Homeไม่มีหมวดหมู่ไปเที่ยวบ้านเพื่อนกันไหม? “ททท.” ดึงศิลปินอาเซียน ปลุกกระแสป๊อปคัลเจอร์ เที่ยว “เมืองรอง” ในอาเซียน

ไปเที่ยวบ้านเพื่อนกันไหม? “ททท.” ดึงศิลปินอาเซียน ปลุกกระแสป๊อปคัลเจอร์ เที่ยว “เมืองรอง” ในอาเซียน

แชร์ :

 

ย่านเมืองเก่า อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

หากเจาะลึกลงไปยังกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมชื่นชอบออกไปหาแรงบันดาลใจจากการทำสิ่งแปลกใหม่ ชื่นชอบความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมทั้งแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่น และตามล่าจุดเช็คอินในสถานที่เต็มไปด้วยสีสันของแต่ละเมือง เราจะพบพฤติกรรมทั้งหมดที่ว่ามานี้ได้ในคน “กลุ่มมิลเลนเนียล”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ป๊อปคัลเจอร์” เทรนด์ท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง

ปัจจุบัน ชาวมิลเลนเนียล ซึ่งมีอายุ 18-35 ปี มีจำนวนกว่า 45% ของประชากรทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก และกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 60% ในปี 2563 เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคนกลุ่มนี้กำลังกลายเป็นผู้บริโภคหลักในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวมิลเลนเนียลให้ความสนใจมาก 

ในการท่องเที่ยวแต่ละทริป ชาวมิลเลนเนียลมักค้นหาข้อมูลในโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ท่องเที่ยว ขณะเดียวกันยังคงติดตาม อินฟลูเอนเซอร์เพื่ออัพเดตเทรนด์ หาไอเดีย และแรงบันดาลใจใหม่ๆ รวมถึงการตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี โดยหนึ่งเทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยม คือ “การเลือกเดินทางตามกระแสป๊อปคัลเจอร์” 

ศาลเจ้าพ่อพญาแก้ว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

เว็บไซต์จองโรงแรม Booking.com เผยข้อมูลน่าสนใจไว้ว่า การเลือกเดินทางตามกระแสป๊อปคัลเจอร์ เป็นหนึ่งในเทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงที่ผ่านมา โดย 39% ของผู้เดินทาง ได้ไอเดียการท่องเที่ยวจากการอ่านบล็อก หรือดูคลิปแนะนำของเหล่ายูทูปเบอร์ ส่วนอีก 36% ระบุว่า สถานที่ซึ่งเคยปรากฏในทีวี ภาพยนตร์ หรือเอ็มวีเพลง ถือเป็นแรงจูงใจให้ลองไปเยือนสักครั้งในปีที่จะมาถึง

หากถามว่า อะไรคือกระแสป๊อปคัลเจอร์” (Pop Culture) ต้องบอกว่า ปีอปคัลเจอร์เป็นได้ทั้งวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เกิดขึ้นในสังคม หรืออาจเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่คนจำนวนหนึ่งสร้างขึ้นมา ทั้งหมดนี้สะท้อนผ่านทุกสิ่งทุกอย่างในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย อาหาร รายการโทรทัศน์ ดนตรี ภาพยนตร์ กีฬา ตลอดจนการเดินทางท่องเที่ยว

ในฐานะที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 ทุกภาคส่วนต่างขานรับและเดินหน้าจัดกิจกรรมเพื่อบรรลุข้อตกลงอาเซียน เช่นเดียวกับภาคธุรกิจท่องเที่ยว 

ให้เพื่อนมาเที่ยวบ้านเรา แล้วเราก็ไปเที่ยวบ้านเพื่อน

อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. มีเป้าหมายสำคัญที่จะเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในทุกๆด้าน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั้ง 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ให้เดินทางมาสู่พื้นที่ต่างในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวอาเซียนให้เป็นจุดหมายปลายทางเดียวกัน (Single Destination) ในอนาคต

ในปี 2018 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียนเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย 10.5 ล้านคน โดยมีนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และพม่า เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุดตามลำดับ สร้างรายได้ให้กับประเทศราวๆ 3.2 แสนล้านบาท 

พฤติกรรมที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวจากอาเซียน พบว่า ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาอยู่ในประเทศไทยเฉลี่ย 5 วัน และมีอัตราการใช้จ่ายเฉลี่ย 37,000 บาทต่อคนต่อทริป โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ จะเป็นการช้อปปิ้ง 

คุณกฤษฎา รัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาททท. ได้จัดทำแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวในกลุ่ม เมืองรอง55 จังหวัด ก่อนจะขยายมาสู่ 12 เมืองต้องห้ามพลาด เพื่อกระจายนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ไปสู่ชุมชน พร้อมทั้งเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง ทั้งนี้จากการกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรองในช่วงที่ผ่านมา สามารถเพิ่มการเติบโตของรายได้ในพื้นที่ 7-10%

 

จากการที่ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน ล่าสุดททท. เดินหน้าขยายการท่องเที่ยวเมืองรองมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยุคใหม่ ผ่านโครงการ “Experiencing ASEAN POP Culture” ที่เฟ้นหาเมืองรองที่มีสถานที่สวยงามและทรงคุณค่าด้านวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งในไทยและแถบอาเซียน โดยนำเสนอวัฒนธรรมแต่ละถิ่นฐาน เชื่อมโยงกับด้านอาหาร ศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี และกีฬา ในจังหวัดเมืองรอง ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเมืองรองในประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา และเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์

“โครงการนี้เราโฟกัสไปที่นักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีรูปแบบการเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม และชอบท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งแตกต่างจากนักท่องเที่ยวกลุ่ม Mass ดังนั้นททท. จึงนำจุดแข็งด้านวัฒนธรรมของจังหวัดเมืองรองมาเป็นจุดขายผ่านการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียง เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างไทยและอาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางกระตุ้นการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน” คุณกฤษฎา กล่าว 

ชูอาเซียนไลฟ์สไตล์ ผ่านอินฟลูเอนเซอร์

สำหรับจุดเด่นของโครงการนี้ คือ การดึงอินฟลูเอ็นเซอร์สายศิลปิน (Artist) ที่มีชื่อเสียงบนโลกออนไลน์ ทั้งจากไทยและอาเซียน มาร่วมเป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสื่อสารถึง “เสน่ห์ของประเทศอาเซียน” ผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และอาหาร โดยนำจุดเด่นแต่ละเมืองมาสร้างอัตลักษณ์ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของอาเซียนไลฟ์สไตล์ในรูปแบบที่เป็นที่นิยมของคนปัจจุบัน เพื่อจุดกระแสให้เกิดการท่องเที่ยวในเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรม 

ศิลปินที่ได้รับเชิญให้มาร่วมโครงการ “Experiencing ASEAN POP Culture” ได้แก่ Ceno2 ศิลปินวาดภาพชาวสิงคโปร์, Toma และ William ชาวเวียดนาม, Peap Tarr และ Lisa Mam ศิลปินวาดภาพชาวกัมพูชา, Alisson Shore นักร้อง-นักดนตรีจากฟิลิปปินส์, Jirayu Koo นักวาดภาพประกอบชาวไทย และ Vinn และ Patararin สถาปนิกชาวไทย, Jackkritt Anantakul ศิลปินชาวไทย, Kanji Chai ศิลปินชาวมาเลเซีย, Andrew Suryono ช่างภาพระดับแถวหน้าของอินโดนีเซีย, Dj. Muninn ศิลปินชาวไทย

Lisa Mam ศิลปินวาดภาพชาวกัมพูชา

นอกจากนี้ยังมี William Luong และ Toma Nguyen สองนักวาดภาพประกอบชาวเวียดนาม, Lemthy และ Sompong Inthavong ศิลปินชาวลาวจากคณะละครหุ่นเชิดที่มีชื่อเสียงในระดับสากล, Nadzri Harif นักมายากลชาวบรูไน, 2Choey นักวาดภาพประกอบชาวไทย, Vutha Tor ศิลปินชาวกัมพูชาผู้ก่อตั้งสถาบัน Phare Ponleu Selpak, Chef Black เชฟชาวไทยเจ้าของร้านอาหาร Blackitch Artisan Kithen ในจังหวัดเชียงใหม่ และ The Rebel Riot ft.Kyaw Kyew วงดนตรีพังก์ร็อกจากเมียนมาร์

Jirayu Koo นักวาดภาพประกอบชาวไทย

ทั้งนี้ศิลปินทั้งหมดได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมกัน รวมทั้งท่องเที่ยวดูงานกับชุมชน เพื่อนำแรงบันดาลมาสร้างผลงานร่วมกันเป็นสมบัติไว้ที่ เมืองรองในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ ย่านเมืองเก่า อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย กับกิจกรรมต่อยอดจากการสร้างสรรค์ Mural Arts & Street Arts ,ที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด กับการสร้างงานศิลปะและจัดกิจกรรมเวิร์คชอป, ที่ศาลเจ้าพ่อพญาแก้ว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับการจัดกิจกรรมร่วมกับศิลปินออกมาเป็น POP Culture ในหลากหลายแนว, ที่ตลาด Phsar Nut พระตะบอง ประเทศกัมพูชา กับ Art Festival ที่มีจัดงานสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและเดินขบวนพาเหรด และสุดท้ายที่โรงแรม Mercure Mandalay Hill Resort มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ ที่ Chef Black เดินทางไปคัดสรรวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อรังสรรค์เมนู Chef’s Table อีกด้วย

POP Culture ผ่านอาหาร โดย Chef Black

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของโครงการนี้ยังได้รับแรงผลักดันและการสนับสนุนจากภาคเอกชน อาทิ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์, สายการบิน บางกอก แอร์เวย์ส, บริษัทสีเบเยอร์, โรงแรม Mercure Madalay Hill Resort, และ บริษัท BMW ประเทศไทย จำกัด ตลอดทั้งโครงการอีกด้วย

 


แชร์ :

You may also like