HomeBrand Move !!เริ่มใช้แล้ว พรก.ฉุกเฉิน ทำไมร้าน 7-Eleven แต่ละสาขาเวลา “เปิด-ปิด” ไม่เหมือนกัน

เริ่มใช้แล้ว พรก.ฉุกเฉิน ทำไมร้าน 7-Eleven แต่ละสาขาเวลา “เปิด-ปิด” ไม่เหมือนกัน

แชร์ :

วันนี้ (26 มี.ค.2563) เป็นวันแรกที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เริ่มบังคับใช้ทั่วประเทศ เพื่อดูแลสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)  ข้อกำหนดแรกจะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. ถึงวันที่ 30 เม.ย. 2563  สามารถต่ออายุเป็นคราวๆ ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เรื่องหลักๆ ของ ข้อกำหนด ได้นำประกาศ “ปิดสถานที่เสี่ยง” ต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19  ที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ประกาศคำสั่งให้บังคับใช้เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2563 มาใส่ไว้ด้วย โดย “ผู้ว่าราชการจังหวัด” มีอำนาจในการดูแลสถานการณ์แต่ละจังหวัด และพิจารณาออกประกาศคำสั่งเพิ่มเติมได้

ก่อนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน  เห็นได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ มีการออกประกาศคำสั่งไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น คำสั่ง “ปิดเมือง” ของผู้ว่าฯ บุรีรัมย์  ผู้ว่าฯ อุทัยธานี  รวมทั้งคำสั่งปิด 26 สถานที่เสี่ยงของผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ซึ่งการออกคำสั่งปิดสถานที่ต่างๆ เป็นอำนาจโดยตรงของผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด  โดยใช้อำนาจตามความมาตรา 35(1) พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558

หลังประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บังคับใช้ในสถานการณ์โควิด-19  ผู้ว่าราชการจังหวัด ยังมีอำนาจออกประกาศคำสั่งดูแลสถานที่ต่างๆ เหมือนเดิม แต่บทลงโทษหากฝ่าฝืนจะเป็นไปตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ตอนนี้เราเริ่มเห็นร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่มีกว่า 10,000 สาขาทั่วประเทศ ที่ปกติให้บริการ 24 ชั่วโมง แต่ละจังหวัดมีประกาศของผู้ว่าฯ ออกมากำหนดเวลาเปิด-ปิด แตกต่างกันบ้างแล้ว

เช่น ผู้ว่าฯ เพชรบูรณ์ ออกคำสั่ง ให้ร้านสะดวกซื้อในพื้นที่ให้บริการตามเวลาที่กำหนด เปิด-ปิด เวลา 05.00-24.00 น. ส่วนผู้ว่าฯ อุดรธานี ก็ได้ออกคำสั่งให้ร้านสะดวกซื้อที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ให้เปิด-ปิด เป็นเวลา คือ ตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น. เห็นได้ว่าแต่ละจังหวัดผู้ว่าราชการ ออกคำสั่งดูแลสถานการณ์ป้องกันโรคโควิด-19 แตกต่างกัน ทำให้เวลานี้ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แต่ละพื้นที่จะเปิด-ปิด ต่างกัน ให้ดูตามประกาศคำสั่งของแต่ละจังหวัดที่จะออกมานั่นเอง หากยังไม่มีประกาศออกมาก็เปิด 24 ชั่วโมงตามปกติ

ส่วนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1  ซึ่งเริ่มบังคับใช้ทั่วประเทศวันนี้ (26 มี.ค.2563) เป็นวันแรกยังไม่มีการประกาศ “เคอร์ฟิว” แต่ได้มีมาตรการสำคัญที่จะช่วยควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด  ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของประชาชนมี 3 ประเภท คือ  ห้ามทำ (don’t)  ให้ทำ (do)  และ ควรทำ (should)

“ห้ามเข้า” พื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ตามที่กำหนดไปก่อนหน้านี้  ซึ่งได้มีประกาศสั่งปิดไปแล้ว เช่น สนามมวย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น (ทุกจังหวัด)  ผับ สถานบริการ สปา สถานบันเทิง สถานที่แสดงมหรสพ (กทม.และปริมณฑล) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ห้างสรรพสินค้า(ยกเว้น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา) พิพิธภัณฑสถาน  และให้ผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัด พิจารณาตามความเหมาะสมเพิ่มเติม

“ห้ามกักตุน” สินค้าประเภทยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม และสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภค “ห้ามชุมนุม” หรือทำกิจกรรมมั่วสุม “ห้ามเสนอข่าวเท็จ” ข่าวที่อาจทำให้เข้าใจผิด หรือทำให้หวาดกลัว

“แนะนำ” ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงไม่ออกจากบ้าน ยกเว้นมีความจำเป็น เช่น พบแพทย์ ขึ้นศาล โดยแบ่งกลุ่มเสี่ยง เป็น 3 กลุ่มดังนี้ ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป  ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมมอง โรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ เด็กเล็กกว่า 5 ปีลงมา

“การเดินทาง” ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัด แต่หากจำเป็น ต้องผ่านการคัดกรองตามมาตรการของทางรัฐ เพื่อการติดตามอาการหรือกักกันตัว รวมทั้ง “ปิด” การใช้ยานพาหนะเข้าประเทศทั้งทาง บก เรือ อากาศ ยกเว้นผู้มีเหตุจำเป็นตามข้อกำหนด


แชร์ :

You may also like