HomeSponsoredSCG ชูเมกะเทรนด์ ESG เครื่องมือกู้วิกฤติโลก เปลี่ยนวันนี้และวันหน้าให้ดีกว่าเดิม

SCG ชูเมกะเทรนด์ ESG เครื่องมือกู้วิกฤติโลก เปลี่ยนวันนี้และวันหน้าให้ดีกว่าเดิม

แชร์ :

แนวคิดการทำธุรกิจที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) กลายเป็นเมกะเทรนด์ขยายตัวมากขึ้น เพื่อร่วมกันกู้วิกฤตที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ สร้างความยั่งยืนระยะยาว และส่งต่อโลกที่ดีให้กับคนรุ่นต่อไป

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

SCG ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม “สิ่งที่ดีกว่า” ให้กับลูกค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยคำมั่นสัญญา Passion For Better

แต่เมื่อโลกกำลังเจอวิกฤตที่สาหัสขึ้นเรื่อยๆ จากปัญหาโลกร้อน ทรัพยากรกำลังขาดแคลน สังคมเหลื่อมล้ำ SCG ใช้วาระครบรอบการก้าวสู่องค์กร 109 ปี  เพื่อเปลี่ยนโลกวันนี้และวันหน้าให้ดีกว่าเดิม

เตรียมพบกับงาน SCG ESG Pathway “เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก” ในวันที่ 8 ธันวาคม 2564 เวลา 9.30-11.40 น. เปิดเวที Inspiration Talk “เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก” ฟังหลากหลายมุมมองของคนหลาย Gen ลงมือทำจริงเรื่อง ESG ปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเพื่อโลก

คุณนิว-ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต คนรุ่นใหม่สายกรีน ชีวิตดี ซีโร่ Waste

คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน เจ้าของสวนมะพร้าว ธุรกิจโต ลด Food Waste ด้วย OptiBreath®

คุณกชกร วรอาคม นักภูมิสถาปนิก เจ้าของรางวัลด้านการออกแบบ UNFCCC Global Climate Action Award 2020

คุณวิโรจน์  คำนน เยาวชนผู้นำการจัดการน้ำ เปลี่ยนแล้งเป็นสุขล้นชุมชน

ด.ช. เสกสรรค์ พรชนันทกุล หนูน้อยจากชุมชนจัดการขยะ  พร้อมคุณวไลลักษณ์ จินต์หิรัณย์กุล นักพัฒนาโปรเจกต์ที่เปลี่ยนถุงนมใช้แล้วเป็นเก้าอี้พลาสติกรีไซเคิล

รวมทั้งการประกาศแนวทาง ESG ของทีมผู้บริหาร SCG นำโดยคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี  เพื่อเปลี่ยนโลกวันนี้และวันหน้าให้ดีกว่าเดิม

ลงทะเบียนงาน  bit.ly/SCGESGPathway

รับชมออนไลน์ภาคภาษาไทยได้ที่ FB LIVE https://fb.me/e/ZsE1ct4w

ชมภาคภาษาอังกฤษได้ที่  YouTube Live https://youtu.be/DUeh1TimfzI

วอร์มอัพ ทำความรู้จัก ESG คืออะไร ?

ก่อนเจอกับวิกฤตครั้งใหญ่การระบาดโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาเกือบ 2 ปี ยังไม่คลี่คลาย โลกได้เผชิญกับวิกฤตหลากหลายมาก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดในรอบ 20 ปี อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ปัญหาน้ำท่วมรุนแรงฉับพลันทั่วโลกถึงจุดที่ Climate Change ยกระดับสู่ Climate Crisis

 

วิกฤตที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้

– ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตมาจากการอุปโภคบริโภคอย่างสิ้นเปลือง วิถีชีวิตแบบ New Normal ทำให้เสียสมดุลทางชีวภาพ เกิดขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อมถึง 4,900 ล้านตัน ประเทศในอาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย ติดท็อปเทนปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล

 

– แนวโน้มประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 9,500 ล้านคน ในปี 2050 ทำให้เราต้องมีโลกถึง 3 ใบ เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อความต้องการ

 

– ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมขยายวงกว้าง ทั่วโลกจะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นเป็น 205 ล้านคน ในปี 2022 แรงงานไทยกว่า 4.7 ล้านคน เสี่ยงถูกเลิกจ้าง รายได้ลดลง เกิดภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพงขึ้น เด็กไทย 1.9 ล้านคน เสี่ยงถูกทิ้งออกจากระบบการศึกษา

 

สถานการณ์โควิดที่ยังจบและเสี่ยงจากเชื้อกลายพันธุ์ จึงกลายเป็นวิกฤตซ้ำซ้อน ที่โลกต้องเผชิญมากขึ้น นอกจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ทรัพยากรธรรมชาติขาดแคลน และความเหลื่อมล้ำทางสังคม นับเป็นเดิมพันครั้งใหญ่ที่หลายภาคส่วนในระดับโลกต้องหาทางออกร่วมกัน ไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนต้องร่วมมือกันเพื่อการดูแลโลกให้ยั่งยืนอย่างเร่งด่วน

 

ระดับโลกในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP26 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา ได้บรรลุข้อตกลงทางประวัติศาสตร์เพื่อควบคุมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ด้วยเป้าหมายให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050 เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมตามกรอบอนุสัญญาฯ นี้ด้วย

 

ทำไมต้องใช้ ESG กู้วิกฤตโลก

วิกฤตที่โลกต้องเจอจากการทำธุรกิจและวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน จึงเป็นที่มาของแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนในระยะยาว ไม่หวังเพียงผลกำไรในระยะสั้น ได้เริ่มมีบทบาทและได้รับความยอมรับมากขึ้น แนวคิดหลัก คือ การคำนึงถึง 3 ปัจจัย คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล หรือที่เรียกว่า ESG  (Environment, Social, Governance)

แนวคิด ESG เป็นกรอบการพัฒนาโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม และคุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกให้ดีขึ้น  ด้วย 3 ปัจจัย

  1. สิ่งแวดล้อม (Environment) วิธีดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

– ลดผลกระทบทางตรง เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้วัตถุดิบ การใช้ที่ดิน การใช้น้ำ มลพิษ การสร้างของเสีย

– ลดผลกระทบทางอ้อม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจากธุรกิจ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG)

  1. สังคม (Social) จากกิจกรรมขององค์กรที่ส่งผลกระทบต่อผู้คน ตั้งแต่พนักงานของบริษัทไปจนถึงลูกค้า ชุมชนท้องถิ่น และผู้ทำงานใน Value Chain ทั้งหมด เช่น

– ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

– สภาพการทำงานที่ปลอดภัย

– สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน

– การยอมรับความหลากหลาย ความเท่าเทียม

– ขจัดปัญหาแรงงานทาสและแรงงานเด็ก

– มาตรการต่อต้านการทุจริต

  1. บรรษัทภิบาล (Governance) การกำกับดูแลที่ดีตั้งแต่คณะกรรมการบริษัท ฝ่ายจัดการและหน่วยงานในองค์กรโปร่งใสและตรวจสอบได้

 

เป้าหมาย ESG ของ “รัฐบาล-ประชาชน-ธุรกิจ”

ESG เป็นแนวทางการทำงานที่ทั้งภาครัฐ ธุรกิจ และประชาชน สามารถร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายระดับโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายรัฐบาล คือ การพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมืองด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ  การศึกษา การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมความสามัคคีในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ

เป้าหมายประชาชน คือ การปรับค่านิยมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของตัวเองแล้วสะท้อนค่านิยมนั้นไปยังรัฐบาล องค์กรธุรกิจ เช่น การซื้อสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม  ลดความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียม สร้างสังคมที่เป็นธรรม

เป้าหมายธุรกิจ คือ การประเมินประสิทธิภาพการผลิตและทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม การสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและดึงดูดการลงทุน  การประเมินและการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ESG  เพื่อสร้างความยืดหยุ่นขององค์กรและเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาปัจจุบันและอนาคต  ลดความเสี่ยงด้านกฎระเบียบที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ  สร้างความไว้วางใจของผู้บริโภค นักลงทุน และหน่วยงานกำกับดูแล ขยายสู่ตลาดใหม่และเพิ่มรายได้

ESG ส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร

ESG ที่ว่าด้วยการคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ถูกนำมาใช้ประเมินธุรกิจที่สามารถสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย สิ่งสำคัญคือ นักลงทุนและสถาบันการเงินจะพิจารณาผลการดำเนินงานด้าน ESG ของธุรกิจเป็นหนึ่งในเกณฑ์ประเมินขีดความสามารถแข่งขันระยะยาว ความมั่นคงและโอกาสเติบโตเพื่อตัดสินใจลงทุน

เทรนด์ธุรกิจ ESG ที่ถูกจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก

– บริษัทที่เกี่ยวกับสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคม

– การลงทุนในกลุ่มพลังงานใหม่ ได้แก่ พลังงานสะอาด (Clean Energy) กลุ่มที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรือผลิตชิ้นส่วนที่ช่วยลดโลกร้อน  (Energy Efficiency) กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประสิทธิภาพ (Environmental Resources) บริษัทที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน (Low-Carbon Leader) และ กลุ่มธุรกิจการขนส่งแบบยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้า (Sustainable Transport)

นั่นเป็นเพราะเมื่อบริษัทสามารถระบุปัจจัย ESG ที่มีความสำคัญต่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง

ในทางกลับกันสถาบันการเงินหลายแห่ง จะไม่สนับสนุนเม็ดเงินลงทุน ในบริษัทที่ไม่ได้คำนึงถึง ESG เช่น โรงไฟฟ้า ถ่านหิน บริษัทยาสูบ หรือสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ESG จึงกลายเป็นเมกะเทรนด์ขยายตัวมากขึ้น กับแนวคิดการลงทุนอย่างรับผิดชอบและเพื่อความยั่งยืน โดยผู้ลงทุนทั้งสถาบันและรายบุคคลทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนใน “หุ้นยั่งยืน” มากขึ้น จนกลายเป็นการลงทุนกระแสหลัก และเป็นหนึ่งในพื้นฐานการตัดสินใจลงทุนในอนาคต

ในสิ้นปี 2020 มีการออกตราสารหนี้กองทุนกลุ่ม ESG ทำสถิติสูงสุดกว่า 2.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2021 จะเพิ่มเกือบเท่าตัวอยู่ที่ 4.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานของ KPMG เรื่อง Impact of ESG Disclosure  อธิบายว่าผู้ลงทุนชั้นนำระดับโลก เช่น BlackRock และ Vanguard  นิยมใช้ข้อมูล ESG มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพบริษัทในระยะยาว เช่น ข้อมูลการใช้พลังงานที่สะท้อนต้นทุน และความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานของธุรกิจ รวมทั้งมีการนำปัจจัยด้าน ESG มาเป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขการออกผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุน เช่น กองทุน ETEs  โดยเชื่อว่าธุรกิจที่คำนึงถึงหลักการ ESG จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการสร้างผลลัพธ์ที่ดีและสังคมและสิ่งแวดล้อม

สหประชาชาติสนับสนุนการรวมตัวของผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกในชื่อ UN PRI  (Principles for Responsible Investment) เพื่อสนับสนุนหลักปฏิบัติสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ เน้นการนำประเด็นด้าน ESG มาวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุน ส่งเสริมให้ธุรกิจเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่ามีส่วนร่วมสนับสนุนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง  ในปี 2020 มีนักลงทุนสถาบันที่ลงนามสนับสนุนหลักการของ PRI กว่า 3,000 แห่ง คิดเป็นสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากกว่า 103.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้จัดทำรายชื่อ “หุ้นยั่งยืน” ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่คำนึงถึง ESG แม้ว่าส่วนใหญ่ยังประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนหลายรายนำข้อมูลด้าน ESG มาจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) เพื่อเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชน ควบคู่กับรายงานข้อมูลทางการเงิน เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนไทยในมิติการลงทุนที่ยั่งยืน

จากผลการศึกษาต่างๆ พบว่า บริษัทที่มีผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่ดี จะมีความเสี่ยงต่ำ เช่น มีโอกาสถูกฟ้องร้องต่ำ ปัญหาคอรัปชั่นต่ำ อีกทั้งต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ยังต่ำกว่าบริษัทที่ไม่ให้ความสำคัญด้าน ESG รวมถึงมีความได้เปรียบในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดังนั้นแม้ว่าราคาหุ้นของบริษัทที่คำนึงถึงความยั่งยืน อาจมีสภาวะขึ้นลงตามสภาพแวดล้อมของตลาด แต่การลงทุนในหุ้นของบริษัทเหล่านี้จะมีความผันผวนน้อยกว่าในระยะยาว

ภายในปี 2030 บริษัทที่ไม่มี ESG อาจกลายเป็นบริษัทล้าหลัง หรือไม่สอดคล้องกับมาตรฐานเป้าหมายความร่วมมือด้านความยั่งยืนของโลกที่ประเทศสมาชิกกว่า 193 ประเทศรวมถึงไทยได้ให้คำมั่นว่าจะร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :SDGs)

 

ธุรกิจ ESG โดนใจคนรุ่นใหม่

จากข้อมูลของ  MSCI ESG Research LLC ได้ทำการสำรวจนักลงทุนกลุ่ม Millennials หรือ Gen Y ประชากรกลุ่มใหญ่ที่มีทั้งรายได้และกำลังซื้อมหาศาล พบว่า 95% ของคนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับการลงทุนด้วยหลักการการลงทุนอย่างยั่งยืนในกลุ่ม ESG

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคอีกกลุ่มกำลังเติบโตขึ้นมาและต่อไปจะกลายเป็นพลังทางเศรษฐกิจยุคใหม่ คือ Gen Z” หรือ Zillennials” ประชากรเกิดระหว่างปี 1996-2016

นับวันประชากรกลุ่ม Zillennials เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ทั้งต่อภาคสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ภาคการผลิต ภาคการลงทุน เช่น การเงินการธนาคาร ไปจนถึงกลุ่มสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งหลายคนเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน และอีกหลายคนสามารถหารายได้ให้ตัวเองตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเรียน

Bank of America รายงานผลวิจัยผู้บริโภคกลุ่ม Zillennials จำนวนกว่า 14,000 คนในช่วงเดือนสิงหาคม 2020 พบว่าพลังทางเศรษฐกิจของคน Gen Z เติบโตเร็วที่สุดในโลก และนักลงทุนควรเตรียมตัว เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของ Generation และความต้องการของ Gen Z

คาดการณ์ Gen Z ทั่วโลก จะมีรายได้รวม 33 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2030 สะท้อนให้เห็นว่าในทศวรรษหน้า Zillennials เป็นผู้บริโภคที่มีอำนาจการจับจ่ายสูงกว่าผู้บริโภค Millennials และเมื่อคนกลุ่ม Gen Z มีอายุมากขึ้น แนวโน้มอำนาจการซื้อจะเพิ่มขึ้นตามด้วย

อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการเติบโต และมีบทบาทของ Gen Z คือ อีคอมเมิร์ซ บริการชำระเงินดิจิทัล ธุรกิจภายใต้แนวคิด ESG (Environment, Social, Governance)  ดังนั้นองค์กร แบรนด์สินค้า และบริการที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเลือกใช้ เลือกซื้อ เลือกสนับสนุนสินค้าและบริการแบรนด์ใดก็ตาม ต้องมีแนวคิด ESG ซึ่งเป็นแนวทางความยั่งยืนทางธุรกิจ สังคม และโลก เช่น มุมมองต่ออุตสาหกรรม Fast Fashion ที่เน้นออกคอลเลคชั่นใหม่ถี่ๆ เพื่อกระตุ้นให้คนซื้อง่าย – เปลี่ยนเร็ว แต่กลับส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก็จะไม่ได้รับความสนใจ

การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าใด บริการอะไรก็ตามแต่ Gen Z จะพิจารณา “คุณภาพ” มากกว่าปัจจัยราคา​ จะเห็นได้ว่า ESG เป็นเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ไปถึงผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน

 

SCG ESG Pathway “เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ณ อาคารเอนกประสงค์เอสซีจี สำนักงานใหญ่บางซื่อ เปิดเวที Inspiration Talk “เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก” ฟังหลากหลายมุมมองของคนหลาย Gen ลงมือทำจริงเรื่อง ESG ปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเพื่อโลก

ลงทะเบียนงาน  bit.ly/SCGESGPathway


แชร์ :

You may also like