HomePR Newsโครงการ เช็กก่อนแชร์.com ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง [PR]

โครงการ เช็กก่อนแชร์.com ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง [PR]

แชร์ :

การเกิดขึ้นของโครงการเช็กก่อนแชร์.com สร้างปรากฏการณ์ให้หลายคนหันมาตั้งคำถามในการรับรู้ข่าวต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนนำมาลงในเว็บไซต์ โดยกระบวนการตรวจสอบข้อมูล 2 รูปแบบ คือ แหล่งข่าวข้อมูลที่เชื่อถือได้ (Reliable source) และจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Inspector) ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้ความสนใจเข้าร่วมในโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็น ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์, อ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์, นพ. พิรัตน์ โลกาพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม, พญ. เสาวภา พรจินดารัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก, ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย, พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กทารกแรกเกิด และอาจารย์ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ละท่านต่างก็ลงความเห็นว่าโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ดี ที่จะช่วยให้สังคมในโลกออนไลน์ เป็นสังคมที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยออกมาให้คำตอบเฉพาะเรื่องที่สงสัยแล้ว ยังช่วยยับยั้งการแชร์ข่าวเท็จ ซึ่งถือเป็นความผิดทางกฎหมายด้วย

ในประเด็นนี้ ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย บอกเราว่า “การปล่อยข่าวเท็จที่กระทบสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นมีโทษจำคุก 2-3 ปี แต่การแชร์ต่อก็มีความผิดเท่ากับคนที่นำเสนอข้อมูลในครั้งแรกโทษเท่ากับหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ซึ่งคนทั่วไปมักไม่รู้ว่าการแชร์ก็ผิดเหมือนกัน นอกจากนี้การกดไลค์ก็เป็นการเผยแพร่อย่างหนึ่ง ปัจจุบันศาลยังไม่มีคดีแบบนี้ครับ แต่ส่วนตัวผมมองว่าการกดไลค์ก็เป็นการส่งต่อข้อมูลทางหนึ่ง และก็มีความผิดเช่นเดียวกัน”

ทางด้าน ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ผู้ที่มักจะออกมาช่วยไขข้อเท็จจริงเป็นคนแรก ๆ กล่าวถึงข้อดีที่จะเป็นโอกาสการสร้างตรรกะที่ดีให้สังคมไทยมากขึ้น  “ผมว่ามันจะช่วยให้คนไทยมีตรรกะทางความคิดมากขึ้น ช่วยกระตุ้นความชั่งใจ ไม่ใช่แค่รับการสื่อสารเข้ามาอย่างเดียว แต่ต้องคิดก่อนว่าจริงหรือเปล่า กระบวนการนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะข่าวที่เป็นอันตราย เช่น สูตรรักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งผมยังไม่เห็นสูตรไหนรักษาได้จริงเลย มีแต่อันตรายต่อร่างกายเพิ่มมากขึ้น บางพวกก็สร้างข่าวหลอกขายของ ซึ่งบางเรื่องก็ไม่น่าเชื่อ เช่น มีสติ๊กเกอร์เล็ก ๆ แปะที่ฝาถังน้ำมันรถยนต์ ​แล้วช่วยประหยัดพลังงานได้ ทุกวันนี้ก็ยังมีขายกันอยู่ แสดงว่าตรรกะของคนไทยก็ยังไม่ดีเท่าไหร่ ภาครัฐก็ยังไม่ได้ลงมาช่วยในเรื่องนี้มากนัก ถ้าเราทำได้เอง หรือยิ่งได้กลุ่มที่เป็นพวกอินฟลูเอ็นเซอร์ของสังคมที่ทำโครงการต่าง ๆ ขึ้นมา น่าช่วยสังคมไทยให้มีตรรกะที่ดีมากขึ้นได้”

แต่อาจารย์เจษฎามองว่าปัจจุบันพฤติกรรมการเสพข่าวเริ่มเปลี่ยนไป “หลัง ๆ ผมแทบไม่ต้องโพสต์อะไรมากเลย เราไม่ต้องเหนื่อยเท่าเมื่อก่อนแล้ว จะมีคนเข้ามาบอกทันทีว่าจริงหรือเปล่า แสดงว่าคนเรามีภูมิคุ้มกันมากยิ่งขึ้น เหมือนได้วิตามินเข้าไปในร่างกาย ทุกครั้งเมื่อเขาได้ข้อมูลใหม่ เขาจะมีตรรกะที่ดี ที่เริ่มคิดได้ว่ามันอาจไม่ใช่เรื่องจริง และถ้าเขาไม่รู้ เขาอาจจะถามผม หรือถามใครก็แล้วแต่ หรือแม้แต่หาคำตอบเอง วันใดที่คนไทยสามารถหาคำตอบเองได้ ซึ่งไม่ได้ยากอะไรเลย ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ยิ่งเมื่อเรามีฐานข้อมูลที่ดี อย่าง เช็กก่อนแชร์.com เราก็น่าจะหาคำตอบของทุกคำถามได้ด้วยเอง ซึ่งมันก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากทีเดียวครับ”

โครงการ “เช็กก่อนแชร์.com” ถือเป็นอีกโครงการที่เหล่าคนรุ่นใหม่จาก 3 เอเจนซี่ชื่อดัง อย่าง บริษัท แรบบิทส์ เทลล์ จำกัด, บริษัท มูนช็อท ดิจิตอล จำกัด และบริษัท ครีเอทีฟ จูซ แบงคอก จำกัด ร่วมมือกัน พร้อมด้วยองค์กรเอกชนที่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น สมาคมผู้ดูแลเว็บไซต์ (TWA) พร้อมด้วยเหล่าภาคีองค์กรชั้นนำไม่ว่าจะเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างสรรค์ให้เป็นเว็บไซต์ “เช็กก่อนแชร์.com” เป็นศูนย์ข้อมูลแห่งความจริง ให้คนไทยเข้าไปค้นหาข่าว สืบค้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะบอกเราว่าเรื่องไหนจริงเท็จ ควรแชร์ต่อหรือไม่ และเพื่อให้สังคมโซเชียลมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น


แชร์ :

You may also like