HomeFoods - Lifeจาก “บ้าน” สู่ชีวิตการทำงาน ถึงเวลา “คมมาริ” คอมพิวเตอร์-สมาร์ทโฟน-อีเมล

จาก “บ้าน” สู่ชีวิตการทำงาน ถึงเวลา “คมมาริ” คอมพิวเตอร์-สมาร์ทโฟน-อีเมล

แชร์ :

ถ้าหากเอ่ยถึงแนวคิด “คมมาริ” (Konmari) หลายคนคงมีใบหน้าของ Marie Kondo(คนโด มาริเอะ) ที่ปรึกษาด้านการจัดบ้านให้เป็นระเบียบชาวญี่ปุ่นลอยมาแต่ไกล และปัจจุบัน คำแนะนำของเธอกำลังเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลกจากซีรีส์ Tidying up with Marie Kondo ทาง Netflix กับการเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกา และนำเทคนิคจัดระเบียบสิ่งของในบ้านไปช่วยครอบครัวต่าง ๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากที่เธอโด่งดังมาระลอกหนึ่งจากหนังสือเรื่อง The Life-Changing Magic of Tidying Up

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ส่วนหนึ่งที่ทำให้แนวคิด KonMari ได้รับความนิยมคือความเรียบง่ายในการปรับใช้ โดย คนโด มาริเอะจะแนะนำให้เราถามความรู้สึกของตัวเองเสมอว่า ทุกครั้งที่หยิบขึ้นมา ของสิ่งนั้นสร้างความสุข (Spark Joy) ให้เราได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือไช่ ก็ขอให้เก็บไว้ แต่ถ้าไม่ใช่ ก่อนจากกันก็ขอให้แสดงความขอบคุณที่มันรับใช้เรามาอย่างดี

แต่ในยุคดิจิทัล เราเชื่อว่า นอกจากตู้เสื้อผ้า ห้องครัว หรือโรงรถแล้ว บางครั้งสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และอีเมล ก็สมควรได้รับการจัดระเบียบด้วยเช่นกัน ซึ่งบทความนี้ปรับเอาวิธีคิดแบบ “คมมาริ” มาปรับใช้ ดังนี้

สำหรับคอมพิวเตอร์

1. แบ่งประเภทของไฟล์

ถ้าในซีรีส์ Tidying up with Marie Kondo เราอาจได้เห็นการเปิดตู้เสื้อผ้า และนำเสื้อผ้าทั้งหมดที่มีมากองรวมกัน แต่สำหรับคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เราอาจคัดแยกโดยการแบ่งประเภทของไฟล์ออกเป็น

– ไฟล์เอกสาร
– ไฟล์อื่น ๆ
– รายชื่อผู้ติดต่อ
– ไฟล์ภาพ (เก็บไว้ทำท้ายสุด)

2. สร้างโฟลเดอร์ “Spark Joy” และอนุญาตให้เก็บเฉพาะไฟล์ที่สร้างความสุขได้เท่านั้นใส่ลงในโฟลเดอร์นี้

3. สร้างอีกหนึ่งโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์สำคัญ ๆ (อย่าลืมตั้งชื่อให้มันดูมีความสำคัญด้วยนะคะ)

4. ขอบคุณไฟล์ที่เหลือ และลบทิ้งทั้งหมด

สำหรับสมาร์ทโฟน ทำคล้าย ๆ กับคอมพิวเตอร์ แต่อย่าลืมพิจารณาแอปพลิเคชันที่เราติดตั้งด้วยว่าสามารถ Spark Joy ได้หรือเปล่า และอย่าลืมอัปเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดนะคะ

สำหรับอีเมล

คำแนะนำของ คนโด มาริเอะต่อการจัดระเบียบอีเมล คือการมองมันให้เหมือนเอกสาร แล้วแบ่งออกเป็น 2 กอง นั่นคือ เอกสารสำคัญที่้ต้องเก็บ กับเอกสารที่ต้องรอการดำเนินการ ซึ่งกองที่ 2 นั้นสามารถลบทิ้งได้เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น ส่วนเอกสารที่เหลือที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 1 และ 2 สามารถลบทิ้งได้เลย

เชื่อว่าน่าจะเป็นวิธีที่ทำให้การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลราบรื่นขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ…

Source


แชร์ :

You may also like