HomeDigitalรู้จัก “Six Network” ICO ล่าสุดของคนไทย เพื่อวงการครีเอทีฟ และคนผลิตคอนเทนท์

รู้จัก “Six Network” ICO ล่าสุดของคนไทย เพื่อวงการครีเอทีฟ และคนผลิตคอนเทนท์

แชร์ :

ประกาศออกมาอย่างเป็นทาการแล้ว สำหรับ Six Network การรมตัวกันของ 1. Ookbee U บริษัทไทยที่เป็น JV 50-50% ของบริษัท Ookbee ที่คนในวงการดิจิทัล และผู้สร้างสรรค์คอนทนท์รู้จักเป็นอย่างดี กับ Tencent ยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน 2. กลุ่ม YDM (Yello Digital Marketing) ผู้นำด้านความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสารออนไลน์จากเกาหลี ร่วมกับ COMPUTERLOGY เพื่อระดมทุนผ่านรูปแบบ ICO

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หลายคนที่ทราบข่าวคงตั้งคำถามว่า ทำไม คุณหมู-ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ, อุ๊คบี จึงเลือกที่จะมูฟก้าวสำคัญของเขาอีกหนึ่งสเต็ปด้วยการทำ ICO  นี่เป็นแค่เทรนด์ที่ใครๆ ก็ทำกัน และเขามีวัตถุประสงค์อะไรในครั้งนี้ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ

เส้นทางของ Survivor

สำหรับ หมู อุ๊คบี หลายท่านคงทราบว่าเขาเป็น 1 ในสตาร์ทอัพที่ระดัมทุนได้ตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่ผ่านมาก็เช่น ระดมทุนจากกลุ่ม INTOUCH 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยในปี 2012 ก่อนจะระดมทุนอีกครั้งในปี 2014 ได้มาอีก 7 ล้านเหรียญ ซึ่ง 5ล้านเหรียญแรกนำไปพัฒนาแพล็ตฟอร์มคอนเทนท์ให้หลากหลาย และสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และอีก 2 ล้านเหรียญลงทุนใน Ookbee Mall ซึ่งปัจจุบันปิดไปแล้ว นับว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่เคยผ่านช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลวมาแล้ว นั่นทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ จนถึงจุดที่เขาเรียกว่า “ผู้รอดชีวิต”

มาถึงวันนี้เขาประกาศระดมทุนอีกครั้งผ่าน ICO ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเป็นสเต็ปที่เหมาะสมกับช่วงเวลา ตามที่เขาเองก็ กล่าวว่า “3 ปีก่อนตอนที่ Ookbee เริ่มทำ Coin มาใช้ใน Ookbee UGC ต่างๆ เราเคยศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเอา Cryptocurrency มาเป็น token ของเราเพื่อแก้ปัญหาเบสิคๆ ก่อน เช่น Liquidity, transferability และ 3rd party transaction fee (ทั้งสามอย่างดีกว่า coin ระบบปิดของเราแน่นอน) แต่ตอนนั้น คือปี 2015 พวกเราดูแล้วเทคโนโลยียังไม่น่าเวิร์คกับเรา volume coin เราเองก็เล็กมากและที่สำคัญผู้ใช้งานและ Creators ของเรา แทบจะไม่มีความเข้าใจหรือความต้องการรับหรือถือ Cryptocurrency อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum เลย จนมาถึงปี 2017 ตลาด crypto ในไทยมีขนาดใหญ่มากขึ้นมาก มีผู้ถือเหรียญมากขึ้นและ volume การเทรดเอาแค่ใน Exchange ไทยเองก็มีขนาดใหญ่ขึ้นถึงระดับหลายร้อยล้านบาทต่อวัน พวกเราลองกลับมามองดูความเป็นไปได้ที่จะเอา Blockchain Token มาใช้อีกครั้ง แทน Ookbee Token ที่ตอนนี้โดนโอนมาอยู่ใน Ookbee U ทั้งหมดตั้งแต่ต้นปี 2017”

เมื่อความเข้าใจ ความต้องการ และเทคโนโลยี รวมทั้งเครือข่ายผู้เสพงาน และสร้างสรรค์งานในเครือ Ookbee เหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะสำหรับธุรกิจของ Ookbee ไม่ใช่แค่ต้องการเงินมาเป็นตัวขับเคลื่อนเท่านั้น สิ่งที่จำเป็นยิ่งกว่าคือ จำนวนของคอนเทนท์คุณภาพและฐานผู้อ่าน ที่จะนำมาซึ่งผู้ใช้งาน และนำไปสู่ผู้สมัครสมาชิก หรือผู้ชมโฆษณา ดังนั้นการระดมทุนในลักษณะ ICO ที่ช่วยให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง ขยายฐานผู้สร้างสรรค์งานและคนเสพงานจึงเป็นเรื่องจำเป็น ขณะเดียวกับ Ookbee  ก็ไม่หยุดดำเนินการระดมทุน Series C ต่อไป 

ประสบการณ์ที่ผ่านของคนเบื้องหลัง Six Network

ไม่ใช่แค่ผู้ผลิตคอนเทนท์ ในรูปแบบของนิยาย, การ์ตูน และเพลงเท่านั้น Six Network ยังขยายวงกว้างไปเป็นแพล็ตฟอร์มสำหรับ Creative Workers และ Digital Creators เฉพาะ Ookbee เอง ก็เป็นที่ปล่อยของให้กับนักสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยนักเขียน, นักวาด, นักดนตรี, ผู้กำกับ, ตัดต่อ, นักแปล ซึ่งรวมแล้วมีทั้งหมด 3 แสนแรย และอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นวันละหลักพัน

ขณะที่ กลุ่ม YDM (Yello Digital Marketing) และ  COMPUTERLOGY มีแผนจะออก ICO สนับสนุนกลุ่ม Social Influencer ต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจหลักของตัวเองอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีจุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน ทั้งสองจึงจับมือกัน โดยอาศัยประสบการณ์ของกลุ่ม YDM ที่เคยออก ICO ที่ชื่อ ICON มาแล้ว โปรเจ็กต์นี้จึงเกิดขึ้น หวังเป็นคอมมูนิตี้ของความคิดสร้างสรรค์ที่ผูกโยงกับเทคโนโลยี เหมือนที่แฮ็ชแท็กของ Six Network ระบุในช่วงนี้ว่า #ReInventDigtialEconomy

แก้ Pain Point ให้เหล่า Creative Workers และต่อยอด Creative Supply Chain


ปัญหาที่เกิดขึ้นของนักสร้างสรรค์งานก็คือดีลจ่ายเงินที่ค่อนข้างยาว ทำให้เกิดปัญหาการเงินติดขัด ทางทีมงาน Six Network เชื่อว่า ระบบเหรียญที่พวกเขาสร้างระบบเอาไว้จะช่วยให้เกิดความค่ลองตัว ปลอดภัย และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดผลงานดีๆ ขึ้น ตามที่ คุณหมู อธิบายเอาไว้ว่า

1. ผู้ใช้งานตอนเติมเงินเข้าระบบ มูลค่าที่ได้จะลดลงทันที สูงสุดถึง 30% โดยยังไม่ได้เริ่มใช้ เพราะมีตัวกลางเช่น Appstore Playstore หรือการขอตัดเงินรับรหัสทาง SMS หรือบัตรเติมเงินต่างๆ

2. ตอนจ่ายออกเราใช้วิธีให้ Creative workers ทำ KYC กับเราเองตอนนี้แบบง่ายๆคือใช้ app ของเราถ่ายรูปบัตรประชาชน ถ่ายรูปสมุดบัญชีธนาคาร และก็ถ่ายรูปหน้าตัวเอง สิ้นเดือนเราโอนเงินให้ผ่านระบบธนาคารโดยเสียค่าธรรมเนียมการโอนออกสูงถึง 15 บาท ต่อบัญชี และเรายังมีปัญหาว่าเรามีนักเขียนนักวาดหลายพันคนที่มีเงินค้างในระบบไม่ได้โอนออกเพราะไม่คุ้มค่าธรรมเนียม

3. ถ้า creative workers เหล่านี้ รับเงินส่วนแบ่งเป็น fiat ไปแล้วอยากกลับมาซื้องานของคนอื่น (นักดนตรีฟังเพลงเยอะ นักวาดการ์ตูนก็อ่านการ์ตูนเยอะ นักเขียนก็อ่านผลงานคนอื่น) มูลค่าเงินก็จะลดลงจากการไปผ่านข้อ 1. ใหม่ แน่นอนว่าเราสามารถจ่ายเป็น token เราเองส่วนหนึ่งได้แต่ จะดีกว่าถ้า token นั้นมี liquidity และนำไปใช้ที่อื่นได้ ไม่รวมถึงเผลอๆ ถือไว้อาจมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ (หรือไม่ก็ลดลงเรื่อยๆตามสภาพตลาดคริปโตโลก ฮา –”) เพราะมี utility จากการที่มี partner มาร่วมเยอะขึ้นเรื่อยๆ (เช่น แต้มบัตรเครดิต หรือ Creative platform อื่นๆ) ตอนรับเงินจะสามารถเลือกได้ว่ารับ fiat เหมือนเดิมหรือ SIX โดย SIX สามารถนำมาใช้ได้และนำไปใช้ทีอื่นและเทรดได้

4. ด้าน บริการทางด้านการเงิน Creative Workers เหล่านี้อาจมีปัญหาไม่สามารถทำบัตรเครดิตได้เพราะอาจไม่มี Pay Slip ไม่มีรายได้ประจำ ในกรณีนี้เราสามารถให้ short-term liquidity ได้ ในฐานะเจ้าของ platform จริงๆ แล้วเราเห็นถึงประวัติรายได้ที่ผ่านมา เช่น ทุกเดือนมีรายได้ 5,000 บาท เราสามารถให้ creative workers วาง collateral เป็น IP ของเค้าซึ่งก็อยู่บน platform เราอยู่แล้ว (เช่น lock ไม่ให้ลบออก) แล้วอาจให้เบิกเงินล่วงหน้า 2-3x ได้ รายได้ที่เกิดขึ้นก็ผ่าน platform เราก่อนอยู่แล้วเราเก็บเงินพร้อมดอกเบี้ยหักก่อนจ่ายออกไปได้ จนได้คืนครบค่อยคืน IP ให้กับ creative workers นั่นคือในมุมของ platform

*แต่สิ่งที่ SIX อยากทำอยากทำให้ดีกว่านั้น เรามีแผนทำ Digital Asset Wallet (bank ทำ fiat wallet startup หลายๆที่ทำ crypto wallet) เช่นเดียวกัน หากเราย้าย IP ที่มีลงใน Wallet และเชื่อมกับ Platform เราให้ creative workers สามารถนำ Digital Asset Wallet อันนี้ไปแสดงมูลค่าที่เกิดบน platform เราและ ของ partner อื่นๆ เช่นการ์ตูนเรื่องเดียวกันขึ้นหลายๆเว็บหรือแม้กระทั่งแปลไปขึ้นเว็บการ์ตูนเกาหลี จีน มี smart contract แบ่งค่า ลิขสิทธิ์ ค่าแปล ค่า platform ต่างๆเรียบร้อย จากทุกๆเว็บ ทีนี้ Creative Workers อาจจะนำ Wallet นี้ไปทำบัตรเครดิตได้ หรืออาจมี Source of fund อื่นๆมาเสนอผ่าน platform ให้นำไปเบิกจ่ายลวงหน้าให้ก่อนก็ได้

ตัวเลข unbank เหล่านี้อนู่นอกระบบและมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแง่ธนาคารอันนี้ก็เป็นการเอาคน unbank มาเข้าระบบได้อีกถ้ามี platform เชื่อมต่อเยอะๆ ตัวอย่างอื่นๆ เช่น รูปถ่ายไปขึ้น stockphoto หลายๆที่ เพลงไปขึ้นใน streaming หลายๆที่ แล้วlink กลับมา digital asset wallet เป็นต้น

5. Wallet to Wallet commerce ขาย IP ให้คนอ่าน คนฟังไปใช้ หรือแม้กระทั่งขายสิทธิ์การเป็นเจ้าของไปเลยยังมีเรื่อง scope อื่นๆที่เราอยากทำเช่นศิลปินเพลงแต่ละวงสามารถออกเหรียญย่อยของตัวเองเบสบน SIX แล้วไปใช้กับแฟนคลับของตัวเอง (จับมือ หรือ exclusive event เป็นต้น) เรามี Wallet เวอร์ชั่น end-user กับ OEM

อ่านเพิ่มเติมที่ https://six.network/documents/SIX-whitepaper.pdf

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนการของระดมทุนของ Six Network ว่าจะนำเงินที่ได้มา มาพัฒนาธุรกิจความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งต่อยอดไปไกลแค่ไหน เท่าที่จะเปิดเผยได้ในตอนนี้ ซึ่งเรียกว่าครบวงจรและแคะมาจากอินไซต์ของเหล่าผู้สร้างสรรค์งานฟรีแลนซ์อย่างแท้จริง

ติดตามรายละเอียดทั้งหมดของ Six Network ผู้ก่อตั้ง และทีมที่ปรึกษาได้ที่  https://six.network/


แชร์ :

You may also like