HomeINTERบทเรียน Michael Kors ซื้อกิจการ Versace อุตสาหกรรมแฟชั่นยุคใหม่ต้อง “รวมกันเราอยู่”

บทเรียน Michael Kors ซื้อกิจการ Versace อุตสาหกรรมแฟชั่นยุคใหม่ต้อง “รวมกันเราอยู่”

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Michael Kors แบรนด์แฟชั่นสัญชาติอเมริกัน เข้าเทคโอเวอร์ Versace แบรนด์แฟชั่นระดับไฮ-เอนด์จากอิตาลี  ด้วยมูลค่า 2,120 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในเบื้องต้น Donatella Versace น้องสาวของผู้ก่อตั้งแบรนด์และเป็นหนึ่งในดีไซน์เนอร์คนสำคัญ รวมทั้งคนในครอบครัว Versace อีกประมาณ 2-3 คนจะนั่งอยู่ในบอร์ดบริหารต่อไป

โดยแผนการหลังจากซื้อกิจการมาเป็นที่เรียบร้อยทาง Michael Kors จะรีแบรนด์ชื่อบริษัทเป็น Capri Holdings Limited รวมทั้งมีแผนขยายไลน์การผลิตของ Versace จากปัจจุบันนี้ที่มีรายได้ 35% จากรองเท้าและเครื่องประดับ ให้กลายเป็น 60% รวมทั้งขยายสโตร์เพิ่มอีก 100 แห่ง ความน่าสนใจของดีลนี้ไม่ได้อยู่ที่การซื้อกิจการเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเข้าใจในโลกของธุรกิจแฟชั่นในยุคโมเดิร์นได้เป็นอย่างดี ที่วันนี้ไม่ได้วัดกันแค่แบรนด์-ดีไซน์ในคอลเลกชั่น หรือวัสดุเท่านั้น แต่ยังหมายถึงพลัง “เงิน” ที่นำมาใช้ในการทำธุรกิจระดับโลก

Michael Kors – Versace คู่แข่งคนละสนามที่มาเจอกัน 

Michael Kors เป็นแบรนด์อเมริกันที่จับตลาดแมส แบรนด์น้องใหม่แบรนด์นี้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2011 และถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่ “เติบโตเร็วที่สุด” ด้วยกลยุทธ์ด้าน “ราคา”

ขณะที่ Versace เป็นอิตาเลี่ยนแบรนด์ชั้นสูง ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่ลายเสื้อ  จุดเริ่มต้นของแบรนด์เกิดจากธุรกิจครอบครัว ตระกูล Versace  กระทั่งในปัจจุบันหัวหอกคนสำคัญด้านดีไซน์ก็ยังคงเป็น Donatella Versace น้องสาวคนสุดท้องของ Gianni Versace ผู้ก่อตั้งแบรนด์ซึ่งถูกฆาตกรรมไปเมื่อปี 1997

Donatella Versace ในสตูดิโอที่ Milan

การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ของ Michael Kors สะท้อนภาพการแข่งขันในธุรกิจแฟชั่นที่แบรนด์จากสหรัฐอเมริกา พยายามจะเข้ามาแข่งขันกับแบรนด์ยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแบรนด์ฝรั่งเศส ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “รากเหง้าแห่งแฟชั่น”  ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์อย่าง Chanel, Dior หรือ Louis Vuitton ก็ถือกำเนิดและฐานบัญชาการหลักอยู่ที่นี่

ธุรกิจแฟชั่นในมือ 2 ค่ายใหญ่

การควบรวมธุรกิจแฟชั่นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุค 1990 และนั่นทำให้ปัจจุบันนี้แบรนด์แฟชั่นชั้นสูงตกอยู่ในมือ 2 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย กลุ่ม LVMH ของตระกูล Arnault และ Kering ของตระกูล Pinault 

LVMH ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 เมื่อ Louis Vuitton ควบรวมกิจการกับ Moët Hennessy บริษัทเครื่องดื่มชื่อดัง 1 ปีต่อมา พวกเขาก็ซื้อกิจการ Givenchy นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตลอดทศวรรษแบรนด์ Berluti, Kenzo, Céline, Loewe, Marc Jacobs, Fendi และ Christian Dior ก็ถูกไล่ซื้อจนอยู่ใต้ชายคาเครือบริษัทนี้จนหมด ยังไม่หยุดแค่นั้นพอร์ตธุรกิจบิวตี้ ก็มี Sephora, Kat Von D Beauty, Benefit Cosmetics, และ Fenty Beauty by Rihanna ที่อยู่เครือ LVMH เช่นกัน

ส่วน Kering ซึ่งเดิมรู้จักกันในนามของ Pinault-Printemps-Redoute และต่อมาก็เรียกกันว่า PPR ก่อตั้งเมื่อปี 1963 ในช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มธุรกิจนี้ก็รวมตัวแบรนด์ดัง ไม่ว่าจะเป็น Gucci และ Yves Saint Laurent มาอยู่ในเครือเดียวกัน และกระทั่งวันนี้กลุ่มบริษัท Kering ก็มีแบรนด์อย่าง Alexander McQueen, Balenciaga และ Brioni ตามมาในภายหลัง

ระดับรายได้ของทั้ง 2 เครือนี้เมื่อปี 2017 ก็(แค่) 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ…

ส่วนแบรนด์ดัง แบรนด์ใหญ่ระดับโลกที่ยังอยู่ได้แบบเดี่ยวๆ ได้น่ะเหรอ กวาดตามองไปแล้วก็น่าจะมีแค่ Chanel แบรนด์เดียวเท่านั้น

มะกันพาวเวอร์ ขอลุยสู้เครือยุโรป

สถานการณ์เดียวกันเกิดขึ้นในฝั่งสหรัฐอเมริกาบ้าง แต่ช้ากว่านานนับทศวรรษ เมื่อ Coach ซื้อกิจการของ Kate Spade เมื่อปีที่แล้วด้วยมูลค่า 2,400 ล้าน หลังจาก 2 ปีก่อนหน้านั้นได้เข้าซื้อแบรนด์รองเท้า Stuart Weitzman แล้วรีแบรนด์องค์กรจาก Coach Inc. เป็น Tapestry Inc. ซึ่งในตอนนั้นทาง Tapestry Inc. อธิบายการควบรวมที่เกิดขึ้นว่า “แทนที่จะเติบโตจากแบรนด์และพอร์ตโฟลิโอของเราในปัจจุบันเท่านั้น การขยายไปสู่แคทริกอรี่และตลาดใหม่ๆ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ”

เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะซื้อกิจการของ Versace ทาง Michael Kors ได้ซื้อ Jimmy Choo ไปแล้วตั้งแต่ปี 2017 Florence Allday นักวิเคราะห์จาก Euromonitor แสดงความเห็นว่า “การซื้อกิจการของ Versace ทำให้กลุ่มธุรกิจของ  Michael Kors ต่อสู้กับ Kering ได้สมน้ำสมเนื้อมากขึ้น”

Jonathan Akeroyd ซีอีโอ Versace, Donatella Versace และ John D. Idol ประธานและซีอีโอของ Michael Kors

“คอลเลกชั่นล่าสุดของ Donatella Versace ในปี 2017 ซึ่งระลึกถึงการจากไปของ Gianni พี่ชายของเธอสร้างกำไรให้ Versace  กระเตื้องขึ้นมาอีกครั้ง แต่ถ้าหากปราศจากพลังทางการเงินของกลุ่มธุรกิจ มันก็ยากที่ Versace จะแข่งขันกับคู่แข่งจากอิตาลีด้วยกันอย่าง Gucci”

และทั้งหมดนี้ คือ เบื้องหลังดีล Michael Kors ซื้อกิจการของ Versace ที่ฉายภาพใหญ่ของธุรกิจแฟชั่นไฮเอนด์ ที่วันนี้ถ้าไม่รวมกันเพื่อใช้พลังของเม็ดเงินมาเกื้อหนุนกันเอง การเปิดสนามรบระดับทั่วโลกเป็นไปได้ยาก ดังนั้น “รวมกันเราอยู่” จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่นั่นก็ทำให้โลกแห่งรันเวย์อยู่ในเงื้อมือของคนหยิบมือเดียวเท่านั้น

Miranda Priestly บรรณาธิการบริหารของ Runway เคยอธิบายให้ Andrea Sachs เลขาฯ ของเธอ ฟังยาวเหยียด (ยาวซะจนนับถือ Meryl Streep เลยทีเดียว จำบทได้ยังไง) โดยเปรียบเทียบถึงความยิ่งใหญ่ของวงการแฟชั่นกับเสื้อสเวตเตอร์สีฟ้าเก๋ากึ๊กของแอนดี้ เอาไว้ว่า

“This…Stuff”? Oh. Okay. I see. You think this has nothing to do with you. You go to your closet and you select , I don’t know that lumpy blue sweater, for instance because you are trying to tell the world that you take yourself too seriously to care about what you put on your back. But what you don’t know is that that sweater is not just blue, its not turquoise. It’s not lapis. Its actually cerulean. And you’re also blithely unaware of the fact that in 2002, Oscar de la Renta did a collection of cerulean gowns. And then i think it was Yves Saint Laurent – wasn’t it who showed cerulean military jackets?And then cerulean quickly showed up in the collections of eight different designers. And then it, uh, filtered down through the department stores and then trickled on down into some tragic Casual Corner where you, no doubt, fished it out of some clearance bin. However, that blue represents millions of dollars and countless jobs and its sort of comical how you think that you’ve made a choice that exempts you from the fashion industry when, in fact you’re wearing a sweater that was selected for you by the people in this room from a pile of stuff.

เห็นไหมละ…แบรนด์แฟชั่นยิ่งใหญ่กว่าที่คิดจริงๆ ด้วย That’s all…!

 


แชร์ :

You may also like