HomeDigital5 แนวทางการใช้ Social Media ท่ามกลางเหตุโศกนาฏกรรม

5 แนวทางการใช้ Social Media ท่ามกลางเหตุโศกนาฏกรรม

แชร์ :

 

ต้องยอมรับว่าโลกทุกวันนี้ มีโอกาสที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุร้ายแรง หรือสถานการณ์อันตรายที่นำไปสู่การสูญเสียของผู้คนจำนวนมากได้บ่อยมากขึ้น และเป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

และบนโลกใบเดียวกันนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ช่องทางหนึ่งที่คนพร้อมจะวิ่งเข้าหาก็คือ “โซเชียลมีเดีย” ไม่ว่าจะเพื่อติดตามสถานการณ์ หรือการเข้าไปเพื่อดูว่ามีอะไรบ้างที่ตัวเราพอจะช่วยให้สถานการณ์ต่าง ๆ นั้นบรรเทาลงได้ รวมถึงการส่งกำลังใจให้กับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งสำหรับแบรนด์เอง แน่นอนว่าช่วงเวลาแห่งโศกนาฏกรรมนี้ก็มีสิ่งที่ต้องเตรียมการรับมือด้วยเช่นกัน ซึ่งเราขอสรุปเบื้องต้นมาเป็น 5 ข้อสั้น ๆ ดังนี้

1. เลื่อนเวลาคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย

หลายแบรนด์อาจมีคอนเทนต์ที่ตั้งเวลาเอาไว้ล่วงหน้าว่าจะเผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าวพอดี แต่อาจเป็นการดีกว่าหากจะเข้าไปยุติการเผยแพร่คอนเทนต์นั้น ๆ หรือไม่ก็เลื่อนเวลาออกไปก่อน เพราะสิ่งที่ตามมาจากเหตุรุนแรงคือความเศร้าโศกเสียใจ และความโกรธแค้นจากผู้คนที่มีต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งอาจไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับเผยแพร่คอนเทนต์ของเราออกไปนั่นเอง

2. แชร์แต่ข้อมูลที่ถูกต้อง

ถ้าหากเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในจังหวัด หรือประเทศของเราเอง สิ่งที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้ดีที่สุดคือการมีสติ และหากแบรนด์จะแชร์ข้อมูล ต้อง “แชร์แต่ข้อมูลที่ถูกต้อง” เท่านั้น ห้ามเผยแพร่หรือทำตัวเป็นผู้ปล่อย Fake News เสียเอง

3. ถ้าคิดข้อความที่ดีไม่ได้ เงียบไว้ดีกว่า

แต่ก็ต้องยอมรับว่า ในสถานการณ์รุนแรงดังกล่าว แบรนด์อาจอยู่ท่ามกลางโพสต์ของผู้คนมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละคนก็มีทัศนคติแตกต่างกันไป อีกทางหนึ่งที่แบรนด์สามารถทำได้จึงอาจเป็นการเงียบ และเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างมีสติ

4. เสนอความช่วยเหลือที่จำเป็น

อีกทางหนึ่งที่แบรนด์สามารถทำได้ก็คือการเสนอความช่วยเหลือให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น โดยหากยกตัวอย่างกรณีของต่างประเทศ เคยมีเหตุการณ์พายุเฮอริเคนถล่มเมืองในสหรัฐอเมริกา และมีบางบริษัทใช้โซเชียลมีเดียเพื่อบอกผู้คนในเมืองนั้นว่า สามารถเข้ามาใช้พื้นที่สำนักงานใหญ่ของเขาในการหลบภัยได้

หรือในกรณีของเหตุการณ์กราดยิงเมื่อคืนที่ผ่านมา เราก็เห็นภาพของหลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในตัวเมืองโคราชออกมาให้กำลังใจ พร้อมข้อความว่าพวกเขาจะร่วมต่อสู้ไปกับชาวโคราชทุกคนปรากฏอยู่เช่นกัน

5. ไม่ควรตัดสินฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในเวลาวิกฤติ

แบรนด์ไม่ควรนำเสนอคอนเทนต์ที่อาจชี้นำ ตัดสิน หรือเลือกข้างว่าจะอยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ท่ามกลางสถานการณ์ที่รุนแรง ส่วนหนึ่งเพราะผู้คนที่เข้ามาในโซเชียลมีเดีย ณ เวลานั้นเต็มไปด้วยอารมณ์ และความโกรธแค้น ดังนั้นจึงควรจะรอให้เวลาผ่านไปสักระยะ และค่อยเสนอแนวทางที่แบรนด์คิดว่าถูกต้องเหมาะสมจะดีกว่า

และท้ายสุดนี้ ทีมงาน Brandbuffet ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมค่ะ

Source

Source

Source

Source


แชร์ :

You may also like