HomeBrand Move !!ฟู้ดคอร์ท x สตรีทฟู้ด กลยุทธ์รับมือห้าง ในวันที่พฤติกรรมผู้บริโภคหลังโควิด-19 ไม่เหมือนเดิม

ฟู้ดคอร์ท x สตรีทฟู้ด กลยุทธ์รับมือห้าง ในวันที่พฤติกรรมผู้บริโภคหลังโควิด-19 ไม่เหมือนเดิม

แชร์ :

ศูนย์อาหารหรือฟู้ดคอร์ทเคยเป็นหนึ่งในแม่เหล็กที่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในห้างสรรพสินค้า เพราะด้วยจุดขายด้านความรวดเร็วและราคาไม่แพง จึงตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มองหาตัวเลือกที่ราคาย่อมเยา นอกเหนือจากร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า แต่ในช่วงที่มรสุมโควิด-19 พัดกระหน่ำตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนเกิดมาตรการ Lockdown ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของวิถีชีวิตผู้บริโภคอย่างมาก ทั้งทำให้ผู้คนออกนอกบ้านน้อยลง ไปรับประทานอาหารที่ร้านน้อยลง รวมถึงใส่ใจความปลอดภัยและสุขอนามัยสูงขึ้นกว่าเดิม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สิ่งเหล่านี้จึงล้วนเป็นโจทย์ให้ผู้ประกอบการศูนย์อาหารต้องปรับตัวให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคนี้ เพราะลำพังการสร้างบรรยากาศใหม่ การจัดพื้นที่ส่วนตัวสำหรับลูกค้าแบบกลุ่ม และการติดตั้งฉากกั้นพลาสติกคงจะไม่ใช่คำตอบในระยะยาว แผนกวิจัย ซีอาร์อี ได้ทำการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในศูนย์อาหารและมองว่าผู้ประกอบการศูนย์อาหารควรเพิ่ม “สตรีทฟู้ด” เพื่อให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในตลาดค้าปลีกต่อไป

คุณจริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นว่า ชื่อเสียงของกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งเมืองสตรีทฟู้ดชั้นนำของโลกที่ทุกคนยอมรับ โดยยูโรมอนิเตอร์รายงานว่า มูลค่าตลาดอาหารสตรีทฟู้ดโดยรวมในประเทศไทยอยู่ที่ 276,000 ล้านบาทในปี 2560 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 340,000 ล้านบาทภายในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.3% ต่อปี

แม้ตลาดอาหารสตรีทฟู้ดในไทยจะเติบโต แต่ในวันที่พฤติกรรมผู้บริโภคออกจากบ้านน้อยลง ประกอบกับร้านอาหารเหล่านี้มักขาดการบริหารแบบมืออาชีพและอาจประสบปัญหาในการเข้าถึงลูกค้าเนื่องจากที่ตั้งร้านอาจอยู่ในทำเลที่เป็นรองและมีเวลาเปิดปิดร้านที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี ระบุว่า การรวบรวมร้านอาหารสตรีทฟู้ดให้มาอยู่ในรูปแบบศูนย์อาหารจึงอาจทำให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยเจ้าของโครงการค้าปลีกสามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการได้มากขึ้น ขณะที่ร้านอาหารสตรีทฟู้ดก็สามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในระยะยาวได้

โดยจะเห็นได้จากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ได้มุ่งสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างด้วยการปล่อยเช่าพื้นที่ศูนย์อาหารให้กับร้านอาหารสตรีทฟู้ดที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ที่มีการเปิดตัว “อีทไทย (Eathai) ในปี 2557 ที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ ศูนย์อาหารระดับบนที่มีร้านอาหารไทย 56 ร้าน ตั้งแต่ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงไปจนถึงร้านอาหารสตรีทฟู้ดจากทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ ต่อมาในปี 2561 ได้เปิดตัว “ฟู้ดเวิลด์ (foodwOrld) ที่เซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมเมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์กว่า 600 รายการทั้งจากร้านอาหารที่มีชื่อเสียงและร้านอาหารสตรีทฟู้ด

ด้านกลุ่มเดอะมอลล์ ได้เปิดตัว “กูรเม่ต์ อีทส์ (Gourmet Eats) ที่เดอะมอลล์งามวงศ์วาน โดยมีร้านอาหารที่ติดอันดับในมิชลิน ไกด์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 และในเดือนกันยายน 2562 สามย่านมิตรทาวน์ได้ร่วมมือกับเอ็ม บี เค เปิดให้บริการศูนย์อาหารสามย่านมิตรทาวน์ ที่มีร้านอาหารสตรีทฟู้ดที่มีชื่อเสียงกว่า 17 ร้าน นอกจากนี้ แอม ไชน่าทาวน์ (I’m Chinatown) โครงการค้าปลีกที่เพิ่งเปิดใหม่และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมิกซ์ยูสที่พัฒนาโดย บริษัท แกรนด์ ยูนิแลนด์ จำกัด ยังได้นำอาหารสตรีทฟู้ดที่มีชื่อเสียงจากร้านทั่วกรุงเทพฯ โดยเฉพาะจากย่านเยาวราชเข้ามาเปิดที่บริเวณชั้น G และชั้น 2 เพื่อดึงดูดคนลูกค้าคนไทยและนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนมกราคม 2563

จึงนับเป็นหนึ่งในแนวทางการรับมือกับความท้าทายในโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วสำหรับผู้ประกอบการศูนย์อาหารต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจห้างสรรพสินค้ากลับมาฟื้นตัวและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like