HomeInsightวิจัยเผย “เล่นเกมส์” ช่วยพัฒนาทักษะทำงานและสร้าง “ผลงาน” ได้มากขึ้น 

วิจัยเผย “เล่นเกมส์” ช่วยพัฒนาทักษะทำงานและสร้าง “ผลงาน” ได้มากขึ้น 

แชร์ :

จากกระแส “อี-สปอร์ต” ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งกระแสตอบรับทั้งด้านบวกและด้านลบมากมายนั้น ล่าสุดนักวิจัยจากฟินแลนด์และสหราชอาณาจักรเผยว่า ทักษะการพิมพ์เร็ว เป็นทักษะที่พัฒนามาจากเหล่าเกมเมอร์ ซึ่งทุกคนสามารถฝึกฝนได้ และทักษะการพิมพ์เร็วอาจช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างสรรค์ผลงาน (productivity)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยอาลโต (Aalto University) และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cambridge University) ทำการศึกษานิสัยการพิมพ์ของกลุ่มตัวอย่าง 168,000 คนและพบว่า ผู้ที่พิมพ์เร็วมีการใช้ทักษะการพิมพ์แบบเกมเมอร์ หรือการพิมพ์แบบโรลโอเวอร์ (rollover typing) คือการกดปุ่มต่อไป ล่วงหน้าก่อนที่จะปล่อยปุ่มก่อนหน้า ซึ่งเป็นวิธีที่เกมเมอร์ใช้เพื่อเพิ่มแอ็คชั่นต่อวินาที อย่างเช่นในหลายๆเกม เกมเมอร์จะใช้มือซ้ายในการควบคุมตัวละครด้วยแป้นคีย์บอร์ด ในขณะที่มือขวาจะใช้เม้าส์เพื่อควบคุม เช่น กดปุ่ม W เพื่อเดินหน้า กด Shift + W เพื่อวิ่ง หรือกด Shift + W + Ctrl เพื่อยิงปืนขณะวิ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เหล่าเกมเมอร์เหล่านั้นกดปุ่มทั้งหมดในเวลาเดียวกัน แต่ปล่อยแต่ละปุ่มในลำดับที่แตกต่างกัน

แอนนา เฟท (Anna Feit) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอาลโต เผยว่า “การที่กดปุ่มแบบทับซ้อนกัน (overlap) ทำให้สามารถแสดงผลงานได้ดีขึ้นเพราะสามารถทำแอคชั่นต่อวินาทีมากขึ้น อันเกิดจากการกดหลายปุ่มได้ต่อเนื่อง แบบไม่ต้องรอปล่อยปุ่มก่อนหน้าก่อนกดปุ่มถัดไป”

ด้าน อานติ อูลาสเวอตา (Antti Oulasvirta) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยอัลโต เพิ่มเติมว่า ทักษะการพิมพ์แบบโรลโอเวอร์ เป็นทักษะที่ทุกคนมีติดตัวอยู่แล้วโดยไม่ต้องเรียนรู้ เห็นได้จากการพิมพ์อะไรซ้ำๆ บ่อยๆ เช่น ยูเซอร์เนม หรือพาสเวิร์ด ซึ่งทุกคนที่ได้ใช้ทักษะการพิมพ์บ่อยๆ จะสามารถพัฒนาเทคนิคของตัวเองได้ เหมือนกันกับที่เหล่าเกมเมอร์พัฒนาทักษะโรลโอเวอร์

แม้ว่าจากงานศึกษาวิจัย จะระบุว่า ควรใช้นิ้วเดิมเพื่อพิมพ์ตัวอักษรเดิมแต่ ชอน โรนา (Sean Wrona) ผู้ชนะการแข่งขันพิมพ์เร็วไม่เห็นด้วย  เขาแย้งว่า “การพิมพ์นั้นต้องขึ้นอยู่กับบริบทที่ต่างกัน โดยจะพิมพ์แต่ละปุ่มด้วยนิ้วที่ใกล้ที่สุด” ซึ่งตัววโรนาเองสามารถพิมพ์ได้ 108 คำต่อนาทีตั้งแต่อายุ 10 ขวบ

 

การพิมพ์เร็วยังจำเป็นอยู่หรือไม่?

เบน วู้ด (Ben Wood) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากบริษัทวิเคราะห์การตลาด CSS Insights เผยว่า ถึงแม้นวัตกรรม Voice Dictation จะเข้ามาแทนที่การพิมพ์คีย์เวิร์ดเพื่อค้นหาในปี 2022 ด้วยเทคโนโลยีการจดจำเสียง (voice-recognition) แต่ทักษะการพิมพ์จะยังคงเป็นทักษะที่สำคัญ เนื่องจากการพิมพ์จะยังคงเป็นวิธีการป้อนข้อมูลหลักไปอีกยาวนาน

ปัจจุบันสหราชอาณาจักรกำลังประสบปัญหาระดับการสร้างสรรค์ต่ำ (low productivity levels) ซึ่งหากนักเรียนทุกคนในสหราชอาณาจักรมีทักษะการพิมพ์แบบสัมผัสที่ดี จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้

โรนา เห็นด้วยว่าการพิมพ์เป็นทักษะที่สำคัญ แต่เฉพาะสำหรับบางคนเท่านั้น เนื่องจากมีไม่กี่คนที่สามารถพิมพ์ให้เร็วเท่ากับสิ่งที่พวกเขาคิด ดังนั้นหากสามารถพัฒนาการพิมพ์จากมาตรฐานอยู่ที่ 30 – 40 คำต่อนาที ไปที่ 60 – 80 คำต่อนาที จะช่วยพัฒนาให้สามารถตามทันความคิดได้”

การพัฒนาการพิมพ์สามารถช่วยลดเวลาการทำงานได้ แต่เรื่องของการสร้างสรรค์ผลงานมันไปไกลกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม คริส โบมอนต์ (Chris Beaumont) โต้ว่า การพัฒนาทักษะการพิมพ์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบการสร้างสรรค์ได้ เพราะการพิมพ์เร็วไม่ได้สำคัญนักเมื่อเทียบกับทักษะอื่นๆ เมื่อเทียบแล้วการพิมพ์เป็นเพียงองค์ประกอบที่เล็กมากของการสร้างสรรค์ผลงาน โดยเขายกตัวอย่างว่า ถ้าคุณต้องตอบอีเมล์ 100 ฉบับด้วยการพิมพ์โดยใช้เพียง 2 นิ้ว และเผื่อเวลาอีกส่วนหนึ่งกับการฝึกพิมพ์เพื่อให้สามารถลดเวลาการทำงานลง แต่อย่าลืมว่าเราไม่ได้ใช้เวลาทุกวัน ทั้งวันในการตอบอีเมล์หรือเขียนรายงาน มันยังมีงานอื่นๆ ที่สำคัญกว่ามากมาย เช่น การประชุมงบประมาณ การเตรียมพรีเซนเทชั่น ฯลฯ

Source

เรื่อง : Vee W.


แชร์ :

You may also like