HomeDigitalYouTube ยันผลวิจัย ไม่แย่ง Eyeball คนดูจากทีวี แถมยังช่วยเพิ่ม “เรตติ้ง” ให้ช่องได้     

YouTube ยันผลวิจัย ไม่แย่ง Eyeball คนดูจากทีวี แถมยังช่วยเพิ่ม “เรตติ้ง” ให้ช่องได้     

แชร์ :

YouTube เผยข้อมูลวิจัยล่าสุด “YouTube Audience Insights Thailand 2017” โดย Google และ TNS เพื่ออธิบายพฤติกรรมการรับชมเนื้อหารายการโทรทัศน์บน YouTube ของคนไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน ทั้งชายและหญิง อายุ16-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม Broadcasting หรือช่องทีวีต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งใน YouTube Creator และถือเป็นอีกหนึ่งพาร์ทเนอร์ของยูทูป รวมทั้งศึกษาผลกระทบในการรับชมคอนเทนต์บนยูทูปจะส่งผลกระทบต่อการแพร่ภาพรายการของช่องทีวีอย่างไรบ้าง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณมุกพิม อนันตชัย หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจบันเทิง YouTube ประเทศไทย เผยผลวิจัยว่า คนไทย 9 ใน 10 เข้าชม YouTube ทุกวัน และ 7 ใน 9 เช้า YouTube วันละหลายๆ ครั้งโดย 62% เลือกดูคอนเทนต์จากยูทูปมากกว่าทีวี

ทั้งนี้ 86% ของผู้ใช้ยูทูปในประเทศไทยมีความรู้สึกว่ายูทูปคือความอิสระในการเลือกดูรายการทีวี เพราะสามารถที่จะเลือกดูรายการอะไร เมื่อไหร่ก็ได้ ทำให้ผู้ใช้งาน 83% เลือกยูทูปเป็นช่องทางแรกเพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ที่ต้องการนอกจากนี้ 84%  ต้องการให้มีรายการที่ชื่นชอบเข้ามาอยู่บนยูทูปมากขึ้น  เพราะยังมีบางรายการที่เสิร์ชไม่เจอ ส่วนอีก 85% ต้องการให้ทีวีคอนเทนต์ที่ออนแอร์ ทำการอัพโหลดบนยูทูปภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพวกเขาพลาดการรับชมก็จะสามารถไปเสิร์ชหาในยูทูปได้ทันที

ขณะที่ 78% ของผู้ชมที่หาคอนเทนต์ที่ตัวเองต้องการไม่เจอก็จะ Switch ไปดูรายการอื่นๆ แทนได้ทันทีเช่นกัน ทำให้เจ้าของคอนเทนต์สูญเสียโอกาสที่จะเข้าถึงคนดู และอาจเสียฐานผู้ชมไปให้กับรายการอื่นได้

ข้อมูลยังพบว่า 81% ของผู้ชมที่แม้จะชอบดูรายการโปรดผ่านยูทูป แต่ถ้าสามารถดูทีวีได้ในขณะที่ออนแอร์ ก็เลือกที่จะดูทีวี แสดงให้เห็นว่าคนที่ดูยูทูปไม่ได้ปฏิเสธการดูทีวี แต่ขึ้นอยู่กับความสะดวกที่จะสามารถเข้าถึงช่องทางไหนได้ในช่วงเวลาที่พร้อม และสะดวกที่จะเสพคอนเทนต์นั้นๆ โดยเฉพาะถ้าสามารถดูสดจากทีวีได้ก็เลือกที่จะทำ เพราะส่วนใหญ่ยังต้องการประสบการณ์ในรูปแบบเดิมๆ อยู่

“จากข้อมูลสะท้อนได้ชัดเจนว่าการที่คนเข้ามาดูยูทูปไม่ได้เป็นการไปแย่ง Eyeball มาจากทีวี แต่ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ดูในขณะนั้น ว่าจะสามารเข้าถึงคอนเท็นต์ในช่องทางไหนได้สะดวกมากกว่ากัน การที่ช่องทีวีสามารถนำเสนอคอนเทนต์ให้กับผู้ชมได้ในหลากหลายแพลตฟอร์ม จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้คอนเทนต์เข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้นและไม่สูญเสีย Eyeball ไปให้กับคอนเทนต์อื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ดีกว่า”

นอกจากนี้  ผลวิจัยในเชิงลึกยังระบุต่อว่า 88% ของคนที่มีโอกาสได้ดูคอนเทนต์ต่างๆ จากยูทูป ยังส่งผลให้คนเลือกที่จะกลับมาเปิดดูรายการเหล่านี้ ทางทีวีเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีโอกาส โดยเฉพาะในกลุ่มเรียลลิตี้โชว์และกีฬาที่ยูทูปมีส่วนช่วยทำให้อัตราการชมรายการเพิ่มขึ้นได้ถึง 10% โดยเฉพาะเรียลลิตี้โชว์ที่มักจะอัพโหลดคอนเทนต์ลงในระบบค่อนข้างเร็ว รวมไปถึงการออกอากาศควบพร้อมกันทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ซึ่งจะเข้ามาช่วยส่งเสริมกันให้ยอด View จากทั้งสองช่องทางเพิ่มมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบนยูทูปและยังช่วยเพิ่ม TV Rating ได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ส่วนกีฬาเป็นคอนเทนต์ที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม และคนมักจะเลือกดูสด เพื่อต้องการรู้ผลการแข่งขัน  ทำให้ยอดการไปดูย้อนหลังไม่มากนัก แต่จะใช้ยูทูปเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คนที่เห็นคอนเทนต์ และรอที่จะไปดูจากทีวีในช่วงที่มีการแข่งขันในแมตช์ต่อๆ ไป

ขณะที่รายการเด็กหรือวัยรุ่นแม้จะมียอด View สูง แต่ไม่ได้ส่งผลไปสู่เรตติ้งของทีวีมากนัก ทำให้ช่องรายการต้องคำนึงถึงหลายๆ ปัจจัย นอกจากการนำเสนอคอนเทนต์ที่น่าสนใจแล้ว ยังต้องคำนึงถึง Demographic ของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงความ Mass ของคอนเทนต์แต่ละประเภทอีกด้วย

“กลุ่มช่องทีวีเอง เริ่มมองเห็นและเข้าใจเทรนด์ที่เกิดขึ้น ทำให้เราเห็นหลายๆ โปรแกรม ที่มักจะแจ้งให้ผู้ชมทราบช่องทางในการเข้าไปชมคอนเทนต์ย้อนหลังในระหว่างที่มีการถ่ายทอดสดรายการ ขณะที่บนคอนเทนต์ของช่องที่มีอัพโหลดลงบนยูทูป ทางเจ้าของคอนเทนต์ก็จะใส่รายละเอียดรายการว่าออกอากาศวันไหน ช่องอะไร เพื่อให้คนคอยติดตาม เป็นการส่งเสริมกันและกัน เพื่อให้เกิดทราฟฟิกที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ช่องทางได้”

นอกจากนี้  ยูทูปยังมีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ในระบบหลังบ้าน เพื่อให้ทางกลุ่ม Broadcasting หรือช่องทีวีสามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ ของคนที่เข้ามาชมคอนเทนต์ ได้อย่างละเอียด  รวมทั้งการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ในการแนะนำให้คนที่เข้ามาในช่องดูคอนเทนต์อื่นๆ เพื่อเพิ่มเวลาที่อยู่ภายในช่องได้มากขึ้น รวมทั้งการเปิดโอกาสให้เจ้าของช่องสามารถติดต่อสื่อสารต่างๆ กับคนที่เข้ามาชมรายการในช่อง เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ และสร้าง Engagement กับกลุ่มคนดูได้มากขึ้นด้วย

ปัจจุบันยูทูป นับเป็นวีดีโอแพลตฟอร์มที่มีคนมากกว่า 1 พันล้านคนจากทั่วโลกเข้ามาใช้งาน และมีคนเข้ามาดูวีดีโอมากกว่า 1 พันล้านชั่วโมงใน 1 วัน จากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก มีจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยในการดูไม่ต่ำกว่าคนละ 1 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ตัวเลขการใช้เวลาบน YouTube ของคนไทยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.8 ชั่วโมงต่อวัน  คิดเป็นประมาณ 50% ของเวลาที่คนไทยอยู่บนอินเตอร์เน็ต และยังเป็นประเทศที่มีชั่วโมงการดูติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ Key Success ที่ทำให้ยูทูปได้รับความนิยม จนสามารถมีจำนวนชั่วโมงการใช้งานจากทั่วโลกได้สูงถึง 1  พันล้านชั่วโมงมาจาก 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย  1. การพัฒนาหลังบ้านให้สามารถตอบโจทย์แบบ Personalization ที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน รวมทั้งความสามารถในการคำนวนคอนเทนต์ที่แต่ละคนสนใจ และพยายามนำเสนอสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมให้ได้แบบรายบุคคล

2. การปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ตลอดเวลา โดยตลอด 1 ปีที่ผ่านมา มีการเทสต์ฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้ตลอดเวลา จากการที่ผู้ใช้มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อให้ตอบโจทย์ User Experience ได้มากที่สุด

3. ตอบโจทย์การใช้งานแบบ Multi Screen ทำให้ชั่วโมงการดูเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถรองรับได้จากทุกดีไวซ์

4. การเสิร์ฟคอนเท็นต์ที่ตอบโจทย์คนในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป เปรียบได้กับการทำ Personalize ในระดับประเทศนั่นเอง


แชร์ :

You may also like