HomeSponsoredโรงพยาบาลธนบุรี ออกโรงเตือน “โรคกระดูกพรุน” ภัยร้ายใกล้ตัวในยุค 4.0

โรงพยาบาลธนบุรี ออกโรงเตือน “โรคกระดูกพรุน” ภัยร้ายใกล้ตัวในยุค 4.0

แชร์ :

ถ้าคุณคิดว่า โรคกระดูกพรุน มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะกับคนสูงอายุคุณคิดผิด!! เพราะคนในยุคGeneration Y และ Millennials ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ส่งผลให้กระดูกหัก และเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตในอนาคตได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

​การทำงานหนัก นั่งทำงานหน้าจอทั้งวัน จนละเลยเรื่องของอาหารการกิน ทานแต่เนื้อสัตว์ อาหารรสจัด ดื่มน้ำอัดลม  ติดกาแฟ สูบบุหรี่ แถมมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เน้นปาร์ตี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนน้อยและมองข้ามการออกกำลังกาย ฯลฯ

พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นชนวนเหตุที่ทำให้คุณมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน และเกิดอาการกระดูกหักได้ง่ายๆ ทั้งบริเวณ กระดูกสันหลัง กระดูกสระโพก และกระดูกข้อมือ ในบางรายอาจทำให้เกิดอาการหลังค่อมและความสูงลดลง ฯลฯ

โรคกระดูกพรุน ก่อตัวเงียบ แต่ อันตราย 

หลายคนมารู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อสาย…กระดูกหักง่ายๆ ทั้งที่ล้มแค่เพียงเล็กน้อย…ทางองค์การอนามัยโลก เคยทำสถิติแล้วพบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุน มีโอกาสมากถึง 30-40% ที่จะเจอกับภาวะกระดูกหัก ส่วนผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว 1 ใน 5 มักหนีไม่พ้นต้องประสบปัญหากระดูกหัก

โรคกระดูกพรุน ที่หลายคนมองข้าม เพราะคิดว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้เฉพาะในวัย Baby Boomers แต่แท้จริงแล้วโรคนี้ค่อยๆสะสมขึ้นมาได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ถ้าคุณขาดการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพร่างกายที่ดี

สเต็ปสร้างเกราะป้องกันโรคกระดูกพรุน 

เพิ่ม : แคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบกระดูกและข้อ คนเราต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 ถึง 1,500 มิลลิกรัม โดยอาหารที่มีแคลเซียมสูง อาทิ นม โยเกิร์ต ปลาตัวเล็กตัวน้อย เต้าหู้ ถั่วเหลือง กุ้งแห้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้งฯลฯ

ลด : เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน น้ำอัดลมอาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์และเลิกสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการลดลงของแคลเซียม

สม่ำเสมอ : ควรหมั่นออกกำลังกายที่ไม่หักโหมมากนัก เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ

ตรวจสุขภาพมวลกระดูก ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ 

หลายคนให้ความสนใจดูแลโภชนาการกับสุขภาพและออกกำลังกาย แต่ทำไมยังเป็นโรคกระดูกพรุนได้ คำตอบก็คือ อาหารที่คุณทาน และการออกกำลังกายอาจไม่เพียงพอในการสร้างกระดูกให้แข็งแรง หรือคุณทานยาที่มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก เช่น สเตียรอยด์ ยาต้านชัก ยาฮอร์โมนธัยรอยด์ หรือ Heparin อีกทั้งเมื่อคุณมีอายุที่มากขึ้น กระบวนการสร้างกระดูกจะน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน จะมีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกบางลง และอีกเรื่องที่คุณอาจไม่รู้คือ โรคกระดูกพรุน เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าคนในครอบครัวเป็น นั่นหมายถึงคุณเองก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป

 

กระดูกพรุน ไม่เห็นด้วยตา แต่ก็อย่าชะล่าใจ ตรวจกระดูกวันนี้ เพื่อความแข็งแรงของกระดูกในวันหน้า

ดังนั้น การตรวจสุขภาพมวลกระดูกและตรวจกระดูกพรุน จึงถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ทราบถึงความแข็งแรงของกระดูก เพื่อที่คุณจะสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม และช่วยวินิจฉัยโรคได้ด้วย หากตรวจพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนจะได้ทำการรักษาก่อนที่จะเสี่ยงกับภาวะกระดูกหัก

หนึ่งในสถานพยาบาลที่ให้บริการตรวจสุขภาพกระดูก วินิจฉัยโรคกระดูกพรุน คือ โรงพยาบาลธนบุรี ในเครือบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ซึ่งดำเนินธุรกิจรักษาพยาบาล ให้บริการทางการแพทย์อย่างครบวงจร ทั้งโรงพยาบาลในประเทศและต่างประเทศ รับจ้างบริหารโรงพยาบาล ให้บริการดูแลสุขภาพนอกสถานที่ และยังมีโครงการที่พักอาศัยพร้อมบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายสำหรับผู้สูงวัย

ทั้งนี้ โรงพยาบาลธนบุรี ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลโรคทั่วไป และเป็นศูนย์รวมแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆ โดยมีคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการเข้าอบรมความรู้ และเทคโนโลยีในการรักษาอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งให้บริการด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาตรฐานสากล โดยได้รับการรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในฐานะโรงพยาบาลที่มีการจัดระบบงานที่ดี เอื้อต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย

ปัจจุบัน โรงพยาบาลธนบุรี นับเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนที่มี ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ครบวงจรรวดเร็ว ทันสมัย และเปี่ยมประสิทธิภาพ โดยมีคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ ครอบคลุมโรคทางกระดูกและข้อ อย่างครบถ้วน ที่พร้อมให้บริการตั้งแต่ ตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำการซักประวัติอาการเจ็บป่วยและตรวจร่างกาย การรักษา การทำหัตถการ การผ่าตัดโดยเข้าถึงการรักษา แบบเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย เช่น ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ( Magnetic Resonance Imaging ) การผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อทำแผลขนาดเล็ก หรือ กายภาพบำบัดพร้อมบริการให้คำปรึกษาซึ่งรวมไปถึงเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อความสบายใจและอุ่นใจในทุกการรักษา

สำหรับบริการตรวจสุขภาพกระดูก และตรวจกระดูกพรุน แบ่งเป็น 2 แพ็กเกจหลักที่ครอบคลุมทุกความต้องการของทุกช่วงวัย 

แพ็กเกจ A ตรวจสุขภาพกระดูก สำหรับบุคคลทั่วไป (อายุ 20 ปีขึ้นไป)

แพ็กเกจ B ตรวจกระดูกพรุน สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน สำหรับผู้หญิงหมดประจำเดือน ชายอายุมากกว่า50 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับยาสเตียรอยด์ ฯลฯ

“โรคกระดูกพรุน” สามารถเกิดได้กับทุกคน ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง และหาทางป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ร่างกายได้รับแคลเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน พร้อมกับหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และใส่ใจเช็คสุขภาพขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทาง ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้เครื่องวัดมวลกระดูก เพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และเมื่อพบปัญหาที่ต้องรีบ แก้ไขจะได้หาทางรักษาอย่างถูกวิธีด้วยเทคโนโลยีที่ครอบคลุมการรักษาที่รวดเร็ว และปลอดภัย


แชร์ :

You may also like