HomeBrand Move !!5 เรื่องต้องรู้ มีอะไรใน “GrabAcademy”

5 เรื่องต้องรู้ มีอะไรใน “GrabAcademy”

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ต้องยอมรับว่า เราพบเห็นแบรนด์ต่าง ๆ จะออกมาเปิด Academy ของตัวเองกันมากขึ้น เพื่อนำเสนอคอร์สออนไลน์ที่เหมาะสมกับคนใน Ecosystem ซึ่งล่าสุด แพลตฟอร์ม Ride-Hailing และ Food Delivery อย่าง Grab ก็ได้เปิดตัว GrabAcademy ออกมาเช่นกัน

1. GrabAcademy ปัจจุบันมีสองแห่งในโลก

GrabAcademy แห่งแรกเปิดตัวที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ชื่อเต็ม ๆ คือ Grab Merchant Academy ซึ่งทางสิงคโปร์ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีคนสนใจเข้าร่วมอบรมราว 3,000 คน จากคอร์สที่มีอยู่ประมาณ 20 คอร์ส

ส่วนประเทศไทยเปิดตัวเป็นลำดับที่สอง โดยภายใน GrabAcademy ที่ให้บริการในประเทศไทย จะแยกเป็นสองเว็บไซต์ นั่นคือ คอร์สสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านอาหาร และคอร์สสำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ

2. คอร์สออนไลน์ที่สอนกันสั้น ๆ

ความน่าสนใจของคอร์สบน GrabAcademy คือการพัฒนาให้คอร์สเรียนใช้เวลาเรียนไม่นาน ประมาณ 10 – 20 นาทีต่อคลาส ซึ่งคุณจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาด แกร็บ ประเทศไทย เล่าว่า ที่ทำเช่นนี้เพราะคนใน Ecosystem ของ Grab นั้นมีเวลาไม่มาก หลายคนต้องทำงาน จึงปรับหลักสูตรให้สั้นลง เพื่อให้ตอบโจทย์คนบนแพลตฟอร์ม

3. เริ่มเฟสแรกด้วย 80 คอร์สออนไลน์

สำหรับ GrabAcademy ในช่วงเริ่มต้นนั้นจะมีคอร์สออนไลน์ราว 80 คอร์ส เช่น คอร์สพัฒนาทักษะภาษาสำหรับคนขับเวลาต้องรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะได้สื่อสารกันเข้าใจ หรือคอร์สสอนการทำการตลาดออนไลน์ เช่น สอนการถ่ายรูปอาหารออกมาให้สวยงาม นอกจากนั้น ยังมีคอร์สสอนพื้นฐานด้านการบริหารธุรกิจ เช่น การจัดทำบัญชี ความรู้ด้านภาษี เป็นต้น

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งในเป้าหมายของคอร์สออนไลน์เหล่านี้ก็คือการทำให้ร้านอาหารหรือคนขับบนแพลตฟอร์มมีรายได้มากขึ้น โดยตัวอย่างหนึ่งที่ Grab พบก็คือ ร้านอาหารที่ใส่ภาพถ่ายอาหารสวย ๆ มีผลต่อการขายอาหารนั้น ๆ บนแพลตฟอร์มเช่นกัน ส่วนในเฟส 2 ซึ่งจะเริ่มในปีหน้า Grab บอกว่า จะมีการพัฒนาคอร์สออนไลน์แบบเฉพาะเจาะจงออกมามากขึ้น

(ซ้ายไปขวา) คุณจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาด แกร็บ ประเทศไทย, ผศ. ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และคุณหทัยพร เจียมประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

4. ตั้งเป้าเจาะกลุ่ม Micro SME

กลุ่มเป้าหมายของ GrabAcademy หลัก ๆ คือกลุ่ม Micro SME เช่น พาร์ทเนอร์ร้านอาหารและพาร์ทเนอร์คนขับ แต่บุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าไปเรียนได้ โดยทางแพลตฟอร์มตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีจะมีผู้เข้ามาเรียนมากกว่า 15,000 คน

5. เรียนได้ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook

สำหรับช่องทางในการเข้าถึง นอกจากเว็บไซต์ที่ระบุไว้ในตอนต้นแล้ว ยังมีช่องทางบน Facebook อีกด้วย โดยเป็นการไลฟ์ผ่านเพจของ Grab ประเทศไทย ไม่ได้แยกออกมาเป็นเพจของ GrabAcademy อย่างเป็นทางการ

แม้ว่าเราจะเรียกว่า GrabAcademy กันจนติดปาก แต่ชื่อเต็ม ๆ ของโครงการนี้คือ GrabAcademy powered by depa ซึ่งมาจากการจับมือกันของสามองค์กร นั่นคือ Grab, depa และ Klasssi สตาร์ทอัพสาย Edtech ในเครือธนาคารกสิกรไทย ที่มองเห็นตรงกันว่า การเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลจะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดหลังจากนี้แน่นอน เนื่องจากคนไทยตระหนักแล้วว่าต้องปรับตัวรับยุค New Normal นั่นเอง


แชร์ :

You may also like