HomeSponsoredSEAC ประกาศร่วมมือ KMUTT ส่งเสริมการเรียนรู้ Lifelong Learning ยกระดับการศึกษาไทยทันโลกไม่หยุดนิ่ง

SEAC ประกาศร่วมมือ KMUTT ส่งเสริมการเรียนรู้ Lifelong Learning ยกระดับการศึกษาไทยทันโลกไม่หยุดนิ่ง

แชร์ :

ตัองยอมรับว่า แม้ทุกวันนี้ธุรกิจและแบรนด์จะครองใจผู้บริโภค แต่ก็นิ่งนอนใจและหยุดพัฒนาไม่ได้ เพราะหากหยุดนิ่งเมื่อไหร่ เท่ากับธุรกิจกำลังหยุดพัฒนา และอาจทำให้คู่แข่งแซงหน้าไปได้ เช่นเดียวกับการ “เรียนรู้” ที่หยุดนิ่งไม่ได้เหมือนกัน เพราะโลกวันนี้มีทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน อีกทั้งในวันที่โลกต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เข้ามาพลิกวิถีการทำธุรกิจให้ไม่เหมือนเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งทำให้องค์ความรู้และทักษะเก่าๆ ที่เคยสั่งสมมาอาจหมดอายุและใช้การไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้น การเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา (Lifelong Learning) จึงเป็นคำตอบ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Hard Skills + Hyper-Relevant Skills คำตอบของโลกการทำงานที่ไม่เหมือนเดิม

เมื่อพูดถึงการเรียนรู้ หลายคนมักจะนึกถึงการนั่งเรียนในห้องเรียนสี่เหลี่ยม โดยมีอาจารย์ที่มีทักษะความรู้ในศาสตร์วิชานั้นๆ มาถ่ายทอดความรู้เชิงเทคนิค (Hard Skills) ให้ เมื่อเรียนจบครบตามเวลา ผู้เรียนจะทำการทดสอบ หากคะแนนได้ตามเกณฑ์ สถาบันการศึกษาจะมอบใบปริญญาบัตร เพื่อนำไปสมัครเข้าทำงานในองค์กรต่างๆ ต่อไป

นั่นคือภาพการเรียนรู้ที่เราเห็นจนชินตาในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา จนทำให้หลายคนอาจหลงลืมกันไปว่า ยังมีความรู้และทักษะอีกหลายอย่างที่จำเป็นต่อการทำงานโดยเฉพาะในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ลำพังความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีทักษะอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ทักษะเหล่านั้นก็คือ Hyper-Relevant Skills (ความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน) หรือ ทักษะชีวิต

โดย Hyper-Relevant Skills เป็นทักษะที่ไม่ได้ผูกติดกับความสามารถด้านสาขาอาชีพใดๆ แต่เป็นทักษะในเชิงการคิดวิเคราะห์ ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ สนุกกับแก้ปัญหา และสื่อสารทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งหากนักศึกษาหรือคนทำงานที่อยู่ในระบบมีทักษะเหล่านี้ ก็จะช่วยให้สามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และไม่ว่าจะทำงานในสายอาชีพไหน หรืออยากเปลี่ยนเส้นทางเดิน สามารถมองหาโอกาสใหม่ๆ และเปลี่ยนได้ทันที

แม้ว่า Hyper-Relevant Skills จะมีความสำคัญในการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่พบคือ สถาบันการศึกษาไม่ได้มีการเรียนการสอนทักษะเหล่านี้ เมื่อบริษัทรับคนเข้าทำงานโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่จึงกลายเป็นว่าองค์ความรู้ที่มีไม่ตอบโจทย์กับการทำงานในปัจจุบัน นั่นเกิดเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ SEAC เพื่อต้องการจะพัฒนาทักษะความสามารถของนักศึกษาหรือบุคลากรที่อยู่ในตลาดแรงงานให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานและตรงกับความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายมากขึ้น

ยกระดับการศึกษาไทยออกจากกรอบเดิมๆ สู่ Supermarket of knowledge

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) บอกว่า ปัจจุบันใบปริญญายังสำคัญอยู่ แต่จะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ โดยในอนาคต “ทักษะชีวิต” จะสำคัญกว่า “ทักษะองค์ความรู้” เพราะองค์ความรู้หาที่ไหนก็ได้ แต่ทักษะชีวิตต้องฝึกฝน และสามารถสร้างความสำเร็จให้กับหลายๆ คนมาแล้วทั้งๆ ที่บางคนเป็นเด็กหลังห้อง

“โลกยุคใหม่ต้องการนิยามใหม่ของนักศึกษา โครงสร้างประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นและยังมีศักยภาพ หรือคนในวัยทำงานกว่า 38 ล้านคนก็ต้องการยกระดับศักยภาพของตนเองเพื่อให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนตลอดเวลา มหาวิทยาลัยจึงต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมาเรียนรู้ทักษะใหม่ (reskill) หรือต่อยอดยกระดับทักษะ (up-skill) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ตลอดเวลา สมการใหม่ของระบบการศึกษาจึงต้องออกนอกกรอบของเวลาแบบเดิมๆ โดยผู้เรียนจะเข้ามาเรียนเมื่อสนใจ ได้ทักษะและออกไปทำงาน เมื่อทำงานคิดว่าต้องการทักษะเพิ่มขึ้น ก็กลับมาเรียนเพิ่มได้เรื่อยๆ” รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย บอกถึงโลกแห่งการเรียนรู้ใหม่

ขณะที่อาจารย์ผู้สอนต้องไม่ใช่เก่งแค่วิชาการ แต่ยังต้องรู้เท่าทันการใช้งานจริงของภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจด้วยว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาดแรงงานไปอย่างรวดเร็ว Life Cycle หรือ รอบอายุของความรู้ที่สอนๆ กันอยู่ในสถาบันต่างๆ สั้นลงเรื่อยๆ บางทีนักศึกษาเข้าเรียนปี 1 เป็นเรื่องที่ทันสมัยมาก ปรากฏว่า พอใกล้จบปี 4 เทคโนโลยีเปลี่ยนแล้ว

สอดคล้องกับมุมมองของ คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) บอกว่า Hyper-Relevant Skills เป็นทักษะที่ถูกพูดถึงมากที่สุดใน World economic forum เพราะเป็นทักษะที่มีความจำเป็นที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานท่ามกลางบริบทแห่งการเปบี่ยนแปลงของโลกในทุกวันนี้

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่มีอะไรน่าห่วงเท่ากับการที่คนมีช่องว่างในการทำงานให้ตอบโจทย์กับโลกยุคใหม่ โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือองค์ความรู้ของคนไม่มีทางเพียงพอสำหรับ New Economy ได้ ขณะเดียวกันวันนี้หลายๆ องค์กรยังไม่รู้ว่าดิสรัปชั่นที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากเทคโนโลยีหรือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้ตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน”

คุณอริญญา สะท้อนภาพความท้าทายที่คนทำงานต้องเผชิญ เมื่อบวกกับความเชื่อว่า การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด สามารถเรียนรู้ได้ตลอดทุกช่วงชีวิต และหากคนไทยสามารถเข้าถึงความรู้ที่เหมาะสมจะนำไปสู่โอกาสในการทำงานและทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิมได้ ตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา SEAC จึงมุ่งสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้แรกของโลกที่เป็นแบบผสมผสาน (Blended learning platform) อย่าง YourNextU เพื่อตอบโจทย์ New Economy โดยการสร้างองค์ความรู้ที่เพียงพอ เพิ่มสกิลหนุนทักษะอื่น นอกเหนือจากหลักสูตรหลักที่ต้องเรียนในสถาบัน

ควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจว่าการจะสร้างนักศึกษาออกมาหนึ่งคนให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศชาติ นอกจากองค์ความรู้ในเชิงเทคนิคแล้ว จำเป็นต้องมีความสามารถและทักษะอื่นๆ ทั้งในเรื่องของวิธีการมอง หรือ Mindset, ทักษะการสื่อสาร, การนำเสนอ รวมถึงการใช้ชีวิต และความฉลาดทางอารมณ์ด้วย จึงได้พัฒนา Hyper-Relevant Skills มาตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1,500 หลักสูตรกว่า 30 หมวดหมู่ พร้อมทักษะย่อยอีกมากมายในแต่ละหมวดหมู่

นำร่องด้วย 3 หลักสูตร ตอบโจทย์ตลาด

สำหรับความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะเป็นการร่วมกันพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree) ทั้งในรูปแบบหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree) ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E–learning) ระบบออนไลน์ (Online Learning ) แบบห้องเรียน (Classroom Learning) และรูปแบบอื่นๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมายหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษา บุคลากรในภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรม และบุคคลทั่วไป ผ่านการจัดรูปแบบการเรียนที่คล่องตัว ทันสมัยขึ้น และตรงกับความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายมากขึ้น

โดยในปีแรกของการร่วมมือนั้น ทั้งสองสถาบันมีแผนจะร่วมกันออกแบบหลักสูตรประกาศนียบัตรสร้าง “ทักษะ” และ “กลุ่มอาชีพ” ใหม่ ป้อนเข้าสู่ตลาดที่ต้องปรับตัวตามยุค New Normal ได้แก่ Online Instructional Designer (นักออกแบบการสอนแบบออนไลน์), Virtual Learning Facilitator (อาจารย์เกื้อหนุนสำหรับการเรียนแบบออนไลน์) และ Data Scientist Facilitator (อาจารย์เกื้อหนุนด้าน Data Science) นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรด้าน Business Mindset ให้กับบุคลากรสายวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ซึ่งทักษะและแนวคิดด้านธุรกิจเป็นส่วนสำคัญที่ควรถูกเติมเต็มให้กับกลุ่มบุคลากรสายนี้ รวมทั้งยังมีแผนการใช้หลักสูตรออนไลน์สำหรับจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดการห้องเรียนภายใต้นโยบาย Social Distancing เป็นต้น

“เป็นหลักสูตรใหม่ที่เราคิดว่าจำเป็นมากสำหรับอนาคต เบื้องต้นเรามีการคุยกันว่าจะลองเปิดหลักสูตรแบบนี้ดูเพราะหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเรียนออนไลน์จะมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญต้องออกแบบหลักสูตรที่สามารถดึงดูดให้คนอยากเข้ามาเรียนตลอดเวลา โดยทั้ง 3 หลักสูตรนี้คาดว่าจะเปิดตัวภายในปีนี้”

สำหรับปีต่อๆ ไป ทั้ง มจธ. และ SEAC มีแผนบุกตลาดประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดเส้นแบ่งเขตแดนของการศึกษาและแรงงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพของกำลังคนให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน เพิ่มขีดความสามารถของแรงงานในภูมิภาค และจะแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำของโลกต่อไป

ยกระดับการศึกษาไทยสู่เป้าหมาย Lifelong Learning

สิ่งที่มจธ. และ SEAC กำลังทำอยู่ในตอนนี้ คุณอริญญา ยอมรับว่า อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด โดยเป็นแนวคิดที่มาจากการเรียนรู้ในสมัยก่อนที่ใครอยากเรียนก็ไปหาอาจารย์ที่เก่งๆ ให้ถ่ายทอดทักษะความรู้ให้สามารถนำไปประกอบอาขีพได้แต่ไม่มีปริญญา แต่สิ่งจะทำให้ใหม่อยู่ที่ “วิธีการ” ซึ่งไม่ใช่แค่การดึงเอาความเชี่ยวชาญของแต่ละสถาบันแล้วมาต่อจิ๊กซอว์กัน แต่จะเป็นการผสานความเข้มแข็งของสององค์กรเพื่อออกแบบหลักสูตรใหม่ให้สอดรับกับความต้องการผู้เรียนและตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอีกด้วย

ไม่เพียงแค่นั้น เพราะด้วยวิธีการที่แตกต่าง ยังทำให้ SEAC มั่นใจว่าหลักสูตรที่ร่วมกันออกแบบใหม่ในครั้งนี้ จะช่วยลดปัญหาแรงงานไม่มีคุณภาพ หรือการผลิตคนไม่สอดคล้องกับเนื้องานในตลาดแรงงานปัจจุบัน และสร้างคนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดงานได้ตามสายงานที่ตลาดมีความต้องการได้มากขึ้น รวมถึงพัฒนานักวิจัยไทยให้สามารถผลิตงานวิจัยคุณภาพที่นำไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาได้จริง

“ตั้งแต่เกิดโควิดคนให้ความสนใจในการ Up Skill และ Re-Skill มากขึ้น เพราะคนเริ่มกังวลมากขึ้นว่างานเดิมจะยังอยู่ต่อได้ไหมหรืองานเดิมจะสามารถทำแบบเดิมได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน หลายบริษัทมีการลดคนเป็นจำนวนมาก ทำให้คนหนึ่งคนต้องทำหลายบทบาทหน้าที่มากขึ้น ความต้องการ Up Skill และ Re-Skill จึงมากขึ้น เพื่อจะทำให้ตัวเองยังคงมีคุณค่าที่จะทำงานได้หลายหน้าที่ต่อไป”

คุณอริญญา บอกถึงการตื่นตัวในการเรียนรู้ของมนุษย์แรงงานไทย และคาดหวังว่า ความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะทำให้คนไทยเรียนได้ตลอดชีวิตเมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้ และอยากจะเปลี่ยนอาชีพเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ ซึ่งจะทำให้ยกระดับการศึกษาไทย และพัฒนาขีดความสามารถคนไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น

#SEAC #YourNextU #KMUTT #EmpowerLiving #LifelongLearning

 


แชร์ :

You may also like