมีข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้เกิดการเจรจาซื้อขายสินค้าได้อย่างสะดวก พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการให้วางแผนส่งออกผลไม้ตลอดปี 2565 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า ตามที่ สกอ. ได้ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) จัดกิจกรรม “จับคู่เจรจาการค้าออนไลน์สินค้าผลไม้ภาคตะวันออกและผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป” ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม และวันที่ 16 มีนาคม 2565 ที่เพิ่งจบลงไป ซึ่งพบว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก จากทั้งผู้ส่งออกไทย และผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าผลไม้จากประเทศต่างๆ

ทั้งนี้ ตลอด 3 วัน มีผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าที่เข้าร่วมกิจกรรมรวมจำนวน 68 บริษัท จาก 25 ประเทศ โดยมีผู้ส่งออกผลไม้ของไทยเข้าร่วมกิจกรรมรวม 34 บริษัท เกิดการจับคู่เจรจาที่ประสบความสำเร็จรวม 248 คู่ จากการนัดหมายล่วงหน้า 297 คู่ คิดเป็น 84% คิดเป็นมูลค่าซื้อขายจากการเจรจาการค้า รวม 31,781,750 เหรียญสหรัฐฯ (หรือ 1,048,797,750 บาท) แบ่งเป็น มูลค่าสั่งซื้อทันที 206,500 เหรียญสหรัฐฯ (หรือ 6,814,500 บาท) และมูลค่าสั่งซื้อภายใน 1 ปี  31,575,250 เหรียญสหรัฐฯ (หรือ 1,041,983,250 บาท) โดยประเทศที่มีการขอจับคู่เจรจามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. จีน 2. อินเดีย 3. มาเลเซีย 4. จีน-ไต้หวัน และ 5. เมียนมา โดยผลไม้สด (ทุเรียน/มะม่วง/ลำไย) เป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ตามมาด้วยผลไม้กระป๋อง และผลไม้แช่แข็ง

นายภูสิต กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ สอดรับกับนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งขยายตลาดเป้าหมายการส่งออก ผลักดันการส่งออกผลไม้ของไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ของไทยให้มีโอกาสขายสินค้าผลไม้สดที่ออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี รวมถึงผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปโดยวางแผนการส่งออกแบบรายปีได้ ขณะเดียวกัน โครงการนี้ยังช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกร ให้สามารถขายสินค้าได้มากขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกประจำปีงบประมาณ 2565 ของกระทรวงพาณิชย์


แชร์ :

You may also like